จดหมายถึงผู้ปกครอง ผลการเรียน ลูกไม่ใช่ทุกสิ่งคนแห่ชื่นชมรร. - Amarin Baby & Kids
จดหมายถึงผู้ปกครอง ผลการเรียนลูก

จดหมายถึงผู้ปกครอง ผลการเรียน ลูกไม่ใช่ทุกสิ่งคนแห่ชื่นชมรร.

Alternative Textaccount_circle
event
จดหมายถึงผู้ปกครอง ผลการเรียนลูก
จดหมายถึงผู้ปกครอง ผลการเรียนลูก

จดหมายถึงผู้ปกครอง โรงเรียนสิริรัตนาธรสุดเจ๋ง สะกิดเตือนค่านิยม ผลการเรียน ของลูกไม่ใช่ตัวตัดสินเด็ก โลกโซเซียลชื่นชม มาสร้างเป้าหมายให้ลูกโดยไม่บังคับกัน

จดหมายถึงผู้ปกครอง ผลการเรียน ลูกไม่ใช่ทุกสิ่ง คนแห่ชื่นชมรร.!!

เมื่อโลกคนบนออนไลน์ แห่ชื่นชม จดหมายถึงผู้ปกครอง ของโรงเรียนสิริรัตนาธร ที่แสดงความห่วงใยถึงผู้ปกครองต่อความคาดหวังในผลการเรียนของลูก ที่จะมาถึงในการสอบปลายภาคปีการศึกษานี้ โดยให้ข้อคิดแก่ท่านผู้ปกครองทุกคนไว้ ดังนี้

เรียน ผู้ปกครองระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ทุกท่าน

ด้วยโรงเรียนสิริรัตนาธร สังกัดสำหนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ขอแจ้งการสอบของนักเรียนในความปกครองของท่านใกล้จะมาถึงแล้ว โรงเรียนทราบว่าการสอบในครั้งนี้อาจจะทำให้ท่านวิตกกังวล ว่านักเรียนของท่านจะทำข้อสอบได้หรือไม่

แต่โปรดเข้าใจไว้ว่าในกลุ่มนักเรียนที่นั่งสอบอยู่นี้ มีนักธุรกิจที่ไม่สนใจเรื่องประวิติศาสตร์ หรือการประพันธ์ภาษาอังกฤษ มีนักคอมพิวเตอร์ที่ไม่สนใจเรื่องคะแนนสอบวิชาเคมี มีศิลปินที่ไม่มีความจำเป็นที่จะรู้เรื่องคณิตศาสตร์ มีนักกีฬาที่สนใจเรื่องความสามารถทางร่างกายมากกว่าวิชาฟิสิกส์ มีนักการเมืองที่สนใจเรื่องข่าวสารบ้านเมืองมากกว่าวิชาศิลปะ ถ้านักเรียนใสความปกครองของท่านทำคะแนนได้สูงสุด นั้นหมายถึงเป็นที่หนึ่งหรือยืนหนึ่ง แต่ถ้าลูกทำไม่ได้โปรดอย่าทำลายความเชื่อมั่น และความนับถือตัวเองของลูกไป บอกลูกว่ามันดีมากแล้ว มันแค่การสอบ มันยังมีอะไรอีกมากมายในชีวิต บอกลูกท่านว่า ไม่ว่าคะแนนสอบออกมาแบบไหนคุณก็รักเขา และจะไม่ตัดสินเขา

โรงแรียนขอความอนุเคราะห์ท่านโปรดทำตามนี้ และเมื่อคุณได้ทำมันแล้ว เฝ้าดูลูกของคุณเพื่อพิชิตความฝันเขา และโลกนี้ การสอบเพียงครั้งเดียว หรือคะแนนสอบที่ไม่ดี จะไม่สามารถช่วงชิงความฝัน และพรสวรรค์ของเขาไป และได้โปรดรับทราบด้วยว่า คนที่จะมีความสุขในโลกนี้ ไม่จำเป็นต้องจบหมอ หรือวิศวะเท่านั้น ในการนี้ โรงเรียนสิริรัตนาธร ขอแจ้งกำหนดการสอบปลายภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ระหว่างวันที่ 19-23 กันยายน 2565 ขอให้ท่าน และนักเรียนเตรียมตัวในการสอบนี้อย่างมุ่งมั่น และตั้งใจให้เต็มที่ที่สุด ครูที่ปรึกษา และครูประจำวิชาทุก ๆ วิชา จะช่วยสร้างฝัน และพรสวรรค์ของนักเรียนให้ไปถึงจุดที่ตั้งหวังต่อไป

ที่มา : Sirirattanathorn School – Home | Facebook
จดหมายถึงผู้ปกครอง เตือนผลคะแนนสอบ ไม่ใช่ทุกสิ่งในชีวิต
จดหมายถึงผู้ปกครอง เตือนผลคะแนนสอบ ไม่ใช่ทุกสิ่งในชีวิต

ผลการเรียน ไม่ใช่ทุกสิ่ง!!

ในโลกยุคปัจจุบันที่เต็มไปด้วยการแข่งขัน ซึ่งเข้าไปมีบทบาทในแทบจะทุกสังคม ไม่ว่าจะเป็นสังคมคนทำงาน สังคมเพื่อน และอีกหลาย ๆ สังคมที่มนุษย์มีการรวมกลุ่มกัน หากแต่การแข่งขันนั้นจะเป็นไปอย่างพอดี ไม่มากจนเกินไปนัก การแข่งขันกันก็นับว่าเป็นประโยชน์ในการช่วยให้เกิดความกระตือรือร้น การมุ่งมั่นที่จะทำให้ตัวเองประสบผลสำเร็จ ในทางกลับกันหากมีมากเกินไป นั่นจะเป็นความกดดันที่มหาศาล แทนที่จะกลายเป็นแรงผลักดัน กลับนำไปสู่ปัญหาทางจิต ความเครียด และอาจส่งผลกระทบไปยังสุขภาพจิตที่ก่อเกิดปัญหาตามมาในหลาย ๆ ด้านอีกด้วย
ความกดดันทางการเรียน เริ่มแสดงออกให้เห็นถึงปัญหาในสังคมไทยมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยจะเห็นได้จากข่าวที่มีออกมามากมาย ที่เด็กคิดสั้นจบชีวิต เพียงเพราะไม่สามารถทำคะแนนสอบได้ดี หรือไม่สามารถทำตามที่พ่อแม่คาดหวังให้เป็นได้ ทั้ง ๆ ที่หากเรามองเข้าไปดูข้อมูลที่มีแล้ว จะพบว่าเด็กเหล่านั้น ไม่ใช่เด็กที่ไม่ตั้งใจเรียน หรือเรียนไม่เก่ง แต่กลับเป็นเด็กที่มีผลการเรียนดี เป็นเด็กเก่งเสียด้วยซ้ำไป อะไรทำให้เกิดเหตุการณ์น่าเศร้ากับพวกเขากัน
เด็กมีแนวคิดฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้น !!
สถานการณ์ความกดดันจากสังคม ส่งผลให้จำนวนของเยาวชนที่คิดฆ่าตัวตายมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ข้อมูลสถานการณ์โรคซึมเศร้าจากกรมสุขภาพจิต พบว่า ปี 2560 กลุ่มเยาวชนอายุ 20-24 ปี มีอัตราการฆ่าตัวตาย 4.94 ต่อประชากรแสนคน ส่วนในปี 2561 เพิ่มขึ้นเป็น 5.33 ต่อประชากรแสนคน ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลการให้บริการสายด่วนสุขภาพจิต 1323 ในปี 2561 มีการให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ทั้งสิ้น 70,534 ครั้ง แบ่งเป็นกลุ่มเด็กอายุ 11-19 ปี 10,298 ครั้ง หรือร้อยละ 14.6 และเป็นอายุ 20-25 ปี 14,173 ครั้ง หรือร้อยละ 20.1 สัดส่วนของเด็กและเยาวชน ที่มีปัญหาความเครียดหรือวิตกกังวล ปัญหาความรัก ซึมเศร้า และมีความคิดหรือความพยายามฆ่าตัวตายมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

เรียนหนักไป ใช่ว่าจะสำเร็จ!!

นักวิจัยสาธารณสุขแห่งชาติ สนับสนุนโดยสำนักงานส่งเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่าเด็กไทยเรียนหนักที่สุดในโลกรองจากประเทศญี่ปุ่นและส่งผลให้มีเด็กนักเรียนลาออกกลางคันปีละ 900,000 คนและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อีกทั้งส่งผลให้เด็กนักเรียน 386,250 คนเลือกทำอาชีพผิดกฎหมายเพื่อหาค่าเล่าเรียน นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กไทยเรียนวันละ 8-10 คาบต่อวันและยังมีนักเรียนบางส่วนรู้สึกเบื่อจนไม่อยากเรียน และที่น่าเป็นห่วง คือ เด็กไทยร้อยละ 87 มีเวลาพูดคุยกับพ่อแม่เพียงวันละ 10 นาที

แม้ว่าเด็กไทยจะเป็นเด็กที่อยู่ในช่วงเกณฑ์เด็กที่เรียนหนักประเทศหนึ่ง แต่กลับพบว่าเด็กทุกคนที่เรียนหนัก ไม่ได้เป็นเด็กที่ประสบความผลสำเร็จทุกคนไป ค่านิยมของคนไทยมักให้ความสำคัญของเด็กเก่ง โดยดูที่ผลการเรียน คะแนนสอบ ซึ่งไม่อาจแย้งได้ว่า เป็นการวัดผลการเรียนรู้ที่ง่าย และทำให้เราทราบว่าเด็กเข้าใจในเนื้อหาจริงหรือไม่ แต่คะแนนสอบที่วัดจากการสอบเพียงครั้งเดียวนี้ ไม่สามารถชี้ชัดถึงระดับความสามารถของเด็ก ได้อย่างแท้จริง เพราะคะแนนสอบวัดเพียงเนื้อหาในวิชานั้น ๆ แต่ในขณะที่เด็กแต่ละคนมีความถนัด ความสามารถแตกต่างกันไป หลากหลายเรื่อง

การชื่นชมแต่เด็กเก่งที่มีคะแนนสอบสูง โดยทิ้งเด็กที่มีคะแนนสอบกลาง ๆ หรือไม่ดี ไว้โดยไม่ได้สนใจในรายละเอียดของเด็กว่าจริง ๆ แล้วเด็กเหล่านี้ถึงแม้จะมีคะแนนสอบไม่ดี ไม่ได้หมายความว่าเขาไม่เก่ง เด็กอาจมีทักษะด้านอื่น ๆ ที่เด่น และสามารถพัฒนาต่อยอดต่อไปได้ การประเมินผลเป็นสิ่งที่ทำให้ครูรู้จักเด็กเป็นรายบุคคลเพื่อสอน และหาวิธีการที่เหมาะสมให้นักเรียนพัฒนาตนเองต่อไปได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับ คุณภาพของครู

อย่ามองแต่ คะแนนสอบลูก ข้อคิดเตือนใจใน จดหมายถึงผู้ปกครอง
อย่ามองแต่ คะแนนสอบลูก ข้อคิดเตือนใจใน จดหมายถึงผู้ปกครอง

บทบาทของพ่อแม่ ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของลูก

จากงานวิจัยเรื่องปัจจัยทางครอบครัวที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น    ศึกษาปัจจัยด้านกระบวนการในครอบครัว ในปี 2553 พบว่า ครอบครัวมีการอบรมเลี้ยงดูบุตรหลาน 3 รูปแบบ คือ การเลี้ยงดูแบบมีเหตุผลร้อยละ 96  เลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลยร้อยละ 42 และ เลี้ยงดูแบบเข้มงวดร้อยละ 32

จากผลการวิจัย จึงทำให้เราพบว่า บทบาทของพ่อแม่นั้น ส่งผลต่อการเรียนของลูก แต่กลับพบว่า การเลี้ยงดูแบบเข้มงวดนั้น ให้ผลดีต่อผลสัมฤทธิ์ทางเรียนของลูกน้อยที่สุด ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรหันกลับมาคิดทบทวนกันเสียแล้วว่า การบังคับ กดดัน หรือการคาดหวังต่อผลคะแนนสอบของลูกนั้น ยิ่งทำให้ลูกได้คะแนนดีขึ้นหรือแย่ลงกันแน่

อย่าปล่อยให้ลูกต้องเครียดจากการเป็นเด็กกลุ่ม Perfectionism !!

ไม่ว่าใครต่างก็พยายามอย่างเต็มที่เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่คาดหวังไว้ แต่สำหรับบางคนกลับคิดว่าความพยายามของตัวเองหรือคนที่คาดหวังไม่เคยดีพอ และกลัวว่าจะเกิดความล้มเหลวในสิ่งที่ทำ คนกลุ่มนี้เรียกว่า Perfectionist ซึ่งเป็นผู้ที่ชอบตั้งมาตรฐานของการกระทำและผลลัพธ์ไว้สูงมากจนอาจเกินความเป็นจริง และพยายามทำทุกทางจนกว่าผลลัพธ์จะออกมาไร้ที่ติ 

ความมุ่งมั่นและตั้งใจเป็นแรงผลักดันให้เราไปสู่เป้าหมายได้เร็วขึ้นได้ แต่นิสัยรักความสมบูรณ์ของ Perfectionist มักนำไปสู่ความเครียด และบั่นทอนความสุขในชีวิตได้มากกว่า จนอาจเพิ่มความเสี่ยงของโรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า พฤติกรรมการกินที่ผิดปกติ หรือแม้แต่การทำร้ายตัวเอง และในท้ายที่สุดแนวคิดและผลกระทบเหล่านี้อาจกลายเป็นสิ่งกีดขวางที่ทำให้เราหยุดพยายามในการมุ่งสู่ความสำเร็จ

Perfectionist มีลักษณะอย่างไร?

ผู้ที่มีความเป็น Perfectionist มักมีแรงผลักดันจากอุปนิสัยส่วนตัวที่ไม่ต้องการเผชิญความล้มเหลวหรือได้รับคำตำหนิ นอกจากนี้ ปัจจัยภายนอกอย่างแรงกดดันจากการอยู่ในสังคมที่มีการแข่งขันสูง และอิทธิพลของการใช้โซเชียลมีเดีย (Social Media) ทำให้ผู้ที่อยู่ในวัยเรียนมีแนวโน้มที่จะเป็น Perfectionist สูงขึ้น เนื่องจากต้องการการยอมรับจากผู้อื่น

ที่มา : https://www.pobpad.com

เด็กกลุ่ม “Perfectionism” หรือ กลุ่มเด็กเก่งที่ไม่ได้แบกแค่ความคาดหวังของครอบครัวอย่างเดียว แต่ต้องแบกความคาดหวังของคนรอบข้างไว้ด้วยทั้งโรงเรียน ครู และเพื่อน ชีวิตของเขามีแต่การเรียนจนขาดทักษะชีวิตที่จะสามารถจัดการกับความผิดหวัง จัดการกับความเครียดของตัวเอง สุดท้ายก็ตัดสินใจด้วยอารมณ์และความรู้สึกหรือแก้ปัญหาแบบโศกนาฏกรรมในที่สุด

บทบาทของพ่อแม่จึงเป็นสิ่งสำคัญ นอกจากเราจะไม่แสดงท่าที หรือคำพูด รวมถึงทัศนคติที่จะเป็นการกดดันลูกในเรื่องของคะแนนสอบ และการเรียนแล้ว พ่อแม่ยังต้องมีจิตวิทยาในการเลี้ยงลูก โดยการเรียนรู้นิสัยเดิมของลูก ศึกษาวิธีรับมือ และแนะนำเมื่อลูกเกิดความเครียด พร้อมรับฟังปัญหาของเขา ไม่ว่ากล่าว หรือตัดสินลูกไปเสียก่อนที่เขาจะเล่าถึงปัญหาของตัวเองจบ

อ่านต่อ>> 9 ไอเดียการสร้างแรงจูงใจใฝ่เรียนรู้ให้ลูก คลิกหน้า 2

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up