เคที่ หยัง และทีมงานจากมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดได้ทำการศึกษาและค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับปฏิกิริยาด้านระบบประสาทของมนุษย์ที่มีผลกับเสียงร้องของเด็ก โดยทำการทดลองจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ใหญ่จำนวนทั้งสิ้น 28 คน โดยมีเงื่อนไขว่าแต่ละคนนั้นจะต้องยังไม่มีลูก หรือไม่เคยเลี้ยงหรือดูแลเด็กมาก่อน และในระหว่างการทดลองนั้นได้ทำการสแกนสมองของกลุ่มตัวอย่างไปด้วย แล้วค่อย ๆ เปิดเสียงต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเสียงร้องของสัตว์ยกตัวอย่างเช่น เสียงร้องของแมว สุนัข รวมไปถึงเสียงร้องของเด็กทารกพบว่า สมองของกลุ่มตัวอย่างนั้นมีปฏิกิริยาสนองตอบโต้กับเสียงร้องของเด็กมากที่สุด จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกที่จะทำให้คนเป็นพ่อเป็นแม่นั้นมีความรู้สึกไวกับเสียงร้องของลูก และการตอบสนองต่อเสียงร้องของลูกของคุณพ่อคุณแม่แต่ละคนนั้นก็แตกต่างกันออกไป
หลายคนที่ไม่เข้าใจก็อาจจะรู้สึกว่ามันเป็นเสียงที่น่ารำคาญ หนวกหู และทำให้รู้สึกหงุดหงิด … จึงมักที่จะเลือกวิธีที่จะทำให้เด็ก ๆ หยุดร้องด้วยการพูดว่า “หยุดร้อง!!” หรือ “หยุดร้องได้แล้ว” หรือ “จะร้องไห้ทำไม” เป็นต้น คำพูดเหล่านี้ไม่ได้ช่วยทำให้เด็กรู้สึกดีขึ้นเลยได้เลยละค่ะ อีกทั้งยังทำให้เด็กรู้สึกแย่กับพ่อแม่อย่างเราได้อีกด้วย
ซึ่งหลายคนก็อาจจะเถียงเป็นนัย ๆ ว่า “ไม่นะ ชั้นพูดลูกก็เงียบนี่! … ลูกเงียบจริงค่ะ แต่!! เป็นแค่ทางกายเท่านั้น ซึ่งทางใจของลูกไม่ได้เงียบตามลงไปด้วย” ทั้งยังทำให้ลูกเสียใจมากกว่าเดิมที่คุณพ่อคุณแม่ของเขาเองไม่เข้าใจ ดังนั้น นี่จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ทีมงานวิจัยรู้สึกกังวลใจกับทางออกที่คุณพ่อคุณแม่บางท่านเลือกใช้จึงอยากจะขอนำเสนอ 11 ประโยค ปลอบใจลูก ดังต่อไปนี้ ที่จะช่วยทำให้ทั้งคุณและลูกรู้สึกดีและเข้าใจกันมากกว่าเดิม
11 ประโยค ปลอบใจลูก ที่พ่อแม่ควรพูดทุกครั้งที่ลูกร้องไห้
- “พวกเราคือทีมเดียวกัน ครอบครัวเดียวกัน เกิดอะไรขึ้นพ่อ/แม่จะช่วยลูกเอง” เป็นประโยคที่ฟังดูง่าย ๆ แต่ก็แฝงไปด้วยความรู้สึกมากมายที่ทำให้ลูกฟังแล้วรู้สึกอุ่นใจ จริงอยู่ที่ลูกอาจจะบอกว่า พวกเขาไม่ต้องการความช่วยเหลือ แต่อย่างน้อยก็ทำให้พวกเขารุ้สึกว่าพวกเขาไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว และไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ตาม ลูกก็ยังมีคุณพ่อคุณแม่อยู่เคียงข้าง
- “พ่อ/แม่เข้าใจ มันยากใช่ไหมจ๊ะ” หากมีคนอื่นพูดกับเราแบบนี้ คุณพ่อคุณแม่รู้สึกอย่างไรบ้างคะ ถ้าไม่ใช่ความรู้สึกสบายใจ ที่มีใครสักคนเข้าใจความรู้สึกของเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากคนที่เรารัก … ลูกเองก็เช่นเดียวกันค่ะ แทนที่พวกเขาจะรู้สึกกลัวว่าจะโดนคุณพ่อคุณแม่ดุที่พวกเขาทำไม่ได้ แต่กลับได้ยินคำพูดที่แสดงความเข้าใจมากกว่าการตำหนิติเตียน เท่านี้ลูกก็มีพลังที่จะสู้และพยายามทำต่อให้สำเร็จได้ไม่ยากแล้วละค่ะ
- “พ่อ/แม่เข้าใจว่าลูกรู้สึกอย่างไร ไม่ต้องกังวลไปจ้ะ ทุกอย่างจะดีขึ้นเอง” เชื่อไหมคะว่า เด็กบางคนไม่สามารถอธิบายออกมาเป็นคำพูดว่า ที่พวกเขาร้องไห้นั้นเป็นเพราะอะไร เด็กบางคนเศร้า เจ็บ โกรธ เสียใจผิดหวัง หรือแม่แต่ดีใจก็ยังร้องไห้เลย ซึ่งลูกไม่เข้าใจหรอกค่ะว่า ความรู้สึกที่เกิดขึ้นในใจของพวกเขานั้นเรียกว่าอะไร … แต่การร้องไห้คือการแสดงออกที่ดีที่สุดที่พวกเขาจะระบายออกมาได้ดีที่สุดแล้วนั่นเอง จึงเป็นหน้าที่ของคุณพ่อคุณแม่ที่จะต้องแสดงความเข้าใจการอาการดังกล่าวของลูกก่อน
- “มันน่าเศร้าจริง ๆ” สำหรับประโยคที่ควรพูดเพื่อ ปลอบใจลูก ได้ดีอีกวิธีหนึ่งก็คือ การคล้อยตามไปกับความรู้สึกของลูกค่ะ บอกกับลูกว่าเรารู้สึกไม่ต่างอะไรไปกับลูกเลย ไม่ว่าจะเป็นความรู้สึกเศร้า เสียใจ หรือแม้แต่ผิดหวัง … เพราะการพูดกับลูกไปเช่นนั้นจะทำให้ลูกรู้สึกว่าพวกเขาไม่ได้ตัวคนเดียว ไม่ได้รู้สึกแบบนั้นเพียงลำพัง ยังมีคุณพ่อคุณแม่ที่รักพวกเขามากที่สุดร่วมมีความรู้สึกเช่นเดียวไปกับเขาด้วย (แต่! การแสดงออกที่ว่านี้จะต้องมั่นใจนะคะว่า ไม่ได้มากจนเกินไป)
- “พักก่อนก็ได้จ้ะ” หากลูกเสียใจ ร้องไห้ในขณะที่ทำกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งละก็ ให้พาลูกออกมาจากตรงจุดนั้นค่ะ พร้อมกับถามลูกด้วยคำพูดที่ดี และมีน้ำเสียงอ่อนโยนว่าที่ลูกกำลังร้องไห้อยู่นั้นเป็นเพราะลูกไม่พร้อมที่จะทำกิจกรรมนั้นใช่ไหมหรือ หากคำตอบของลูกคือใช่ละก็ อย่าฝืนใจลูกค่ะ ให้พูดกับลูกว่า “ไม่เป็นไรจ้ะ หนูยังไม่พร้อมที่จะทำก็พักก่อนก็ได้ พ่อ/แม่เข้าใจ” เป็นต้น