ชวนมาเก็บ MQ ให้ลูกใน สนามเด็กเล่น กันเถอะ!! - Amarin Baby & Kids
สนามเด็ก

ชวนมาเก็บ MQ ให้ลูกใน สนามเด็กเล่น กันเถอะ!!

Alternative Textaccount_circle
event
สนามเด็ก
สนามเด็ก

ความฉลาดทางจริยธรรม(MQ)หนึ่งในหลาย Q ที่พ่อแม่ควรพัฒนาให้ลูก แล้วจะเริ่มต้นที่ตรงไหนในยุคที่ชีวิตประจำวันเด็กห่างไกลวัด บางที สนามเด็กเล่น อาจช่วยคุณได้

ชวนมาเก็บ MQ ให้ลูกใน สนามเด็กเล่น กันเถอะ!!

การพัฒนาความฉลาดของลูกให้รอบด้านนั้น ในปัจจุบันเริ่มมีความฉลาดด้านต่าง ๆ ให้พ่อแม่อย่างเรา ๆ ต้องหามาพัฒนาให้แก่ลูกน้อยเพิ่มขึ้นอีกหลากหลายด้าน แต่ขึ้นชื่อว่า “ลูก” แล้วนั้น จะมีสักกี่ด้าน กี่ Q เราก็พร้อมยอมศึกษาเพื่อนำมาซึ่งการพัฒนาความฉลาดในแต่ละด้านให้ลูกน้อยอย่างแน่นอน ทาง ทีมแม่ ABK ได้รวบรวมนำความฉลาดแต่ละด้าน หรือ Quotient มาฝากให้ได้ทำความรุ้จักกันในเบื้องต้นเสียก่อนว่ามีอะไรกันบ้าง

10 Q ที่พ่อแม่ควรพัฒนาให้แก่ลูกน้อย เพิ่มความฉลาดในด้านต่าง ๆ 

10 ความฉลาดในด้านต่าง ๆ
10 ความฉลาดในด้านต่าง ๆ
  1. ความฉลาดทางสติปัญญา IQ
  2. ความฉลาดทางอารมณ์ EQ
  3. ความฉลาดทางจริยธรรม MQ
  4. ความฉลาดทางสังคม SQ
  5. ความฉลาดด้านความคิดสร้างสรรค์ CQ
  6. ความฉลาดจากการเล่น PQ
  7. ความฉลาดด้านการจัดการปัญหา AQ
  8. ความฉลาดในการดูแลสุขภาพตนเอง HQ
  9. ความฉลาดทางการคิด TQ
  10. ความฉลาดทางการมองโลก OQ

MQ ความฉลาดทางจริยธรรม ที่ควรสร้างก่อนสายไป

จริยธรรม คำ ๆ นี้ฟังดูเหมือนเป็นคำที่ยากต่อความเข้าใจของเด็กเล็ก แต่คุณพ่อคุณแม่รู้หรือไม่ว่า การปลูกฝังให้ลูกมี ความฉลาดทางจริยธรรมนั้น ต้องเริ่มปลูกฝังกันตั้งแต่วัยเด็กถึงจะเห็นผลที่ดี

คำนิยามจำกัดความของ MQ

MQ (Moral Quotient) คือระดับจริยธรรมศีลธรรมบุคคล ซึ่งสามารถการควบคุมตนเอง มีความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์ มีความกตัญญู เป็นคนดี มีระเบียบวินัย มีสำนึกผิดชอบชั่วดี และเคารพนับถือผู้อื่น มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ต่อสังคมและมนุษยชาติ 

MQ ต่างจาก EQ อย่างไร

บางคนเข้าใจว่า EQ กับ MQ นั้นคือ สิ่งเดียวกันแต่จิตแพทย์ จาก ม.ฮาร์วาด ดร.โรเบิร์ต โคลส์  ได้แยกเอาระดับความคิดด้านจริยธรมมและศีลธรรม(MQ) นี้ออกมาจากความฉลาดทางอารมณ์(EQ) เพื่อเน้นให้เห็นความสำคัญเฉพาะขึ้นไปอีก ดร.โรเบิร์ต โคลส์ กล่าวว่า MQ นั้นไม่สามารถฝึกฝนหรือขัดเกลาได้ในช่วงเวลาสั้น ๆ ขณะที่บุคคลเจริญเติบโตขึ้นมาแล้ว จึงอาจกล่าวได้ว่า MQ เป็นคำที่มีความหมายลึกกว่า หรือเป็นรากฐานของความฉลาดทางด้านอารมณ์ EQ เพราะบุคคลนั้นจะมีความฉลาดด้านอารมณ์ต้องเข้าใจ และยอมรับในกติกา กฎระเบียบร่วมกันของสังคมได้ก่อนว่า สิ่งไหนที่ควรทำ หรือไม่ควรทำในสังคมที่เขาอยู่ เมื่อเข้าใจ และยอมรับในสิ่งที่ตกลงร่วมกันได้แล้ว ก็ย่อมยอมรับ และกระทำพฤติกรรมในแบบที่สังคมต้องการได้ง่ายขึ้น

play&learn สนามเด็กเล่น
play&learn สนามเด็กเล่น

ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่ายด้วยสนามเด็กเล่น

ก่อนจะเริ่มสอนลูกเกี่ยวกับความฉลาดทางจริยธรรมนั้น คุณพ่อคุณแม่มาทำความเข้าใจถึงธรรมชาติ การรับรู้ในเรื่องจริยธรรมของเด็ก ๆ ในแต่ละช่วงวัยกันก่อนว่า ขอบเขตที่เราควรจะสอนลูกนั้นมีแค่ไหน เขารับรู้เรื่องยาก ๆ เหล่านี้ได้มากน้อยเพียงใด และการที่เราเข้าใจในธรรมชาติของเด็กแต่ละช่วงวัยก่อน ทำให้เราเข้าใจและไม่ตำหนิเขาในสิ่งที่ลูกก็ไม่ได้ตั้งใจ หรือเจตนากระทำ แต่ลูกทำไปเนื่องจากข้อจำกัดทางการรับรู้จริยธรรมของเขาต่างหาก และถ้าหากเราไปตำหนิเขาเสียก่อนแล้วก็จะเสียความตั้งใจดีของคุณพ่อคุณแม่ที่ต้องการสอนให้ลูกเป็นคนดีไปเสีย

ทฤษฎีพัฒนาการทางด้านจริยธรรมของ Piaget
Jean Piaget (1965) นักจิตวิทยา และปรัชญาพัฒนาการเด็กชาวสวิส กล่าวว่าขั้นตอนของการพัฒนาทางด้านจริยธรรมมีความคล้ายคลึงกับขั้นตอนการพัฒนาทางด้านสติปัญญา โดยเชื่อว่าพัฒนาการทางจริยธรรมของเด็กมีความสัมพันธ์กับผู้อื่นและสิ่งแวดล้อม การที่เด็กได้คบเพื่อนหรือเล่นกับเพื่อน (peer interaction) ก็มีความสำคัญมากต่อการพัฒนาจริยธรรม โดยแบ่งพัฒนาการทางจริยธรรมของเด็ก ออกเป็น 4 ขั้น ดังนี้

  • เด็กเล็กอายุก่อน 4 ขวบ เรียกว่า ขั้นก่อนจริยธรรม (pre-moral stage)

ธรรมชาติของการรับรู้จริยธรรมในวัยนี้  เด็กยังไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฏระเบียบของสังคม และไม่รู้ว่าระเบียบหรือกฎต่างๆ มีไว้เพื่ออะไร หรือรู้ก็น้อยมาก เด็กวัยนี้จะเล่นโดยไม่คำนึงถึงกฎกติกาใด ๆ

  • เด็ก 5-7 ขวบ เรียกว่า ขั้นรู้ความหมายของจริยธรรม (moral realism)

ธรรมชาติของการรับรู้จริยธรรมในวัยนี้  เด็กจะตัดสินใจว่าอไรผิดหรือถูก จะถือเอาขนาดของความเสียหายที่เด็กได้ทำไป คือ ทำของเสียหายมากก็ผิดมาก ทำของเสียหายน้อยก็ผิดน้อย ส่วนในเรื่องของเจตนาจะทำผิดหรือไม่ได้เจตนานั้นเด็กไม่คำนึงถึงในวัยนี้

  • เด็ก 7-9 ขวบ ขั้นระยะช่วงรอยต่อ (transitional stage)

ธรรมชาติของการรับรู้จริยธรรมในวัยนี้  เด็กในวัยนี้จะมีการเล่นกับเพื่อน คบเพื่อนและผูกความสัมพันธ์กับเพื่อนมากขึ้นใกล้ชิดกับเพื่อนมากขึ้น เด็กเริ่มมีการให้ และรับระหว่างกันและกัน เด็กในวัยนี้จะรู้ว่าการกระทำผิดจะต้องได้รับโทษ

  • เด็ก 10-11 ขวบ ขั้นพิจารณาจริยธรรมจากความเชื่อมโยง (stage of moral relativism)

ธรรมชาติของการรับรู้จริยธรรมในวัยนี้  เป็นระยะที่เด็กเริ่มพัฒนาจริยธรรมขึ้นสู่ระดับมีความคิดว่าอะไรผิดอะไรถูกโดยใช้เหตุผล โดยคำนึงถึงความยุติธรรมในความคิดอ่านของเขา เด็กมีเพื่อนมากขึ้นและสังคมกับเพื่อนมากขึ้น เด็กเริ่มมีกฏเกณฑ์ มีความคิดของตัวเอง หรือยึดหลักแห่งตน (autonomous moral thinking) เชื่อว่า กฎระเบียบต่างๆ อาจเปลี่ยนแปลงได้บ้าง ตามแต่สถานการณ์และการยอมรับ หรือการตกลงกันในกลุ่มกับเพื่อน

ออกมาเล่นกันเถอะ

เด็กในยุคนี้มีสิ่งหนึ่งที่ขาดหายไปจากเด็กในยุคก่อน ๆ คือ การออกไปเล่นนอกบ้าน เพราะความทันสมัย เทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ทำให้กิจกรรมการเล่นของเด็กสมัยนี้เปลี่ยนไป การนั่งอยู่หน้าจอแต่ในบ้านจึงเป็นสิ่งที่เด็กสมัยนี้เรียกว่าการเล่น แต่การเล่นนอกบ้าน การเล่นในสนามเด็กเล่นนั้น มีสิ่งมีประโยชน์แฝงอยู่ให้พวกเขาได้เรียนรู้หลากหลายด้าน รวมถึงการเรียนรู้ในด้านความฉลาดทางจริยธรรมด้วยเช่นกัน

ดร.โรเบิร์ต โคลส์ จิตแพทย์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดได้แยกเรื่องคุณธรรมออกมาจากเรื่องความฉลาดทางอารมณ์ เพื่อเน้นและให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ชัด ๆ เพราะเขาพบว่าถ้าเด็กขาดคุณธรรมแล้วจะทำให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่เห็นแก่ตัว และไม่มีความสุขในชีวิต

โคลส์บอกว่า การเลี้ยงลูกให้มีคุณธรรมไม่สามารถฝึกฝนหรือขัดเกลาได้ในช่วงเวลาสั้น ๆ แต่เป็นเรื่องที่ต้องฝึกมาแต่เด็ก อย่างต่อเนื่อง เพื่อสามารถพัฒนาพื้นฐาน MQ ของตัวเองขึ้นมาให้ฝังลึกลงไปในจิตใจของเขา และรอเวลาที่จะได้รับการกระตุ้นอีกครั้ง โดยการอบรมสั่งสอน การฟังธรรม และวิธีอื่นๆ แต่ถ้าคนนั้นไม่มี MQ อยู่ในจิตสำนึกดั้งเดิมแล้ว ไม่ว่าโตขึ้นจะได้รับการกระตุ้นอย่างไร ก็ไม่สามารถทำให้คนนั้นกลายเป็นคนดีขึ้นมาได้มากนัก

จากทฤษฎีดังกล่าวจึงสามารถเชื่อมโยงได้ว่า การที่คุณพ่อคุณแม่พาลูกออกไปเล่นที่สนามเด็กเล่น พร้อมทั้งสอนแนวคิดในด้านการเสริมสร้างคุณธรรม และจริยธรรมตั้งแต่ในวัยเด็ก เป็นการปลูกฝังที่ได้ผลดีกว่าการไปสอนเขาในตอนโตแล้ว และยังสามารถสอนลูกให้เข้าใจในเรื่องยาก ๆ จากเรื่องที่เขาชอบ สนุกจากการเล่นของเล่นในสนามเด็กเล่นได้อีกด้วยนั่นเอง

4 จิตสำนึกเด็กดี MQ ที่พ่อแม่สร้างได้จากสนามเด็กเล่น

สนามเด็กเล่น สร้าง MQ
สนามเด็กเล่น สร้าง MQ
  1. ชี้ชวนให้เห็นใจผู้ที่เดือดร้อน หรืออ่อนแอกว่า
  2. ส่งเสริมให้มีน้ำใจ ช่วยเหลือผู้อื่นเท่าที่ตัวเขาทำได้
  3. สอนให้ไม่เอาของคนอื่นมาเป็นของตัวเอง
  4. สร้างจิตสาธารณะให้ลูกน้อยรู้จักอดทนต่อแถวรอคิว

สไลเดอร์แห่งความเพียร และรอคอย

เครื่องเล่นชิ้นโปรด และเป็นที่นิยมในสนามเด็กเล่น คงหนีไม่พ้น สไลเดอร์ เครื่องเล่นที่สร้างความท้าทายจากที่สูง ได้รับความสนุกจากความเร็ว ย่อมเป็นที่ชื่นชอบของบรรดาเด็ก ๆ ทุกวัย จึงไม่ใช่เรื่องยากที่เราจะนำหลักจิตสำนึกของเด็กดี ในเรื่องการสร้างจิตสาธารณะให้ลูกน้อยรู้จักอดทนต่อแถวรอคิวมาสอนให้เด็กรับรู้ และมีความฉลาดทางอารมณ์ได้อย่างง่ายดาย เพราะเขาจะรู้ว่าเมื่อเขารู้จักอดทนต่อคิว เดินขึ้นบันไดสไลเดอร์แล้ว เขาจะได้รับสิ่งตอบแทนเป็นความสนุกสนานตามมา

ข้อพึงระวัง คุณพ่อคุณแม่ต้องพยายามบอกตัวเองว่า ห้ามตามใจลูกเวลาที่เขารอขอให้อุ้มขึ้นไปที่ยอดสไลเดอร์เลย หากลูกสามารถเดินได้แล้วถึงช้าหน่อย แต่เราต้องอดทนรอให้เขาทำสำเร็จได้ด้วยตนเอง และเมื่อลูกร้องไห้โยเยไม่ยอมต่อคิว พ่อแม่ต้องใจแข็งเด็ดขาดในการยึดถือหลักกติกาการเล่นร่วมกันกับผู้อื่น ต้องไม่ยอมตามใจเด็ดขาด

ตาข่ายปีนป่าย ยิ่งสูงยิ่งหนาว ยิ่งต้องช่วยเหลือกัน

การปีนป่ายเชือกตาข่าย นอกจากจะทำให้ร่างกายได้รับความแข็งแรงทางกล้ามเนื้อมัดใหญ่ มัดเล็กแล้ว ข้อดีอีกอย่างของเครื่องเล่นชิ้นนี้ คือ เมื่อเด็กปีนขึ้นไปยิ่งสูงเท่าไหร่ เขาจะได้รับความรู้สึกว่าเขาต้องดูแลตัวเอง เพราะในจุดนั้นมีเพียงตัวเด็กเองเท่านั้น พ่อแม่อยู่ที่พื้นจะช่วยเหลือก็ยากกว่าเดิม เมื่อเขารับรู้ถึงการต้องพึ่งพาตนเอง สิ่งหนึ่งที่เราควรเสริมให้เขาได้เรียนรู้หลักจิตสำนึกเด็กดี คือ การไม่ผลัก ไม่แย่งกันจนทำให้ผู้อื่นเป็นอันตราย นอกจากนั้นลูกก็จะได้เรียนรู้อีกว่า ต้องช่วยเหลือกัน แบ่งปันให้ใครได้ปีนผ่านไปก่อน รอคอยจนถึงคราวของตนเอง เพราะหากไม่ยอมทำเช่นนั้น อาจเป็นอันตรายได้ ลูกก็จะเรียนรู้กติกาของสังคม การช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้เอง

ข้อพึงระวัง เมื่อลูกเจอปัญหา สิ่งที่พ่อแม่ควรทำ คือ ให้ความมั่นใจแก่เขาว่าหากทำตามคำแนะนำของพ่อแม่แล้ว จะสามารถปีนผ่านลงมาได้อย่างปลอดภัย ไม่ควรปีนขึ้นไปอุ้มเขาลงมา เพราะนอกจากลูกจะไม่ได้รับการเรียนรู้ทางจริยธรรมแล้ว เขาจะรู้สึกไม่เห็นถึงความสามารถของตนเองอีกด้วย (ในกรณีที่พ่อแม่ประเมินแล้วว่าไม่อันตรายจนเกินไป)

กระบะทราย สนามเด็กเล่น
กระบะทราย สนามเด็กเล่น

ราชาเม็ดทราย เรียนรู้แบ่งปัน

กระบะทรายเป็นอีกหนึ่งของเล่นชิ้นโปรดของเด็ก ๆ แทบทุกคน ทรายเม็ดเล็ก ๆ  แต่สามารถฝึกจินตนาการแก่เด็กได้กว้างไกล พร้อมทั้งสอนให้เขาเรียนรู้การแบ่งปัน ของเล่นที่จะไว้ใช้ในการเล่นทรายแก่เด็กอื่น รู้จักการแบ่งพื้นที่ในการเล่นให้เพื่อนได้เข้ามาร่วมสร้างจินตนาการบนผืนทราย หากเด็กสามารถทำสิ่งเหล่านี้ได้ดีแล้ว เขายังได้เรียนรู้การแชร์จินตนาการกับเพื่อนโดยไม่หวงไว้เล่นคนเดียวอีกด้วย

ข้อพึงระวัง คำพูด และท่าทีของคุณพ่อคุณแม่ ควรเป็นตัวอย่างที่ดี ให้กับลูกเวลาเขาเจอเพื่อนแย่งของเล่น แม้ว่าเขาจะเป็นฝ่ายถูก มาก่อน แต่เราควรเป็นแบบอย่างทางความคิดให้ลูกในเรื่องการแบ่งปัน ไม่พูดเชิงว่าเพื่อนมาแย่ง มารังแกเขา การเรียนรู้ในเรื่องการแบ่งปันก็คงหมดไป

เครื่องเล่นทุกชิ้นในสนามเด็กเล่นเป็นของส่วนรวม การที่เราได้พาลูกออกไปพบ ไปเล่นกับเพื่อนก็เท่ากับเป็นการสอนให้ลูกรู้จักกฎ กติกาของการอยู่ร่วมกัน ของสังคม เขาจะซึมซับได้เองว่า การกระทำไหนที่เป็นที่ยอมรับของเพื่อน ๆ การกระทำไหนไม่ควรทำ สิ่งสำคัญของคุณพ่อคุณแม่ที่ควรยึดถือหากต้องการสอนลูกในด้านความฉลาดทางจริยธรรม(MQ) คือ การไม่เข้าไปแทรกตัดสิน แก้ปัญหาให้กับลูก หรือเข้ายุ่งในเรื่องของเด็ก ๆ ให้เขาได้เรียนรู้การแก้ปัญหาในการใช้ชีวิตร่วมกัน ก็เท่ากับเป็นการส่งเสริมได้ทั้ง MQ EQ IQ อีกต่างหาก เรามีหน้าที่เพียงแค่ระวังอันตราย ดูแลไม่ให้เกินขอบเขตเท่านั้นเป็นพอ

ข้อมูลอ้างอิงจาก NovaBizz.com  / GotoKnow / Amarin kids

อ่านต่อบทุความดี ๆ คลิก

กิจกรรมจิตอาสา ตามแนวรถไฟฟ้า..อาสาไหมเธอ!

6 เทคนิคดี ๆ สร้าง MQ (Moral Quotient) ให้รู้ผิดชอบชั่วดี โตมาให้เป็นเด็กดีในสังคม

5 ประโยชน์ของการ พาลูกเล่นสนามเด็กเล่น

ปล่อยลูกเล่นอิสระ วิ่ง-ปีนป่าย ฝึกกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ยิ่งฉลาด สมองดี

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up