ดูทีวี ก่อน 2 ขวบ เสี่ยงลูกมีพัฒนาการช้า สมาธิสั้น จริงหรือมั่ว แค่การดูทีวี หน้าจอของเด็กจะส่งผลกระทบรุนแรงต่อลูกจริงหรือ มาร่วมหาคำตอบกัน
จริงหรือมั่ว? ดูทีวี ก่อน 2 ขวบ ลูกพัฒนาการสะดุด!!
ในยุคแห่งเทคโนโลยี ที่เต็มไปด้วยของสมาร์ท หน้าจอแสดงผล และความรวดเร็วว่องไวของข้อมูลข่าวสาร จะเป็นไปได้หรือ หากเราต้องกีดกันเด็กออกจากสิ่งเหล่านี้??
พ่อแม่หลาย ๆ คนคงเคยได้ยินคำกล่าวเตือน ห้ามไม่ให้เด็กวัยก่อน 2 ขวบ ดูทีวี หรือหน้าจอ จะส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของเด็กได้ แต่เราก็มักจะประสบกับปัญหาที่ว่า “แต่ลูกของฉันชอบดู” แล้วเหตุนี้เราจะเชื่อ และทำเช่นไรกันดี??
เด็กชอบดูทีวีจริงหรือ!!
ทารกอาจจ้องมองที่สีสดใสและการเคลื่อนไหวบนหน้าจอ แต่สมองของพวกเขาไม่สามารถเข้าใจ หรือสื่อความหมายจากภาพที่เคลื่อนไหวรวดเร็วเหล่านั้นได้
สิ่งที่ทารกและเด็กวัยเตาะแตะต้องเรียนรู้มากที่สุดคือการมีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง นั่นไม่ได้หมายความว่าพวกเขาไม่ควรสนทนาทางวิดีโอกับปู่ย่าตายายหรือผู้ปกครองที่อยู่ห่างไกล แต่เมื่อพูดถึงการเรียนรู้ในแต่ละวัน พวกเขาจำเป็นต้องสัมผัสสิ่งของ เขย่า โยน และที่สำคัญที่สุดต้อง ได้เห็นหน้าและได้ยินเสียงของคนที่ตนรักที่สุด
ดูทีวี อันตรายอย่างไร??
อย่างที่เราทราบกันดีว่า เด็กทารก และเด็กวัยเตาะแแตะไม่ได้อะไรจากการดูทีวี เพราะเขายังไม่เข้าใจความหมาย เขาเพียงแต่ชอบสีสัน ความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วไปมา จึงทำให้เราเห็นว่าเด็กชอบดูทีวี แถมยังเป็นตัวช่วยที่ดีในมื้ออาหารเย็น ทำให้พวกเด็ก ๆ นั่งได้นิ่ง ๆ นาน ๆ และคอยป้อนข้าวได้ชามโต ๆ ใช่ การดูทีวีดีกว่าการอดอาหาร แต่ก็แย่กว่าการไม่ดูทีวี หลักฐานที่ดีบ่งชี้ว่าการดูหน้าจอก่อนอายุ 18 เดือนมีผลเสียระยะยาวต่อพัฒนาการทางภาษา ของเด็ก ทักษะการอ่าน และความจำระยะสั้น นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับและความสนใจ
หาก“คุณเป็นในสิ่งที่คุณกิน You are what you eat” สมองก็เป็นสิ่งที่คุณสัมผัส และคลิป วิดิโอบันเทิงก็เหมือนกับอาหารขยะทางจิตใจสำหรับทารกและเด็กเล็ก
ปัญหาไม่ได้เกิดจากสิ่งที่เด็กดู แต่เกิดจากสิ่งที่เด็กอดทำเมื่อดูทีวีต่างหาก!! เด็ก ๆ ถูกตั้งโปรแกรมให้เรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น การเรียนรู้ความหมายของสีหน้า น้ำเสียง ภาษากาย และการใช้ภาษา เด็กวัยหัดเดินเรียนรู้มากขึ้นจากการทุบกระทะบนพื้นในขณะที่คุณทำอาหารเย็นมากกว่าที่เขาเรียนรู้จากการดูหน้าจอในระยะเวลาที่เท่ากัน แต่เมื่อเด็ก หรือพ่อแม่ดูทีวี โอกาสในการปฎิสัมพันธ์กันก็จะหยุดลง หรือน้อยลง โดยปกติพ่อแม่จะพูดประมาณ 940 คำต่อชั่วโมงเมื่ออยู่กับลูก แต่เมื่อเปิดโทรทัศน์ ตัวเลขนั้นลดลง 770 คำ คำพูดที่น้อยลงหมายถึงการเรียนรู้ที่น้อยลงด้วย แค่เปิดทีวีทิ้งไว้โดยที่”ไม่มีใครดู” ก็เพียงพอแล้วที่จะทำให้พัฒนาการทางภาษาล่าช้า
วัยเตาะแตะยังเรียนรู้ที่จะมีสมาธิ ให้ความสนใจเป็นระยะเวลานาน และวัยเตาะแตะที่ดูทีวีมากขึ้นมักจะมีปัญหาในการให้ความสนใจเมื่ออายุได้ 7 ขวบ รายการวิดีโอมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา น่าสนใจตลอดเวลา และแทบไม่เคยบังคับให้เด็กต้องรับมือกับสิ่งที่น่าเบื่อ
ผลกระทบจากการดูทีวี
มีงานวิจัยที่พบว่า เนื้อหาบางประเภทในทีวี โดยเฉพาะเนื้อหาที่มีความรุนแรง อาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กเล็กได้ และยิ่งใช้เวลาในการดูทีวีมากเท่าไรก็ยิ่งส่งผลเสียมากขึ้นเท่านั้น โดยผลกระทบที่เด็กอาจได้รับจากการดูทีวีหรือสื่อดิจิทัลต่าง ๆ มีดังนี้
- มีพัฒนาการทางภาษาล่าช้า การสื่อสารและการโต้ตอบกับผู้ใหญ่เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาของเด็ก แต่การดูทีวีอาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการในด้านนี้ของเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 2 เดือนไปจนถึง 4 ปี เพราะระหว่างที่เปิดทีวี ผู้ใหญ่จะพูดคุยกับเด็กน้อยลง อีกทั้งทีวียังดึงดูดความสนใจของเด็กไปจากการเล่นของเล่นหรือการพูดคุยกับพ่อแม่ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ส่งผลดีต่อพัฒนาการของเด็กมากกว่าการดูทีวี ดังนั้น กุมารแพทย์ส่วนใหญ่จึงไม่แนะนำให้เด็กอายุน้อยกว่า 2 ปีดูทีวี และสนับสนุนให้เด็กใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการพูดคุย การเล่น และการทำกิจกรรมร่วมกับพ่อแม่
- ถูกปลูกฝังพฤติกรรมการใช้ความรุนแรง การเห็นภาพความรุนแรงจากทีวี รวมถึงการเล่นเกมหรือแอปพลิเคชั่นที่มีเนื้อหารุนแรง อาจทำให้เด็กได้รับผลกระทบทางอารมณ์ และมีแนวโน้มเกิดพฤติกรรมก้าวร้าวหรือมีมุมมองต่อโลกในแง่ลบได้ นอกจากนี้ อาจทำให้เด็กเกิดความเคยชินจนขาดความเห็นอกเห็นใจต่อเหยื่อที่เผชิญความรุนแรง หรืออาจคิดว่าการใช้ความรุนแรงเป็นวิธีแก้ปัญหาที่ถูกต้อง
- เสี่ยงเกิดโรคอ้วน งานวิจัยชี้ว่าเด็กที่ดูทีวีสัปดาห์ละ 20 ชั่วโมงขึ้นไปเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วนมากกว่าเด็กที่ดูทีวีน้อยกว่าถึง 2 เท่า และอาจทำให้มีมวลไขมันมากขึ้นด้วย เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่ไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกายเท่าที่ควร ทั้งยังทำให้เด็กมีแนวโน้มรับประทานอาหารหรือขนมมากขึ้นในขณะที่ดูทีวีด้วย
- มีปัญหาในการนอนหลับ การดูทีวีอาจทำให้เด็กมีคุณภาพในการนอนแย่ลงหรือนอนไม่หลับ โดยเฉพาะในทารกและเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 3 ปี
- มีผลกระทบต่อการควบคุมตนเอง พฤติกรรมก้าวร้าวหรือการควบคุมตัวเองไม่ได้ในวัยผู้ใหญ่อาจเกี่ยวข้องกับการดูทีวีมากเกินไปในช่วงวัยเด็ก โดยยิ่งเริ่มดูทีวีเร็วเท่าไรก็ยิ่งส่งผลกระทบที่รุนแรงมากขึ้นเท่านั้น
- มีสุขภาพและคุณภาพชีวิตโดยรวมที่แย่ลง มีการศึกษาพบว่าการดูทีวีอาจสัมพันธ์กับการเกิดภาวะอ้วน และเนื้อหาบางประเภทที่ถูกฉายหรือผลิตซ้ำอาจส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้สารเสพติด การดื่มแอลกอฮอล์ โรคสมาธิสั้น ความล้มเหลวทางการศึกษา ความคิด ความเชื่อ และพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม
การปฎิบัติจริง กับการงดหน้าจอลูก!!
อ่านกันมาถึงจุดนี้ พ่อแม่ ผู้ปกครองทั้งหลายคงเห็นด้วยกับวายร้ายหน้าจอก่อน 2 ขวบ ที่เราอาจหยิบยื่นให้แก่ลูกโดยไม่รู้ตัวกันไปแล้ว แต่ในทางปฎิบัติ ตามความเป็นจริงแล้ว เราสามารถให้ลูกห่างจากจอได้มากแค่ไหนกัน พ่อแม่ที่ทำงานนอกบ้าน หรือบางคนทำงานต่างจังหวัด ต้องพึ่งพาให้พี่เลี้ยงเด็ก ปู่ย่าตายาย ช่วยดูแล หรือแม้แต่ว่าเราทำงานกลับมาเหนื่อย ๆ ต้องใช้พลังแค่ไหนกันในการงดหน้าจอลูก งดไม่ให้ลูก ดูทีวี ความท้าทายนี้ ก่อให้เกิดคำถามขึ้นในใจพ่อแม่ว่าจะจัดการอย่างไร แบ่งเวลาอย่างไร แลหากลูกดูทีวี พ่อแม่จะทดแทนเวลาที่ลูกใช้ไปกับหน้าจอได้อย่างไร?
นักจิตวิทยาสื่อ (media psychologist) แนะนำว่า พ่อแม่ควรตั้งเป้าใช้เวลาอยู่หน้าจอกับบุตรหลานสักพักเพื่อให้แน่ใจว่าเนื้อหาเหมาะสมกับเด็ก หลังจากนั้นจึงกำหนดขอบเขตเวลาใช้หน้าจอที่ชัดเจน ก่อนถอยออกมาทำธุระของตัวเอง ทั้งนี้ควรหมั่นกลับมาตรวจสอบความเรียบร้อยของบุตรหลานเป็นระยะ
ที่มา : https://plus.thairath.co.th
โดยธรรมชาติแล้ว เด็กๆ จะเรียนรู้มากขึ้นเมื่อพวกเขาดูทีวีหรือใช้แอพร่วมกับผู้ปกครอง เนื้อหามีความสำคัญมาก เลือกเนื้อหาที่เหมาะสม โปรแกรมที่ให้ความรู้แก่เด็ก ๆ โปรแกรมที่ออกแบบมาเพื่อสอนเด็ก ๆ ในสิ่งที่พวกเขาควรรู้จริง ๆ เช่น ภาษาและคณิตศาสตร์ เป็นต้น
ไม่ว่าเนื้อหาจะเป็นเช่นไร ให้จำกัดเวลาดูทีวีเพื่อความบันเทิงของบุตรหลานไว้ที่ 1 ชั่วโมงต่อวันตั้งแต่อายุ 18 เดือนถึงอายุ 5 ขวบ และจำไว้ว่า ทีวีก็ยังเป็นทีวีไม่ว่าคุณจะดูผ่านหน้าจอทีวี หรือบนโทรศัพท์มือถือ หรือคอมพิวเตอร์
อ่านต่อ >> เคล็ดลับสำหรับพ่อแม่ ในการจัดการการดูทีวีของลูกน้อย คลิกหน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่