เมื่อคอนเทนต์สำคัญกว่าอนาคตเด็ก แกล้งเด็ก หลอกผีบน Tiktok ติดเทรนด์ฮิตใคร ๆก็ทำกัน แต่รู้ไหมผลร้ายเกิดแก่ลูกคุณ พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจพังเพียงเพื่อให้สนุก
ฟิลเตอร์ แกล้งเด็ก หลอกผีอย่าหาทำ! ลูกขี้กลัวจนป่วยได้
หลอกให้ลูกกลัว ไม่ว่าจะเป็นการหลอกของพ่อแม่ เพื่อหวังผลให้ลูกทำตาม จัดการกับความดื้อซนของลูก เช่น ถ้าดื้อ…เดี๋ยวให้หมอฉีดยาเลย เดี๋ยวให้ตำรวจมาจับไป เดี๋ยวผีจะมาหลอก เป็นต้น เป็นวิธีที่พ่อแม่ส่วนใหญ่มักใช้ เพราะสามารถทำให้สถานการณ์บางอย่าง โดยเฉพาะสถานการณ์เฉพาะหน้าที่พ่อแม่ไม่สามารถควบคุมลูกได้ ให้ผ่านพ้นไปได้ และได้ผลรวดเร็ว
ในสังคมปัจจุบัน ที่โลกสื่อสารกันด้วย สื่อโซเซียล ไม่ว่าจะเป็น Facebook Tiktok Line Instragram และช่องทางอื่น ๆ ที่นับวันจะเพิ่มมากขึ้น และที่สำคัญมีลูกเล่น ฟิลเตอร์ และเทรนฮิต มากมาย ที่ถูกใจคนเล่น เพราะได้รับผลตอบรับแทบจะทันที ที่เราสื่อสารออกไป ทำให้ไม่ว่าผู้ใหญ่ วัยรุ่น เด็กเล็ก เด็กโต หรือแม้แต่ผู้สูงอายุ ยังมี account เป็นของตนเอง
คอนเทนต์ คืออะไร?
คอนเทนต์ คือ สาร ที่ผู้ส่งสารต้องการส่งไปยังผู้รับสารในรูปแบบต่างๆ เช่นคลิปวิดีโอ คลิปเสียง รูปภาพ อินโฟกราฟิก นิทาน เพลง ฯลฯ อาจเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือใช้หลายอย่างรวมกัน เพื่อสื่อให้ผู้รับสารเข้าใจตรงกันกับเรา
การสร้างคอนเทนต์ จึงเป็นสิ่งที่ต่างคนต่างคิดหาวิธีให้มีคอนเทนต์ที่มีผู้คนสนใจยิ่งมีจำนวนมากยิ่งดี จึงมีเทรนด์ฮิตแปลก ๆ ทั้งน่าสนใจบ้าง และไม่น่าสนใจ หรือบางเทรนด์ออกไปในแนวอันตรายบ้าง เช่นในเทรนด์ฮิต tiktok ที่ใช้ฟิลเตอร์ผีหลอกถ่ายคลิปกับเด็กเล็ก ให้เด็กดูหน้าจอแล้วผู้ใหญ่จะวิ่งหนีออกจากห้อง โดยทิ้งเด็กไว้ในห้อง ภาพก็จะมืดลง แล้วผีก็จะโผล่ออกมา แกล้งเด็ก ให้เด็กกลัวจนร้องไห้ สร้างความสนุกสนานกับผู้รับชม
สร้างรอยบาดแผลเด็ก บนความสนุก!!
จากกรณีดังกล่าว เพจดังอย่าง Drama addict ได้แสดงความห่วงใย พร้อมทั้งยกคำแนะนำของคุณหมอมาฝากไว้ให้คิดกัน ดังนี้
ฟิลเตอร์ผีหลอกที่นิยมกันใน tiktok ตัวนี้ในบ้านเราจะฮิตใช้ถ่ายคลิปกับเด็กเล็ก โดยให้เด็กดูหน้าจอ แล้วพอฟิลเตแร์ทำงาน ผู้ใหญ่จะวิ่งหนีออกจากห้อง ทิ้งเด็กไว้ในห้อง แล้วภาพก็จะมืดลง และมีผีตัวนี้โผล่ออกมา บางคลิปเด็กกลัวจนร้องไห้เลย
บ้านไหนทำงั้นกับเด็กๆ ขอให้ระวัง “การปลูกฝังความกลัวโดยไร้เหตุผล”ซึ่งแลกมาด้วยพัฒนาการทางอารมณ์ของเด็กที่ถดถอยอย่าเห็นแก่การทำคอนเท้นท์ลงโซเชี่ยล โดยเอาเด็กมาเสี่ยงแบบนั้นครับhttps://www.babybbb.com/article_detail.php?nid=530แต่สิ่งหนึ่งที่ฝังลงไปในความรู้สึกของลูก คือ ‘ความรู้สึกกลัวอย่างไร้เหตุผล’ ในขณะที่ เหตุผล คือสิ่งที่พ่อแม่ต้องปลูกฝังลูกตั้งแต่วัยนี้ด้วยเช่นกันเพื่อให้เขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีเหตุผลและมีสมดุลทางอารมณ์ ดังที่ ศ. เกียรติคุณ พญ.ชนิกา ตู้จินดา ได้เคยบอกไว้ว่า
“ในบรรดาความรู้สึกต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อความเข้มแข็งของเด็กคือความกลัว (FEAR) ซึ่งก่อให้เกิดความไม่มั่นคงในจิตใจ ว้าวุ่น หวาดกลัว ไม่มั่นใจในตัวเอง และพาลเป็นผลเสียต่อสุขภาพ จึงต้องพยายามเลี้ยงลูกอย่าให้เป็นคนขลาด กลัวอะไรโดยไม่มีเหตุผล”ดังนั้นการหลอกให้ลูกกลัวอย่างไร้เหตุผล หรือกลัวในสิ่งที่ไม่จำเป็นต้องกลัว จึงเป็นเสมือนการตอกย้ำให้พัฒนาการทางด้านอารมณ์จิตใจของลูกย่ำอยู่กับที่ ซึ่งแน่นอนว่าไม่มีพ่อแม่คนไหนต้องการให้เป็นเช่นนั้นผลจากการถูกหลอกให้กลัว…อย่างไร้เหตุผลแน่นอนว่า ความกลัวอย่างไร้เหตุผล ส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านอารมณ์และจิตใจของลูกโดยตรง โดยเฉพาะลูกวัยที่จินตนาการกำลังเบ่งบาน ทำให้เมื่อไรที่เขารู้สึกกลัว ความกลัวนั้นจะฝังแน่นในความรู้สึกมากกว่าผู้ใหญ่หลายเท่า และด้วยความอ่อนด้อยประสบการณ์ ทำให้การใช้เหตุผลของลูกยังไม่ดีพอ โอกาสที่ดีกรีความกลัวจะพลุ่งพล่านจึงมีมากขึ้นหากเราหลอกให้ลูกกลัวอย่างไร้เหตุผล ความกลัวนี้จะติดไปจนกระทั่งเขาโต และกลายเป็นผู้ใหญ่ที่กลัวในสิ่งที่ไม่น่าจะกลัว เช่นเดียวกับที่ศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า“เป็นการสร้างนิสัยให้เด็กขาดการใช้ความคิดไตร่ตรอง ใคร่ครวญหาความจริงด้วยเหตุผล ทำให้เสียบุคลิกภาพ ยิ่งไปกว่านั้น หากลูกมีความกลัวอย่างรุนแรง เมื่อต้องอยู่ในภาวะเช่นนั้นนาน ๆ อาจทำให้เกิดอาการทางประสาทได้ เช่น เด็กที่กลัวความมืด หากให้อยู่ในห้องมืดคนเดียว จะเกิดความเครียด นอนไม่หลับในเวลากลางคืน หัวใจจะเต้นเร็ว ในสมองจะจินตนาการไปต่าง ๆ นานา และสามารถหวีดร้องได้เมื่อใบไม้ใบหนึ่งปลิวมาปะทะหน้าต่าง ทั้ง ๆ ที่ในความมืดนั้นไม่มีอันตรายแต่อย่างใด ดังนั้น การช่วยให้เด็กเลิกกลัวอย่างไม่มีเหตุผลจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะจะช่วยพัฒนาการใช้เหตุผลของเด็ก ให้รู้จักคิดใคร่ครวญ พิสูจน์ความจริงก่อนตอบสนอง เมื่อเติบโตขึ้นก็จะเป็นคนที่มีเหตุผล ไม่กลัวสิ่งใดง่าย ๆ ทั้งเป็นการช่วยทำให้เด็กไม่หลงเชื่อสิ่งใดอย่างง่าย ๆ เพียงเพราะรู้สึกกลัวอย่างไม่มีเหตุผล”ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก www.facebook.com/DramaAdd
หลอกให้เด็กกลัวอย่างไร้เหตุผล จะเกิดผลเสียอย่างไร?
โรคกลัวของเด็กเป็นความผิดปกติ ทางจิตเวชจัดอยู่ในกลุ่มโรควิตกกังวล ซึ่งเด็กจะมีอาการกลัวสิ่งของหรือสถานการณ์บางอย่างมากเกิน กว่าปกติ และเป็นความกลัวที่ค่อนข้างจะไม่สมเหตุสมผล ถึงเด็กจะรู้ตัวแต่ก็ไม่สามารถหยุดความกลัวได้ เมื่อต้องเผชิญหน้ากับความกลัวพวกเขาจะพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อหลีกเลี่ยงสถานการณ์
เมื่อพ่อแม่ได้ทราบถึงผลเสียของการ แกล้งเด็ก ให้กลัว จนลูกอาจเกิดอาการวิตกกังวลได้แล้ว พร้อมกันนี้เราได้นำบทความของ พญ.ชนม์นิภา แก้วพูลศรี แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชศาสตร์ สาขาจิตเวชเด็กและวัยรุ่น ศูนย์สุขภาพเด็ก โรงพยาบาลพญาไท 2 มาฝากกัน เพื่อให้พ่อแม่ได้เฝ้าระวังไม่ให้เกิดสถานการณ์ที่ฝังใจลูกได้
ความวิตกกังวลของเด็ก แบ่งเป็น”โรค”อะไรได้บ้าง
ความวิตกวังกลในเด็กสามารถเกิดขึ้นได้จากหลากหลายสาเหตุ ลักษณะอาการที่ปรากฏอาจแสดงออกมา ในรูปแบบอารมณ์หงุดหงิด ปวดหัว ปวดท้อง ซึ่งบางครั้งเด็กเองก็ไม่สามารถอธิบายให้เข้าใจได้ว่ามีสาเหตุมาจากเรื่องอะไร การรักษาอาจรักษาด้วยยา หรือปรับความคิดของเด็ก เช่น ให้เด็กรู้อารมณ์ตนเองที่เกิดขึ้นว่าคืออารมณ์อะไร ความรุนแรงของอารมณ์ที่เกิดขึ้นมีมากน้อยแค่ไหน เพื่อฝึกจัดการความคิดในเรื่องที่สามารถจัดการได้ ช่วยให้เด็กลดความกังวลลง
โรคกลัวการเข้าสังคม
เป็นความกังวลเกี่ยวกับการเข้าสังคม กลัวการวิพากย์วิจารณ์ของคนอื่น หรือกลัวว่าจะมีการแสดงออกที่เป็นที่หน้าอายต่อคนอื่น ทำให้เด็กเกิดการเก็บตัว ไม่อยากออกไปพบผู้อื่น หรือไม่กล้าแสดงออกต่อหน้าผู้คน บางครั้งผู้ปกครองอาจมองว่าเด็กขี้เกียจหรือขี้อาย ไม่กล้าแสดงออก
เทคนิคการรักษา : ผู้ปกครองควรฝึกให้เด็กรับรู้ว่าสิ่งที่เขาคิดอยู่เป็นเพียงความวิตกกังวล ชี้นำให้เห็นถึงข้อดีและข้อเสียที่เกิดขึ้นจากความกังวล ทำให้เด็กเห็นถึงประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นจากการเผชิญหน้ากับสิ่งที่เด็กรู้สึกกลัว สอนให้เด็กจัดลำดับความกลัว และสอนวิธีการรับมือกับความกลัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปจากน้อยสุดไปมากสุด หรืออาจมีการใช้ยารักษาร่วมด้วย
โรค selective mutism หรือการไม่ยอมพูดในบางสถานการณ์
เด็กจะไม่พูดในบางสถานการณ์หรือเวลาอยู่กับบุคคลที่ไม่คุ้นเคย แต่สามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้ปกติ และสามารถพูดได้ปกติเมื่ออยู่กับบุคคลที่คุ้นเคย เช่น สมาชิกในครอบครัว
เทคนิคการรักษา : ผู้ปกครองควรสร้างแรงจูงใจให้เด็กเห็นถึงข้อดีและข้อเสียของการพูดคุยกับคนที่ไม่คุ้นเคย โดยการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเด็ก อาจเริ่มจากการให้เด็กทำท่าทางแสดงออกตอบสนองเวลาสื่อสาร เช่น การพยักหน้า ส่ายหน้า แสดงออกทางสีหน้า และชมเชยเมื่อเด็กมีการตอบสนองที่ดี แต่หากเด็กมีอาการเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าหรือโรคอื่นๆ อาจต้องมีการใช้ยารักษาร่วมด้วย
โรคแพนิก (panic disorder)
ภาวะตื่นตระหนกของร่างกาย เช่น ภาวะใจสั่น เหงื่อแตก คลื่นไส้ มึนหัว เจ็บหน้าอก ซึ่งเป็นอาการที่เกิดขึ้นอย่างทันทีทันใด หรือเกิดขึ้นค่อนข้างเร็วภายในเวลาไม่เกิน 10 นาที จนทำให้เกิดความวิตกกังวลอย่างมากและเด็กเกิดความกลัว
เทคนิคการรักษา : ผู้ปกครองต้องทำความเข้าใจกับเด็กว่าอาการที่เกิดขึ้นเป็นอาการแพนิก ซึ่งไม่ได้เป็นอาการที่รุนแรงหรืออันตรายแก่ชีวิต ลักษณะของอาการสามารถเกิดขึ้นซ้ำได้โดยไม่มีสาเหตุ แต่ในช่วงหลังๆ ของอาการอาจเกิดขึ้นได้จากการมีสิ่งกระตุ้น เช่น ความเครียดที่สะสมโดยไม่รู้ตัว อาการดังกล่าวเป็นสิ่งที่ไม่สามารถควบคุมได้ จนบางครั้งอาจทำให้เด็กเกิดความกังวลจนไม่กล้าเข้าสังคมได้ นอกจากการทำความเข้าใจอาการและสาเหตุแล้ว อาจจะต้องใช้การรักษาด้วยยาร่วมด้วย
อ่านต่อ>> แกล้งเด็กไม่ใช่เอ็นดู ส่งผลเสียต่อพัฒนาการลูกอย่างไร คลิกหน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่