รับฟังลูก การฟังที่ไม่ใช่แค่ได้ยิน แต่หมายถึงการรับฟังความคิดเขาอย่างตั้งใจ สนใจ แล้วจะทำอย่างไรให้ลูกรับรู้ อยากเล่า มาดูเทคนิคการฟังและพูดกับลูกให้ได้ผล
รับฟังลูก อย่างไรให้เขาอยากเล่า และพูดอย่างไรให้ลูกฟัง
คุณเป็นคุณพ่อคุณแม่ที่รับฟังลูกหรือเปล่า?
“ใช่ ฟังตลอดนะ ก็ปล่อย ๆ ลูกพูดไปเรื่อย ๆ เขาพูดเก่ง พูดได้ทั้งวันเราก็ฟังไปเล่นโทรศัพท์ไป เขาไม่รู้หรอก” คุณแม่ของลูกวัยเด็กกล่าว
“พร้อมรับฟังลูกทุกเรื่อง แก้ปัญหาให้เขาตลอดแหละ ถ้าไม่มีแม่สงสัยทำอะไรไม่ถูก” คุณแม่ของลูกวัยกำลังเข้าสู่วัยรุ่นกล่าว
“ฟังอย่างไรละคะ เก็บตัวอยู่แต่ในห้อง กลับจากโรงเรียนก็คุยแต่กับเพื่อน ลืมพ่อลืมแม่แล้วละมั้ง” คุณแม่ของลูกวัยรุ่นกล่าว
ตอนที่ลูกยังเป็นเด็กเล็กๆ เขามักจะอยากเล่าเรื่องนั้นเรื่องนี้ให้พ่อแม่ฟังเสมอ แต่บางครั้งที่พ่อแม่ไม่มีเวลา อาจคิดว่าบางเรื่องไม่ได้มีความสำคัญอะไร เป็นเรื่องของเด็กๆ ก็ฟังบ้างไม่ฟังบ้าง มีอะไรหลายอย่างที่ต้องทำต้องจัดการในแต่ละวัน
พอลูกเป็นวัยรุ่น ลูกเล่าอะไรให้พ่อแม่ฟังน้อยลง เหตุเพราะติดเพื่อนมากขึ้น(เป็นปกติของพัฒนาการวัยรุ่น) หรือที่ผ่านมาเขารู้สึกว่าพ่อแม่ไม่ฟังเขาเท่าที่ควร พ่อแม่อยากให้ลูกเล่า แต่ลูกก็ไม่ยอมเล่าแล้ว ยิ่งบอกให้เล่าก็ยิ่งเงียบถ้าเป็นไปได้พ่อแม่ก็ควรจะสนใจจะฟังเรื่องที่ลูกเล่าตั้งแต่ตอนที่เขายังเป็นเด็กเล็กๆ การที่พ่อแม่รับฟังเขามาเรื่อยๆ ลูกก็จะรู้สึกว่าเขาเล่าเรื่องอะไรพ่อแม่ก็สนใจที่จะรับฟัง มีแนวโน้มที่จะเล่าเรื่องต่างๆให้ฟัง ถึงแม้ว่าเค้าจะเป็นวัยรุ่นหรือเป็นผู้ใหญ่บทความส่วนหนึ่งจากเฟซบุ๊กเพจ เข็นเด็กขึ้นภูเขา หมอมินบานเย็น หัวข้อ เรากำลังฟังลูกอยู่หรือเปล่า
แค่รับฟัง สร้าง Safe Zone ปกป้องจิตใจลูก!!
อย่ามองข้ามปัญหาเล็ก ๆ ของลูกเชียวนะ!!
Quote จาก เพจตามใจนักจิตวิทยา
เลิกซะ…หากอยากให้ลูกเล่าให้ฟัง
พ่อแม่มักเป็นตัวเลือกแรก ๆ ของลูกที่เขาจะเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ทั้งเรื่องทั่วไป เรื่องดีใจ และเรื่องที่ไม่สบายใจให้ฟัง โดยเฉพาะเมื่อเขายังอยู่ในวัยเด็ก การเล่าเรื่องราวที่โรงเรียน หรือสิ่งที่เขาคิดให้พ่อแม่ฟังดูจะเป็นเรื่องปกติของเด็กทุกคน แต่หากพ่อแม่วางตัวเป็นผู้ฟังที่ไม่ดีพอ ความไว้วางใจเหล่านั้นอาจหมดไป เมื่อเขาโตขึ้นเข้าสู่วัยรุ่น พ่อแม่อาจกลายเป็นบุคคลที่ลูกไม่อยากเล่าอะไรให้ฟังก็เป็นได้ ลองมาตรวจสอบกันดูว่าเราเผลอทำพฤติกรรมต่าง ๆ เหล่านี้หรือไม่
รับฟังแต่ไม่ตั้งใจ
การรับฟังเพียงอย่างเดียวไม่สามารถทำให้ลูกวางใจที่จะเล่าเรื่องต่าง ๆ ให้ฟังทุกเรื่องได้ หากการรับฟังนั้นเป็นเพียงการรับฟังแบบผ่าน ๆ ฟังหูซ้ายทะลุหูขวา ไม่ได้สนใจฟังจริง ๆ เพราะทำอย่างอื่นอยู่ พ่อแม่ควรตั้งใจฟังเรื่องที่ลูกเล่า ใส่ใจ เข้าใจ และตอบสนองต่อเนื้อหานั้น ๆ ด้ว นอกจากการสื่อสารด้วยคำพูดแล้ว ภาษากาย หรือ Body Language ก็มีความสำคัญมากถึง 80 เปอร์เซ็นต์ ไม่ว่าจะเป็นสีหน้า น้ำเสียง ท่าทางและการสัมผัส ล้วนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างมากในการส่งผ่านความรู้สึกดีให้ลูกรับรู้ และไว้วางใจพ่อแม่ในการจะเล่าปัญหาให้ฟัง
จ้องสั่งสอน
การสั่งสอนลูกเป็นหน้าที่ของพ่อแม่ แต่ลูก คือ คน ๆ หนึ่งที่มีความนึกคิดเป็นของตัวเอง ไม่ใช่หุ่นยนต์ที่จะบังคับได้ตามโปรแกรมที่ตั้งไว้ ดังนั้นปัญหาที่ลูกนำมาปรึกษา พ่อแม่ควรจะรับฟังให้จบ อย่าพึ่งด่วนตัดสิน ขัดจังหวะ จ้องสั่งสอน ลองฟังและให้โอกาสลูกได้คิดหาทางออกด้วยตัวเองดูก่อน พ่อแม่เป็นเพียงที่ปรึกษา ชี้แนะแนวทาง ไม่ใช่ชี้นำ
อย่าละเมิดความเป็นส่วนตัวด้วยการเล่าต่อ
บางครั้งพ่อแม่เห็นว่าเรื่องที่ลูกมาปรึกษา หรือเล่าให้ฟังเป็นเรื่องไม่สำคัญ จึงอาจนำไปเล่าต่อ อาจจะเล่าเพราะความภูมิใจ อยากอวดหรือขบขัน เอ็นดูก็ตามที แต่นั่นเป็นการทำลายความเชื่อใจที่ลูกมอบให้กับเรา ยิ่งถ้าเป็นเรื่องที่ลูกบอกเป็นความลับ หรือไม่อยากให้ใครรู้ ควรสอบถามลูกก่อนว่าเรื่องนี้เป็นความลับแค่ไหน บอกต่อได้หรือไม่ และเคารพในสิทธิของเขา หรือหากเราพลาดเล่าไปเสียแล้ว ให้สังเกตท่าทางลูกว่าเขารู้สึกอย่างไร หากลูกไม่ยินดีที่ถูกพูดถึง ก็ควรหยุด และขอโทษ พร้อมสัญญาว่าจะไม่ทำอีก
ไม่อยากให้พ่อแม่ไม่สบายใจ
นับเป็นเหตุผลต้น ๆ ที่ลูกไม่อยากเล่าเรื่องตัวเองให้พ่อแม่ฟัง เพราะกลัวเราจะวิตกกังวล ไม่สบายใจกับเรื่องของเขา ไม่อยากให้พ่อแม่ต้องผิดหวัง หรือเป็นห่วง ดังนั้นพ่อแม่จึงควรที่จะเปิดใจกับลูก ทำให้เขารู้ว่าพ่อแม่ก็ไม่ได้คาดหวังให้เขาทำทุกอย่างได้สมบูรณ์ แต่พร้อมยอมรับกับทุกปัญหาที่ลูกต้องเผชิญ ไม่ตัดสินเขาด้วยเหตุผลของตัวเอง โดยอาจจะเริ่มต้นก่อนด้วยการถามลูกแบบท่าทีสบาย ๆ ไม่ซีเรียส ผ่อนคลาย ซึ่งบางครั้งลูกอาจจะยังไม่กล้าบอกตรง ๆ พ่อแม่ต้องคอยสังเกตสิ่งที่ซ่อนอยู่ในใจลูกว่าเขายังโอเคกับชีวิตเขาจริงหรือไม่ เราต้องจับสัญญาณขอความช่วยเหลือที่ลูกส่งออกมาให้ได้แม้เขาจะไม่พูด เช่น สายตาที่เศร้าหมอง เก็บตัวกว่าเดิม ไม่พูดคุยเล่นเหมือนก่อน เป็นต้น
ดุด่า ว่ากล่าว ลงโทษ ซ้ำเติม
การดุด่าหรือการลงโทษ อาจดูเหมือนเป็นการแก้ปัญหาได้ แต่ในระยะยาวนั้นมันจะส่งผลทำให้เด็กมีความรู้สึกว่าเขาไม่ดีพอ ไม่เห็นคุณค่าของตนเอง และเมื่อเกิดปัญหาใหม่ก็ไม่อาจจัดการปัญหานั้น ๆ ได้ด้วยตนเอง ไม่กล้าตัดสินใจ หรือในเด็กบางคนอาจจะมีพฤติกรรมที่ก้าวร้าวรุนแรงมากกว่าเดิมเป็นการโต้ตอบ พ่อแม่ควรไว้วางใจลูก ให้เขามาร่วมมือกันในการหาวิธีแก้ปัญหาร่วมกัน
พ่อแม่ไม่เข้าใจ และไม่สามารถแก้ปัญหาให้ได้
พ่อแม่บางคนกลัวลูกไม่พอใจตนเองมากเสียจนโอนอ่อนผ่อนตาม ตามใจลูกไปเสียทุกเรื่อง ทำให้ลูกมีความรู้สึกว่าพ่อแม่ไม่มีความสามารถพอที่จะช่วยแก้ปัญหาให้เขาได้ ถึงถามไปยังไงพ่อแม่ก็ทำตามที่เขาต้องการอยู่ดี ไม่มีความเห็นอะไร การรับฟังลูก แต่ไม่ได้หมายความว่าไม่สามารถแสดงความเห็นของตัวเองได้ พ่อแม่สามารถออกความเห็นพร้อมเหตุผล ให้เขาร่วมตัดสินใจว่าแบบไหนดี แบบไหนที่จะเป็นหนทางแก้ไขปัญหาที่เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายได้
รับฟังลูก นอกจากจะเป็นการเปิดประตูให้ลูกได้ก้าวเข้ามาปรึกษา และนำไปสู่การแก้ปัญหาที่ดีแล้ว วิธีนี้ยังมีข้อดีที่มีดีไม่น้อยไปกว่าการช่วยลูกแก้ปัญหาเลย นั่นคือ การได้เยียวยาจิตใจอันบอบช้ำ ยุ่งเหยิงของลูกให้ได้ระบายออกมา ให้เขาได้มีพื้นที่ที่เขารู้สึกปลอดภัย ไม่โดนตัดสินใด ๆ เมื่อจิตใจสงบ ลูกก็พร้อมกลับไปเผชิญปัญหา หรือก้าวไปต่อในรูปแบบที่เขาได้ตัดสินใจเอง และพร้อมยอมรับมัน
อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก
เข้าถึงใจลูกด้วยการ รับฟังลูก อย่างใส่ใจ ทักษะที่พ่อแม่ยุคใหม่ต้องไม่มองข้าม
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่