ภาวะเครียด เมื่อเกิดกับลูก หรือคนใกล้ตัว เราจะรับมืออย่างไร พูดแบบไหนไม่กระทบกระเทือน จะช่วยพยุงใจลูกได้อย่างไร มาฟังพร้อมดูแลให้เขาผ่านไปได้
ภาวะเครียด ในเด็กมีจริงไหม?เมื่อลูกเครียดรับมืออย่างไร?
กดดัน ผิดหวัง เกิดการเปลี่ยนแปลงในชีวิต เรื่องธรรมดาที่พ่อแม่ไม่อยากให้เกิดกับลูก แต่เราไม่สามารถหยุดโลกได้ ดังนั้นเมื่อพบเจออาการของลูกที่อยู่ใน ภาวะเครียด วิตกกังวล สับสน งุนงง หวั่นไหว เซ็ง เบื่อ เศร้า เสียใจ หงุดหงิด ขอให้พ่อแม่รับรู้ไว้เป็นเรื่องธรรมดาที่ลูกจะรู้สึก เราเรียกภาวะอาการเหล่านี้ว่า “ปฎิกิริยาการปรับตัวปกติของจิตใจ” (Adjustment reaction /Normal reaction)
ภาวะเครียด แบบปกติ เป็นสัญญาณเตือนภัยของมนุษย์!!
อาการแสดงความกังวลใจ วิตกกังวล เครียด กดดัน ทำไมถึงกล่าวว่าเป็นเรื่องปกติ เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นกลไกป้องกันตัวเองของมนุษย์อย่างหนึ่ง เป็นการเตรียมจิตใจให้พร้อมรับสถานการณ์ที่กำลังรู้สึกไม่ชอบมาพากล ในทางตรงข้ามถ้าเจอเรื่องแย่ๆ หนักๆ กดดันแต่ไม่รู้สึกอะไรเลย อาจเป็นเรื่องแปลกมากกว่า
เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น…
จิตใจกำลังเตือนให้เราเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ที่รู้สึกว่าถูกคุกคาม ต่อความสุข ความสบาย ความมั่นคงในชีวิตของเรา ความกลัว ความกังวล คือ สัญญาณเตือนภัยชั้นดี ที่จะคอยเตือนให้เราเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ ลองมองอีกด้าน คือ ในทางตรงข้าม เมื่อเจอสถานการณ์ที่กำลังจะแย่การชิล หรือ ใจเย็น มากไป อาจทำให้เราไม่เตรียมพร้อมกับอะไรเลย ซึ่งอาจทำให้เราดูแล แก้ไข สถานการณ์ต่างๆได้ไม่ทันเหมือนรู้ตัวอีกทีก็สายเสียแล้ว ดังนั้นเมื่อมีเหตุการณ์เลวร้ายข้างนอกมากระทบจิตใจที่อยากปกป้องดูแลตัวเรา จึงทำงานทันที เกิดปฏิกิริยาที่ตื่นตัวขึ้นมากกว่าปกติทั้งทางร่างกายและจิตใจ
เมื่อลูกมีความเครียด เราควรดูแลเขาอย่างไร ?
1. รับฟังปัญหาที่เกิดกับเขาอย่างใส่ใจ
เด็กก็เหมือนผู้ใหญ่ เวลาเราทุกข์ใจ เครียด เราต้องการแค่ใครสักคนที่ใส่ใจรับฟังเรา อยู่เคียงข้างเรา ไม่ได้ต้องการคำสั่งสอน หรือแนวทางแก้ปัญหาในทันทีขณะนั้น เมื่อเราได้ระบาย ให้เวลากับจิตใจได้ปรับตัว เมื่อใจพร้อม แนวทางแก้ปัญหาเหล่านี้จะค่อย ๆ คิดได้เอง ซึ่งในการรับฟังนี้ จะช่วยให้คลายทุกข์ในใจลงไปได้มากโขทีเดียว หลาย ๆ คนบอกว่าความทุกข์ลดลงไปเกินครึ่งเลยทีเดียว
2. เปิดใจที่จะเข้าใจเขา
แม้ว่าแนวคิดของลูก บางครั้งพ่อแม่อาจไม่เห็นด้วย การเปิดใจ และ วางการตัดสินลงเป็นสิ่งสำคัญ อย่าเพิ่งรีบด่วนตัดสิน ประเมินลูกในช่วงเวลาที่เขากำลังท้อแท้ หรือ เครียดนี้ เมื่อเราเปิดใจแล้วเราจะเข้าใจเขา และปัญหาที่เกิดกับลูกได้มากขึ้น ขั้นตอนความเข้าใจเป็นสิ่งสำคัญมาก เราไม่สามารถดูแลใครได้ดีเลยถ้าปราศจากความเข้าใจ
3. ให้คำแนะนำที่เหมาะสม
คำแนะนำที่เหมาะสม คือ คำแนะนำที่มาจากความเข้าใจ ทั้งเข้าใจในตัวลูก และปัญหาในแบบที่ลูกเข้าใจด้วยเช่นกัน พ่อแม่บางคนนำประสบการณ์ หรือความเข้าใจของตัวเอง มาเป็นตัวตัดสิน ทำให้ขาดความเข้าใจในจิตใจที่เด็กเผชิญในแบบเด็ก ๆ จึงอาจทำให้คำแนะนำ สั่งสอนที่ให้แก่ลูกไปในช่วงเวลานั้น ๆ ไม่เหมาะสม ดังนั้นจึงไม่ควรรีบแนะนำ ก่อนที่จะเข้าใจปัญหาที่แท้จริง เพราะ จะยิ่งทำให้รู้สึกแย่ มากกว่าจะรู้สึกดี
4. ให้กำลังใจ โดยการชี้ให้เขาเห็นศักยภาพในตัวเขา
การที่เด็กมีความเชื่อมั่นในตนเอง จะทำให้เขาสามารถเผชิญต่อปัญหานั้น ๆ ได้ดีพอ
แนวทางการพูดคุยกับลูก เมื่อลูกอยู่ใน ภาวะเครียด
ปัญหาของแต่ละคนย่อมแตกต่างกันไป แต่แนวทางในการพูดคุยกับลูกเมื่อเครียด คุณพ่อคุณแม่สามารถปรับใช้ให้เข้ากับสถานการณ์ในแบบของตัวเองได้
- มองว่าปัญหาเป็นเรื่องปกติ ในโลกนี้มีปัญหาอยู่ 2 แบบ
- แบบที่แก้ไขด้วยตัวเราได้ เราสามารถบอกให้ลูกค่อย ๆ แยกแยะปัญหา เพื่อให้มองเห็นปัญหาได้ชัดเจนขึ้น เพื่อนำไปสู่การคิดวิธีแก้ปัญหา และเมื่อได้วิธีแล้ว ก็ทำให้เต็มที่ให้ดีที่สุดตามกำลังความสามารถของเราที่มี หากยังพลาดหวังก็ต้องปล่อยวาง ยอมรับ
- แบบที่แก้ไขด้วยตัวเราไม่ได้ เพราะอยู่นอกเหนืออำนาจการจัดการหรือการควบคุมแล้ว แนะนำว่า ให้ลูกฝึกปล่อยวาง หันไปทำอย่างอื่นเสียบ้าง คิดไปก็เครียด และไม่สามารถทำอะไรให้ดีขึ้นกว่านี้ได้ เพราะเราไม่สามารถจัดการอะไรได้แล้ว
- ท่าทีของคุณพ่อคุณแม่สำคัญ แม้ว่าเราอาจจะผิดหวังเช่นกันก็ตาม แต่ต้องระมัดระวังความคาดหวัง และท่าทีของพ่อแม่ให้ดี เพราะเด็กส่วนมากที่พบเจอมักจะเครียด หรือเสียใจ ในส่วนของการที่ทำให้พ่อแม่ผิดหวังมากกว่า ผลสำเร็จของการกระทำนั้น ๆ มากกว่า
- ถ้ารู้สึกเครียด จนสังเกตเห็นได้ว่าลูกมีอาการที่ไม่ปกติเสียแล้ว แสดงให้เห็นว่าเขาอาจจะรับมือไม่ไหว แนะนำให้พบผู้เชี่ยวชาญ เช่น จิตแพทย์ ก็เป็นทางออกหนึ่งที่ช่วยได้
อ่านต่อ>> ภาวะเครียด ในเด็กสังเกตอย่างไร รับมือให้ไวก่อนสาย คลิกหน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่