เปิดเหตุผล!! พ่อแม่รักลูกไม่เท่ากัน งานวิจัยชี้จากสิ่งนี้นี่เอง - Page 2 of 2 - Amarin Baby & Kids
พ่อแม่รักลูกไม่เท่ากัน

เปิดเหตุผล!! พ่อแม่รักลูกไม่เท่ากัน งานวิจัยชี้จากสิ่งนี้นี่เอง

Alternative Textaccount_circle
event
พ่อแม่รักลูกไม่เท่ากัน
พ่อแม่รักลูกไม่เท่ากัน

เปิดผลงานวิจัย เหตุใด พ่อแม่รักลูกไม่เท่ากัน !!

พ่อแม่มีท่าทีว่าจะรักลูกคนโตมากกว่าลูกคนเล็ก

ในการวิจัยของนักวิชาการอังกฤษแห่งมหาวิทยาลัยบริสตอล เปิดเผยว่า พ่อแม่มีท่าทีจะรักลูกคนโตมากกว่าลูกคนเล็ก ในครอบครัวที่มีลูก 2 คน โดยสังเกตได้จากพฤติกรรม เช่น เมื่อลูกคนแรกเกิดมาจะได้รับความเอาใจใส่มากกว่า ทั้งการเลี้ยงดู ความเสน่หา รางวัลของขวัญ ได้รับความเอาใจใส่จากพ่อแม่อย่างเต็มที่ และลูกคนโตมักจะมีไอคิวที่สูงกว่าอาจเพราะมาจากการได้อาหารการกินที่ดีกว่าลูกคนอื่น ๆ

เหตุใดที่พ่อแม่ทุกคนรักลูกไม่เท่ากัน และจะรักลูกคนที่มีบุคลิกคล้ายตัวเองมากกว่า

แนวโน้มที่พ่อกับแม่จะรักลูกคนที่มีบุคลิกคล้ายตัวเองมากกว่า เนื่องจากทำให้ย้อนนึกถึงตัวเองในช่วงวัยเด็ก

ผลกระทบเมื่อลูกไม่ใช่ ลูกคนโปรด
ผลกระทบเมื่อลูกไม่ใช่ ลูกคนโปรด

พ่อแม่ส่วนใหญ่มีแนวโน้มรักลูกคนโตมากกว่าลูกลำดับถนัด ๆ ไป

95% ในหนังสือเบสต์เซลเลอร์ เผยว่าพ่อแม่ทั้งโลกรักลูกไม่เท่ากัน และมักจะชอบโอ๋ลูกคนใดคนหนึ่งเป็นพิเศษด้วย โดยพ่อแม่อีก 5% มักจะเป็นพวกที่โกหกตัวเองไม่ยอมรับความจริงว่ารักลูกไม่เท่ากัน จากผลการศึกษาข้อมูลแบบเจาะลึก ทำให้ค้นพบว่าลูกชายคนโตจะเป็นที่โปรดปรานของแม่โดยธรรมชาติ ขณะที่ลูกสาวคนเล็กซึ่งมีแนวโน้มขี้อ้อนมักได้รับการโอ๋จากพ่อ

ผลการสำรวจและวิจัยของ ศาสตราจารย์ แคทเธอรี ตู สาขาการพัฒนามนุษย์และครอบครัวการศึกษา แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย พบว่า พ่อแม่ส่วนใหญ่มีแนวโน้มว่าจะให้ความรักกับลูกคนโตมากกว่าลูกคนต่อๆ ไป และยังได้มีการสำรวจความคิดเห็นของลูกด้วย  พบว่าเด็ก ๆ จะรู้สึกว่าได้รับความรักจากพ่อแม่ไม่เท่ากัน และรู้สึกว่าได้รับการปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมจากพ่อแม่ด้วย

โรคซึมเศร้า…ผลลัพธ์ของการรักลูกไม่เท่ากัน

การที่พ่อแม่ทำให้ลูกรู้สึกถึงการไม่เห็นคุณค่าในตนเอง จากการไม่ได้เป็นลูกรักนั้น จะส่งผลเสียต่อภาวะทางจิต คือ โรคซึมเศร้า ที่สามารถเกิดขึ้นได้กับเด็กเช่นกัน ดังนั้นหากลูกของคุณพ่อคุณแม่เกิดสัญญาณอาการดังต่อไปนี้ ควรรีบให้ความใส่ใจ พูดคุยกับลูก ก่อนสายเกินแก้

  • ลูกเริ่มเก็บตัว ไม่ค่อยพูด ไม่ค่อยเล่าเรื่องราวให้ฟัง เหมือนก่อน
  • เศร้า ร้องไห้ หงุดหงิดง่าย ทำอะไรก็ขัดหูขัดตา หงุดหงิดไปซะหมด
  • ไม่ชอบทำกิจกรรมที่เคยชอบทำมาก่อน เช่น วาดรูป แต่ตอนนี้ไม่สนใจแล้ว
  • ไม่อยากทำอะไรเลย นอนทั้งวัน แอบร้องไห้คนเดียว
  • บ่นอยากหายไปจากโลกนี้ บ่นอยากตาย

    เมื่อท่าทีของพ่อแม่มีผลต่อลูกในอนาคต
    เมื่อท่าทีของพ่อแม่มีผลต่อลูกในอนาคต

วิธีรับมือ…เมื่อลูกเป็นโรคซึมเศร้า

  • พ่อแม่ควรหมั่นพูดคุยกับลูก สังเกตพฤติกรรม สอบถามอาการสารทุกข์สุกดิบ ถามถึงความสุขของลูก  เพื่อช่วยแก้ปัญหาในเบื้องต้น ก่อนที่ลูกจะตกอยู่ในภาวะซึมเศร้า
  • หากิจกรรมทำร่วมกับลูก ไปทำกิจกรรมใหม่ๆ บรรยากาศใหม่ๆ เพื่อให้เด็กมีความสุขเพิ่มขึ้น แต่ต้องเป็นกิจกรรมที่ไม่ทำให้แย่ลงไปกว่าเดิม
  • พูดคุยกับลูกโดยเหตุและผล ไม่ใช้อารมณ์ ให้ความเอาใจใส่และความอบอุ่นแก่ลูกอยู่เสมอ เปิดโอกาสให้ลูกได้เล่าปัญหาที่เกิดขึ้น ไม่เร่งรัด ให้บรรยากาศที่ผ่อนคลาย ไม่ตึงเครียด
  • คอยสำรวจพฤติกรรมหรือขอความช่วยเหลือจากคุณครูให้ช่วยสอดส่องพฤติกรรมของลูก และเปิดเผยพูดคุยกับคุณครูเพื่อแลกเปลี่ยนปัญหาของลูกที่พบที่บ้านและโรงเรียน เพื่อร่วมมือกันแก้ไขปัญหาอย่างใกล้ชิด
  • หากอาการไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาจิตแพทย์โดยด่วนเพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้องต่อไป
ข้อมูลอ้างอิงจาก https://www.phyathai.com/เลี้ยงลูกตามใจหมอ /https://thepotential.org/https://www.brparents.com/https://mthai.com

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

จากข่าว คอมพิวเตอร์ ระเบิดสู่ปัญหาการจัดการอารมณ์ในเด็ก

รับมือ พฤติกรรมเด็ก เปลี่ยน-ตัวร้าย-ให้กลายเป็น “นางฟ้า”

หยุด!! เปรียบเทียบ พัฒนาการลูก ส่งเสริม-เข้าใจ ลูกโตตามวัยแบบแฮปปี้

รับมืออย่างไรเมื่อลูกทำผิดซ้ำๆ ประจาน ให้จำหรือซ้ำแผลใจลูก

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up