ทัศนคติของพ่อแม่ แบบคุณเป็นแบบไหน? ตรรกะการเลี้ยงลูกแบบส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น ยังคงใช้ได้กับเด็กยุคปัจจุบันหรือไม่? เรามีคำตอบ
หมอเตือน! ทัศนคติของพ่อแม่ ในการเลี้ยงลูกที่ควรระวัง
“เคยถูกเลี้ยงมาแบบนี้ ก็เห็นโตมาได้ ไม่เห็นเป็นไร”
“สมัยพ่อแม่ยังเด็ก ก็โดนตีแถมหนักกว่านี้ ยังทนมาได้ ไม่เห็นเป็นไร”
ทัศนคติของพ่อแม่ ในการเลี้ยงลูก ที่แสดงออกมาผ่านคำพูด “เคยมาก่อน ไม่เห็นเป็นไร” เป็นตรรกะที่เกิดจาก ทัศนคติของพ่อแม่ ที่ได้รับการส่งต่อ ส่งผ่านจากรุ่นก่อนหน้า รุ่นพ่อแม่ของเราอีกทอด หรือจากประสบการณ์ที่คุณพ่อคุณแม่ได้เคยผ่านมาก่อนแล้วในชีวิต แต่เคยคิดบ้างไหมว่า ตรรกะ หรือทัศนคติในการเลี้ยงลูกเหล่านั้น มันใช้ได้จริงหรือ? มันยังคงคุณค่าจากอดีตมาจนถึงรุ่นลูกของเราในปัจจุบัน โดยไม่ต้องเปลี่ยนแปลง ปรับเปลี่ยนเลยอย่างงั้นหรือไม่? หรือแท้ที่จริงแล้วเราเพียงแค่ลืมความรู้สึกไม่เข้าใจในตรรกะการดูแลลูกของพ่อแม่เราต่างหาก ว่าในช่วงอายุนั้นเรารู้สึกงง โดดเดี่ยว คับข้องใจ และมีเหตุผลโต้แย้งต่อทัศนคติของพ่อแม่พวกเรามากมาย แต่ไม่สามารถทำได้หรือไม่?
บทความการดูแลลูก สารเตือนใจพ่อแม่จากจิตแพทย์เด็ก!!
ในเฟซบุ๊กของทาง ชมรมจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นแห่งประเทศไทย ได้แสดงถึงบทความเกี่ยวกับทัศนคติของพ่อแม่ในการเลี้ยงลูกแบบที่คุณหมอใช้คำว่า “ตรรกะอันตรายในการเลี้ยงลูก” ฟังดูอาจเป็นเหมือนคำที่รุนแรง มันจะมีผลน่ากลัวขนาดนั้นเลยเชียวหรือ กับการเลี้ยงลูกแบบที่เราก็เคยได้รับมาก่อน แต่ลองมาฟังความเห็นของคุณหมอไปป์ แฮปปี้คิดส์ จากในเพจกันดูว่ามีเหตุผลเพียงพอที่เราควรจะรีบตระหนัก และปรับเปลี่ยน การเลี้ยงลูก ของเรากันแล้วหรือยัง
#ตอนเด็กเคยโดนเหมือนกันโตมาไม่เห็นเป็นไร#ตรรกะอันตรายในการเลี้ยงลูกหากเราจะปลูกต้นไม้สักต้น ให้เติบโตงอกงามไปได้ดีนอกจากใช้ความรักความทุ่มเทแล้วเราคงต้องมีความรู้ในการปลูกต้นไม้พันธุ์นั้นๆทั้งวิธีการที่เหมาะสมในการเพาะเมล็ด ให้น้ำ ให้ปุ๋ย แสงแดด ฯลฯรวมถึงปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหากจำเป็นการเลี้ยงลูกก็เช่นกันเราไม่สามารถใช้เพียงความรักและสัญชาตญาณ มาเลี้ยงลูกได้เราจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องจิตวิทยาพัฒนาการเด็กเราจึงจะเลี้ยงลูกได้ให้เติบโตได้อย่างเต็มศักยภาพและมีความสุขเหมือนต้นไม้ที่จะเติบโต แตกกิ่งก้าน ผลิดอกออกผลได้อย่างสมบูรณ์ยิ่งขึ้นทัศนคติในการเลี้ยงลูกของเรามักถูกถ่ายทอดผ่านประสบการณ์ของการถูกเลี้ยงมาจากพ่อแม่ของเราอีกทอดหนึ่งดังนั้น การตัดสินว่า ถูกเลี้ยงมาแบบนี้เหมือนกัน โตมาก็ไม่เป็นเป็นไรจากประสบการณ์ของตนเพียงคนเดียว หรือคนรอบตัวไม่กี่คนโดยไม่ศึกษาหาความรู้ หรือเปิดใจฟังในเรื่องการเลี้ยงลูกที่อาจไม่ตรงกับความเชื่อเดิมอาจไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้องนักความรู้ ทฤษฎีด้านจิตวิทยาพัฒนาการและการเลี้ยงลูกแม้จะฟังดูเป็นเรื่องนามธรรมแต่สิ่งนั้นผ่านการศึกษา วิจัย มามากมายและยาวนานเท่าที่จะทำได้ถึงอาจจะไม่ตรงกับบางคน แต่ก็มีความน่าเชื่อถือกว่าการคิด คาดเดาเอาเองแน่นอนที่สำคัญ อนาคต ใครจะคาดเดาได้ว่าลูกของเราจะโชคดี ไม่มีผลกระทบเหมือนเราที่เคยประสบมาแบบเดียวกัน ในเมื่อเรากับลูกเป็นคนละคน ที่อยู่ในบริบทต่างกันหากใครจะมองว่าคุณโลกสวยแต่คุณยึดมั่นในแนวทางที่มีการศึกษาวิจัยไว้แล้ว ผสมผสานกับการเลี้ยงลูกในแบบของคุณสำหรับหมอ มันคือการมองโลกตามความเป็นจริงครับ
ตัวอย่างทัศนคติความเชื่อผิด ๆ ที่เคยทำตามกันมาส่งผลต่อพฤติกรรมลูก
ตั้งแต่ลูกเริ่มลืมตาขึ้นมาบนโลกนี้ ในอ้อมกอดของคุณพ่อ คุณแม่ทุกคน ต่างก็คงมีความตั้งใจเดียวกันว่า “จะเลี้ยงลูกในดีที่สุด” ดังนั้นจะเป็นการดีกว่าไหม? หากเราลองกลับมาตั้งคำถามกับวิธีการดูแลลูกต่าง ๆ ที่เราได้รับสืบทอดกันมาว่า วิธีเหล่านั้นจะส่งผลดี หรือผลเสียต่อลูกมากน้อยแค่ไหน หรือควรปรับปรุง เพิ่มเติมอย่างไรให้เข้ากับยุคสมัยปัจจุบันให้มากที่สุด
Don’t !!
“อย่าอุ้มลูกบ่อย อย่าโอ๋ลูกมาก เดี๋ยวกลายเป็นเด็กติดแม่”
หลาย ๆ คนคงเคยเจอเหตุการณ์ที่คุณปู่คุณย่าห้ามไม่ให้เราไปอุ้มลูกเวลาที่ลูกร้องไห้งอแงในช่วงวัยทารก หรือแม้แต่ห้ามไม่ให้เราปลอบลูก กอดลูก หรือตามใจลูกมากไปในทุกช่วงวัยของเขา ด้วยเหตุผลที่ว่าจะทำให้ลูกกลายเป็น เด็กติดมือ เด็กติดพ่อแม่ เป็นลูกแหง่ แล้วมันจะเป็นทัศนคติของพ่อแม่ที่ดีเช่นนั้นจริงหรือ?
เรามาลองดูคำตอบที่เกี่ยวข้อง และน่าสนใจจาก เพจสถาบันราชานุกูล ได้กล่าวไว้ดังนี้
นักวิชาการและจิตเวชเด็กชี้ว่า ช่วงขวบปีแรกของลูกเป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่พ่อแม่ควรให้ความรักโอบกอดลูกน้อยให้เต็มที่ เพื่อให้ลูกน้อยรู้สึกอบอุ่นปลอดภัย กลายเป็นเด็กที่มีความรักตนเอง ครอบครัว และคนรอบข้าง และเหนี่ยวรั้งให้เขากลายเป็นเด็กดีไม่ก่อปัญหาให้กับสังคม
“เมื่อพ่อแม่โอบกอด หอมทารก ทารกจะรู้สึกปลอดภัย ช่วยกระตุ้นประสาททำให้เด็กพัฒนาในด้านอื่นๆ ได้ดี ถ้าพ่อแม่ทำได้แบบนี้เด็กไม่ค่อยมีปัญหา ช่วยลดปัญหาให้น้อยลง” พญ.สุนิดา กล่าว
ฉะนั้น ถ้าเด็กไว้เนื้อเชื่อใจแล้ว เมื่อเด็กก้าวสู่ขวบปีที่ 2 ซึ่งเป็นวัยที่เด็กจะเริ่มดื้อ ถ้าเด็กไม่เชื่อไม่รักกันมาก่อน พ่อแม่จะรั้งเด็กไม่ได้เลย แต่หากพ่อแม่หนักแน่นในการเลี้ยงดูเด็ก พร้อมใกล้ชิด เรียนรู้เด็กไปพร้อมๆ กับที่เด็กเรียนรู้พ่อแม่ แต่หากขวบปีแรกดูแลเด็กไม่ดี เมื่อถึงวัยซนเด็กต่อต้าน พ่อแม่ยิ่งใส่ความรุนแรงแล้วเด็กเก็บไว้ เด็กก็ไปรอระเบิดเมื่อเขากลายเป็นวัยรุ่น เพราะเมื่อวัยเด็กเขาทำอะไรพ่อแม่ไม่ได้ เมื่อเด็กกลายเป็นวัยรุ่นเขาจะต่อล้อต่อเถียงกับพ่อแม่รุนแรงมากขึ้น
ดร.แอนนี่ เลิศอัษฎมงคล ดีกรีปริญญาโทและเอก สาขาจิตวิทยาการให้คำปรึกษา มหาวิทยาลัยแห่งซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ปัจจุบันเธอเป็นผู้บริหารโรงเรียนสอนภาษา เลิฟ อิงลิช สคูล และสถาบัน Baby Language Thailand By DBL ดร.แอนนี่ กล่าวว่า
“ผู้ใหญ่บางคนบอกว่า อย่าอุ้มเด็กเยอะเดี๋ยวติดมือ ลูกร้องอย่าเพิ่งไปโอ๋ เด็กจะได้รู้สึกรอหรืออดทนนี่คือทฤษฎีไทย แต่ทฤษฎีฝรั่งให้อุ้ม ลูกเราอุ้มไปเหอะ การอุ้มคือสัมผัสร่างกายที่เด็กโหยหาตลอด คือสัมผัสแห่งรัก คือการเติมเต็ม เมื่อทารกร้องแม่ต้องเข้าไปอุ้ม ถ้าไม่อุ้มทารกจะคิดว่า ฉันไม่มีค่าพอให้อุ้มเลยหรือ ทารกร้องไม่อุ้มเหมือนความต้องการของเขาไม่ถูกเติมเต็ม ยิ่งวัยขวบปีแรกยิ่งต้องเต็ม เมื่อความรักเขาเต็มที่ แล้วเขาก็จะสามารถหยิบยื่นความรักให้คนอื่นได้ รักตัวเองในแบบไม่ต้องโตไปต้องให้เพื่อนยอมรับ ไม่ต้องติดยาเหมือนเพื่อน แต่ถ้าเด็กไม่รู้สึกอิ่มความรักตั้งแต่แด็ก พ่อแม่ยังไม่ยอมรับเขา เขาจะออกไปหาการยอมรับจากเพื่อน เพราะเขาหาเองไม่ได้จากบ้าน อยากให้ลูกน้อยหัดรอ แต่ไม่ใช่อายุเท่านี้ การโอ๋ไม่ใช่การตามใจ คำว่าโอ๋คือเรากำลังช่วยให้เขารู้สึกดีกับความรู้สึกไม่ดีที่เกิดอยู่ภายใน ทารกเกิดความทุกข์เขาจึงร้องไห้ โอ๋เพื่อช่วยให้เขารู้สึกดีขึ้น แอนนี่ให้อายุ 0-3 ขวบสำคัญ แต่ 0-12 เดือนสำคัญที่สุด อย่างทฤษฎีตะวันตกให้แยกห้องนอนตั้งแต่ลูกอายุ 3-6 เดือน แต่เมื่อพ่อแม่ไทยเลือกที่จะแยกก็ต้องยอมรับด้วยว่า ลูกเมื่อโตขึ้นเขาจะแยกครอบครัวออกไปเร็วมากๆ นะคะ”
Don’t !!
“ขู่ลูกให้กลัว จะได้ไม่ดื้อ ไม่กล้าทำอีก”
เชื่อว่าหลาย ๆ คนคงเคยใช้วิธีการขู่กับลูกน้อยกัน เพื่อหยุดพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ของลูกที่เราไม่ต้องการ แต่ การขู่ลูก นั้นเป็นวิธีการที่สมควรใช้จริงหรือไม่ จะมีผลร้ายใดตามมาต่อพฤติกรรมของลูกเราบ้างนะ
เราลองมาดูตัวอย่างของการใช้วิธีการขู่ให้กลัว เพื่อให้ลูกเลิกเล่นมือถือที่เคยเป็นข่าวดัง ว่าคุณหมอได้แนะนำไว้อย่างไรกัน
ปัญหาการติดหน้าจอของเด็กๆ “เป็นปัญหาของผู้ใหญ่” การโกหก หลอก ขู่ ทำให้เด็กๆ หวาดกลัว เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ เพราะสุดท้ายพอลืมไปหรือหายกลัว เด็กก็กลับไปติดหน้าจอใหม่ เพราะปัญหาที่ผู้ใหญ่ ไม่เคยได้รับการแก้ไขหรือถูกมองเห็น
การใช้วิธีที่กล่าวมา…เด็กหลายคน กลายเป็นเด็กหวาดระแวง หวาดกลัว ถดถอย งอแงง่าย จากความกลัวในสิ่งที่เผชิญ ที่สำคัญ คือ เสียโอกาสเรียนรู้ที่จะอยู่กับกติกา ฝึกวินัย และฝึกการ “ควบคุมตัวเอง” ด้วยความเข้าใจในเหตุผล
เราอาจจะได้เด็กที่ไม่กล้าเล่นมือถือ (ในระยะสั้นๆ) แต่เราอาจจะได้เด็กขี้กลัว งอแงง่าย และที่เลวร้าย… เด็กที่ “ไม่เชื่อถือผู้ใหญ่” ของตัวเอง
อย่าทำเลยนะคะ… ปรับที่ “ตัวเอง” ช่วยลูกเรื่องการฝึกวินัย อาจไม่ง่าย… แต่ยั่งยืนกว่าเยอะ
จากตัวอย่างทัศนคติของพ่อแม่เพียงสองเรื่อง ที่แม้ว่าเป็นตัวอย่างเพียงเล็กน้อย กับตรรกะที่ว่า ก็เคยถูกเลี้ยงมาแบบนี้ ไม่เห็นเป็นไรนั้น ก็สามารถชี้ให้บรรดาคุณพ่อ คุณแม่ได้เห็นเพียงพอแล้วละว่า การยึดถือตรรกะที่ทำตามต่อ ๆ กันมา คงไม่ใช่ทัศนคติของพ่อแม่ที่ดีต่อการดูแลลูก ของเราเป็นแน่ ปัจจัยเรื่องบริบท ยุคสมัย และความคิดอ่านของเด็กรุ่นใหม่ กับรุ่นพ่อแม่อย่างเรา ๆ คงไม่สามารถนำมาเทียบเคียงใช้หลักการเดียวกันได้เสมอไป ที่สำคัญคำว่า “ไม่เห็นเป็นไร” แท้จริงแล้ว มันไม่ก่อปัญหาแก่ลูกจริง ๆ หรือว่าเป็นเพียงการฝังรากของปัญหาแห่งพฤติกรรมแก่ลูกในอนาคตกันแน่
อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก
5 เทคนิค ตามใจลูก [สร้างวินัยเชิงบวก] ฝึกลูกคิดเป็น มีความรับผิดชอบ
พ่อแม่รังแกลูก ไม่รู้ตัว “บาป 14 ประการ” ข้อคิดเตือนใจจากท่านว. วชิรเมธี
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่