เปิดโลกกว้าง!! รวม แหล่งเรียนรู้ ให้ลูกฝึกฝนไม่หยุดพัฒนา - Amarin Baby & Kids
รวม แหล่งเรียนรู้

เปิดโลกกว้าง!! รวม แหล่งเรียนรู้ ให้ลูกฝึกฝนไม่หยุดพัฒนา

Alternative Textaccount_circle
event
รวม แหล่งเรียนรู้
รวม แหล่งเรียนรู้

แหล่งเรียนรู้ แบบไหนเหมาะกับลูกคุณ รวมแหล่งเรียนรู้ เปิดโลกกว้าง เพื่อลูกน้อยไม่หยุดพัฒนา เสริมทักษะความรู้รอบตัว ที่ได้ทั้งความรู้และสุดสนุก

เปิดโลกกว้าง!! รวม แหล่งเรียนรู้ ให้ลูกฝึกฝนไม่หยุดพัฒนา

การเรียนรู้ไม่มีที่สิ้นสุด เป็นคำกล่าวที่เราพ่อแม่ต่างยึดถือ แสวงหาความรู้ใหม่ ๆ และเปิดกว้างให้ลูกน้อยได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว แหล่งความรู้ของที่มีอยู่บนโลกที่มีมากมาย จนแทบเรียกได้ว่า เรียนทั้งชีวิตก็คงไม่หมด แต่แบบไหนล่ะที่เรียกว่า แหล่งเรียนรู้ ที่เหมาะสมกับวัย เหมาะสมกับพัฒนาการทางสมองของลูก เพราะการเรียนรู้ในแต่ละวัยก็ย่อมแตกต่างกันไป จุดไหน สถานที่ใด ควรพาลูกวัยใดไปเยือน ไปพัฒนาตนเอง เรามาทำความรู้จักกัน

ความหมายของ แหล่งเรียนรู้ !!

แหล่งเรียนรู้ตามความหมายของ กรมสามัญศึกษา (2544)

แหล่งเรียนรู้ หมายถึง แหล่งข่าวสาร ข้อมูล สารสนเทศ แหล่งความรู้ทางวิทยาการ และประสบการณ์ที่สนับสนุนส่งเสริมให้ผู้เรียน ใฝ่เรียน ใฝ่รู้ แสวงหาความรู้ และเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัยอย่างกว้างขวาง และต่อเนื่องจากแหล่งต่างๆ เพื่อเสริมสร้างให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้และเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้

แหล่งเรียนรู้ ให้ลูกเปิดประสบการณ์ใหม่ ๆ
แหล่งเรียนรู้ ให้ลูกเปิดประสบการณ์ใหม่ ๆ

แหล่งเรียนรู้ตามาตรา 25 ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ

แหล่งเรียนรู้ หมายถึง “แหล่ง” หรือ “ที่รวม” ซึ่งอาจเป็นสภาพ สถานที่ หรือศูนย์รวม ที่ประกอบด้วยข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ และกิจกรรมที่มีกระบวนการเรียนรู้ หรือกระบวนการเรียนการสอน โดยมีรูปแบบแตกต่างจากกระบวนการเรียนการสอนที่มีครูเป็นผู้สอน หรืือศูนย์กลางการเรียนรู้ เป็นการเรียนรู้ที่มีกำหนดเวลาเรียนยืดหยุ่น สอดคล้องกับความต้องการ และความพร้อมของผู้เรียน การประเมินและการวัดผลการเรียนมีลักษณะเฉพาะที่สร้างขึ้นให้เมาะสมกับการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งไม่จำเป็นต้้องเป็นรูปแบบเดียวกันกับการประเมินผลในชั้นเรียน

แหล่งเรียนรู้ตามความหมายนี้ ได้แก่ ห้องสมุด ประชาชน พิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ สวนสัตว์ สวนสาธารณะ สวนพฤกษศาสตร์ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศูนย์การกีฬาและนันทนาการ แหล่งข้อมูลและแหล่งการเรียนรู้อื่น เป็นต้น

โดยความหมายของ แหล่งเรียนรู้ที่กล่าวมาอาจกล่าวสรุปได้สั้น ๆ ว่า หมายถึง

“ที่ที่ข้อมูลนั้นมีอยู่ … และสามารถเข้าไปศึกษา เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ได้”

ประเภทของแหล่งเรียนรู้

1.แหล่งเรียนรู้ที่เป็นสถานที่จริง

ตัวอย่างเช่น

  • สถานศึกษาเฉพาะด้าน
  • แหล่งข้อมูล
  • สถานประกอบการ
  • แหล่งผลิต
  • แหล่งจำหน่าย
  • พิพิธภัณฑ์
  • หอศิลป์
  • ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม
  • วัด
  • อุทยานประวัติศาสตร์
  • แหล่งโบราณคตี
  • ศูนย์อุตสาหกรรม
  • สถาบันพัฒนาฝีมือและแรงงาน
  • โบราณวัตถุ

2.แหล่งเรียนรู้ที่เป็นแหล่งศึกษาอ้างอิง

ตัวอย่างเช่น

  • หอสมุด ห้องสมุด
  • หอจดหมายเหตุ
  • วัด
  • หนังสือ ตำรา จดหมายเหตุ พงศาวดาร บันทึกเรื่องราวต่างๆ
  • ภาพวาด ภาพพิมพ์
  • ข้อมูลที่ถูกบันทึกไว้ในสื่อเทคโนโลยี อินเตอร์เนต

    ภูมิปัญญาท้องถิ่น
    ภูมิปัญญาท้องถิ่น

3.แหล่งเรียนรู้ที่เป็นบุคคล

ตัวอย่างเช่น

  • ผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญ
  • นักวิชาการ
  • ช่างฝีมือ
  • ศิลปินพื้นบ้าน
  • นักปกครอง
  • คนในท้องถิ่น

4.แหล่งเรียนรู้ที่เป็นวัฒนธรรมประเพณี

ตัวอย่างเช่น

  • เหตุการณ์จริง
  • ประเพณี พิธีกรรม
  • ขบวนแห่
  • งานเทศกาล
  • ปรากฎการณ์ต่าง ๆ ที่ทั้งมนุษย์สร้าง หรือเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ

5.แหล่งเรียนรู้ประเภทสื่อ วัสดุอุปกรณ์ และเทคโนโลยี

ตัวอย่างเช่น

  • อินเตอร์เนต
  • เว็บไซต์

เคล็ดลับการเลือก แหล่งเรียนรู้ให้ลูก!!

  1. สอดคล้องกับเนื้อหารายวิชาที่ลูกเรียน
  2. มีความน่าสนใจ ได้ความรู้ ทัศนคติ เจตคติ ที่เหมาะสมกับวุฒิภาวะ และวัยของลูก
  3. มีเวลาเพียงพอสำหรับการไปศึกษาแหล่งเรียนรู้ ให้เวลาที่เหมาะสม ว่าแหล่งเรียนรู้แบบนี้ต้องใช้เวลามากเท่าใด ถึงจะได้ความรู้กลับบ้าน
  4. เดินทางสะดวก ปลอดภัย คุ้มค่า
  5. ลูกให้ความสนใจ หรืออาจใช้วิธีการเล่าให้ลูกฟังคร่าว ๆ เกี่ยวกับสถานที่แห่งนั้น เปิดรูปภาพ รีวิวให้ลูกดู เพื่อเป็นการดึงดูดความสนใจเด็ก

    แหล่งเรียนรู้ทางอินเตอร์เนต
    แหล่งเรียนรู้ทางอินเตอร์เนต

แหล่งเรียนรู้ทางอินเตอร์เนต

ปัจจุบันแหล่งเรียนรู้นอกจากสถานที่จริงแล้ว หรือในหนังสือต่างๆ เรายังมีแหล่งข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ ให้เราได้เข้าไปศึกษาค้นคว้ากันอย่างง่ายดาย สะดวก รวดเร็ว ซึ่งก็นับเป็นแหล่งเรียนรู้ชั้นเยี่ยมอีกแหล่งหนึ่ง นั่นคือ แหล่งเรียนรู้ทางอินเตอร์เนต เรามาดูหลักในการคัดเลือกแหล่งเรียนรู้ทางนี้กันว่าควรเลือกอย่างไรให้ได้ข้อมูลเรียนรู้ที่ดี และถูกต้อง

  1. เป็นแหล่งข้อมูลมีความน่าเชื่อ เป็นแหล่งข้อมูลปฐมภูมิ
  2. เข้าถึงได้ง่าย สะดวก
  3. ข้อมูลมีปริมาณมากพอ มีความชัดเจน ถูกต้อง ทันสมัย
  4. มีการระบุแหล่งที่มาของข้อมูลอย่างชัดเจน
  5. เลือกข้อมูลที่เป็นปัจจุบันมากที่สุด
  6. ระมัดระวังการเข้าถึงข้อมูล และการนำไปใช้

แหล่งข้อมูลทางอินเตอร์เนตนี้ แม้ว่าจะเป็นแหล่งข้อมูลที่ง่าย สะดวก รวดเร็วในการเรียนรู้ แต่คุณพ่อคุณแม่ต้องคอยสอน วิธีในการเลือกเชื่อ หรือแชร์ข้อมูลต่อไป และสอดส่อง หรือคัดเลือกข้อมูลที่ลูกเข้าถึง เพราะยังเป็นแหล่งเรียนรู้ที่เปิดกว้าง และไม่มีการตรวจสอบได้อย่างเข้มงวดนัก เปรียบเสมือนข้อมูลดิบที่เรามีหน้าที่ต้องคอยสอนวิธีการคัดกรองข้อมูลให้กับเด็กว่าข้อมูลไหนเป็นข้อมูลจริง ควรค่าแก่การเรียนรู้ ข้อมูลไหนเป็นข้อมูลเท็จ หรือไม่จริงทั้งหมด ต้องมาพิจารณาอีกรอบหนึ่ง

อ่านต่อ>> รวมแหล่งเรียนรู้ น่าเที่ยว น่าศึกษา ต้องห้ามพลาด คลิกหน้า 2

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up