รับมืออย่างไรเมื่อลูกทำผิดซ้ำๆ ประจาน ให้จำหรือซ้ำแผลใจลูก - Page 2 of 2 - Amarin Baby & Kids
ประจาน ให้จำ เมื่อ ลูกทำผิดซ้ำ ๆ

รับมืออย่างไรเมื่อลูกทำผิดซ้ำๆ ประจาน ให้จำหรือซ้ำแผลใจลูก

Alternative Textaccount_circle
event
ประจาน ให้จำ เมื่อ ลูกทำผิดซ้ำ ๆ
ประจาน ให้จำ เมื่อ ลูกทำผิดซ้ำ ๆ

หยุด “ประจาน” ให้เด็กอับอาย สร้างบาดแผลมากกว่าปรับพฤติกรรม

จิตวิทยาการศึกษา (Educational psychology) เป็นวิชาที่พูดถึงธรรมชาติการเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตจากการวางเงื่อนไข ทั้งการได้รับรางวัล และการลงโทษ โดยยกตัวอย่างการทดลองการวางเงื่อนไขที่โด่งดัง ที่นักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซียสามารถคว้ารางวัลโนเบลในปี ค.ศ.1904 ในการวางเงื่อนไขกับสุนัข เมื่อนำถาดอาหารมาวางไว้ข้างหน้ามันพร้อมกับสั่นกระดิ่งไปพร้อม ๆ กัน ทำแบบนี้ซ้ำหลาย ๆ ครั้ง ก็จะพบว่าในครั้งถัด ๆ ไป เมื่อสั่นกระดิ่งเพียงอย่างเดียว สุนัขก็น้ำลายไหล แม้ว่าจะไม่มีถาดอาหารวางอยู่ข้างหน้าก็ตามแต่ เนื่องจากสุนัขเกิดการเรียนรู้ว่า เมื่อมีเสียงกระดิ่งก็จะได้รับอาหาร

หรืออีกการทดลองของ บี เอฟ สกินเนอร์ (B. F. Skinner) ในการทดลองที่ชื่อว่า “กล่องของสกินเนอร์ (Skinner box)” ที่ปล่อยให้นหนูใช้ชีวิตอยู่ในกล่องที่ถูกออกแบบมาเป็นอย่างดี มีแป้นกดที่สามารถขยับได้ข้างในกล่อง ในช่วงแรก เมื่อหนูเผลอไปเหยียบแป้นกด อาหารจะร่วงลงมาตามช่อง เมื่อเกิดเหตุการณ์นี้ซ้ำ ๆ เข้า หนูจึงเกิดการเรียนรู้ว่าถ้าเมื่อใดที่หิว ก็จะรีบวิ่งมาเหยียบที่แป้นกดภายในกล่อง และเมื่อสังเกตพฤติกรรมของหนูเรื่อย ๆ ก็จะพบว่ามันเดินมาเหยียบที่แป้นกดถี่ขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ แสดงให้เห็นว่าหนูเรียนรู้ที่จะเหยียบแป้นกดเพื่อหาอาหาร

แต่ในช่วงหลังของการทดลอง สกินเนอร์ได้เปลี่ยนผลจากการเหยียบแป้นกดจากอาหารให้กลายเป็นกระแสไฟฟ้าที่ไหลเวียนผ่านซี่เหล็กบริเวณพื้นของกล่อง ผลปรากฏว่าหนูเลือกที่จะเหยียบแป้นกดน้อยลง และเมื่อเวลาผ่านไปก็จะไม่เหยียบแป้นกดอีกต่อไป เพราะทนต่อความเจ็บปวดจากการโดนกระแสไฟฟ้าช็อตไม่ไหว แสดงให้เห็นว่าหนูหลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้ตนเองเจ็บปวด

ลูกทำผิดซ้ำ ๆ อาจกำลังเรียกร้องความสนใจ
ลูกทำผิดซ้ำ ๆ อาจกำลังเรียกร้องความสนใจ

จากการทดลองทั้งสอง ซึ่งเป็นแนวคิดในแนวทางเดิม (Traditional psychology) ที่ต้องการจะควบคุมพฤติกรรมของคน แนวทางโดยส่วนมากของ Traditional psychology นั้นจะมุ่งเน้นไปที่การ “Focus on what’s wrong” หรือการค้นหาพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ และพยายามที่จะทำให้คนแสดงพฤติกรรมนั้นลดลงด้วยการลงโทษ (เช่นเดียวกับการใช้ไฟฟ้าช็อตหนู) เช่น ทำโทษด้วยการตี ว่ากล่าวด้วยถ้อยคำรุนแรง ประจานทั้งที่ตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ เป็นต้น

การประจาน คือ การประกาศความผิดให้รู้กันทั่ว ในบางครั้งผู้ใหญ่อาจทำด้วยความตั้งใจ เช่น การตีเด็กหน้าเสาธง การว่ากล่าวเด็กหน้าชั้นเรียน หรือแม้แต่การพูดประจานแบบไม่ตั้งใจ เช่น การเล่าให้คนอื่นฟังถึงเรื่องที่ลูกทำผิดต่อหน้าลูก การชมลูกคนอื่นแล้วหันมาเปรียบเทียบกับลูกของตัวเอง เป็นต้น การทำโทษในลักษณะให้เกิดความละอายต่อหน้าคนมากมาย การทำโทษเช่นนี้อาจจะไม่รุนแรงทางร่างกาย แต่มีผลกระทบทางจิตใจ เด็กที่ถูกทำโทษด้วยวิธีตีตรา ประจาน หรือข่มขู่อยู่บ่อยๆ เด็กคนนั้นก็จะเติบโตมาด้วยความกลัว ไม่มั่นคงทางจิตใจ

นอกจากจะส่งผลให้สัมพันธภาพระหว่างเด็กกับผู้ใหญ่ไม่ดีแล้ว เด็กอาจจะกลายเป็นคนไม่มั่นใจในตัวเอง อารมณ์ขึ้นๆ ลงๆ โกรธง่าย เสียใจ หวั่นไหว และ เปราะบางกับสิ่งที่เข้ามากระทบ มีความเสี่ยงที่จะมีปัญหาทางจิตใจได้ง่าย เช่น วิตกกังวล ซึมเศร้า หรืออาจจะกลายเป็นคนที่อารมณ์รุนแรงก้าวร้าว และไปทำร้ายจิตใจคนอื่นๆ ต่อไป ที่สำคัญการทำโทษรุนแรง จะให้ผลน้อยลงเรื่อยๆ เมื่อเด็กๆ โตขึ้น และยิ่งทำให้เด็กโกรธ นำมาซึ่งความขัดแย้งที่รุนแรงขึ้นด้วย
เสริมแรงด้วยรางวัล ดีกว่าลดพฤติกรรมไม่ดีด้วยการ ประจาน
เสริมแรงด้วยรางวัล ดีกว่าลดพฤติกรรมไม่ดีด้วยการ ประจาน

แนวคิดใหม่ กับการปรับพฤติกรรม

ทำความรู้จักกับ “PERMA Model”

โมเดลที่ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดบ่อย ๆ ในช่วงเวลาที่ผ่านมา คือ “PERMA model” คิดค้นโดยนักจิตวิทยาเชิงบวก Martin Seligman ซึ่งตีพิมพ์ในหนังสือที่ชื่อว่า Flourish ในปี 2001 ในตัวย่อต่าง ๆ นั้นมีความหมายดังต่อไปนี้

  • P (Positive emotion) หมายถึง อารมณ์เชิงบวก เช่น ความสนุกสนาน ความรู้สึกขอบคุณซาบซึ้ง ความรู้สึกสงบ มีแรงบันดาลใจ มีความหวัง
  • E (Engagement) หมายถึง การรู้สึกมีส่วนร่วมในสิ่งที่ตนเองกำลังทำ เช่น ให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเอง
  • R (Relationships) หมายถึง ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน
  • M (Meaning) หมายถึง การรับรู้ความหมายในสิ่งที่ตัวเองทำ เช่น เราเรียนเรื่องนี้ไปทำไม เหตุใดเราจึงต้องปรับพฤติกรรมของตนเอง
  • A (Achievement) หมายถึง การประสบความสำเร็จในเป้าหมายที่วางไว้ หรือสามารถปรับพฤติกรรมของตนเองได้สำเร็จ

แนวทางนี้ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นแนวทางที่สามารถสร้างการเรียนรู้ให้กับเด็กไปพร้อม ๆ กับบรรยากาศแห่งความสุข ไม่ใช่ความกลัวที่จะถูกจับผิด หรือลงโทษ เด็กจะเรียนรู้ได้ดีในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย และมั่นคง

ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก https://inskru.com/ตามใจนักจิตวิทยา /เข็นเด็กขึ้นภูเขา

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

ครูตีเด็ก ผิดกฎหมายหรือไม่? ตีเด็กอย่างไรไม่ให้ถูกฟ้อง?

time in vs time out คือ การลงโทษอย่างไรให้เหมาะสมกับลูกคุณ!

แนะนำ 10 คุณหมอเด็ก กุมารแพทย์คนเก่งที่คุณแม่วางใจ

ข่าวสะเทือนใจ พ่อลงโทษลูกชายราวกับไม่ใช่คน

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up