จริงหรือมั่ว? ดูทีวี ก่อน 2 ขวบ ลูกพัฒนาการสะดุด!! - Page 2 of 2 - Amarin Baby & Kids
ดูทีวี เด็กดูทีวี อันตรายหน้าจอ

จริงหรือมั่ว? ดูทีวี ก่อน 2 ขวบ ลูกพัฒนาการสะดุด!!

Alternative Textaccount_circle
event
ดูทีวี เด็กดูทีวี อันตรายหน้าจอ
ดูทีวี เด็กดูทีวี อันตรายหน้าจอ

เด็ก ดูทีวี ได้บ่อยแค่ไหน??

สถาบันกุมารเวชศาสตร์แห่งสหรัฐอเมริกา แนะนำให้พ่อแม่จำกัดช่วงเวลาในการดูทีวีของเด็กแต่ละช่วงวัย ดังนี้

  • ทารกที่มีอายุไม่เกิน 18 เดือน ยังไม่ควรเริ่มดูทีวีหรือใช้สื่อดิจิทัลต่าง ๆ ยกเว้นว่าเป็นการพูดคุยสื่อสารกันทางวิดีโอที่มีการโต้ตอบกันกับพ่อแม่หรือคนใกล้ชิด
  •  เด็กที่มีอายุ 18-24 เดือนอาจดูทีวีได้บ้าง
  • เด็กก่อนวัยเรียนที่มีอายุ 2-5 ปี ควรดูทีวีเพียงวันละไม่เกิน 1 ชั่วโมง
  • เด็กโต พ่อแม่ก็ควรจำกัดเวลาการดูทีวีในแต่ละวันไม่ให้มากเกินพอดี รวมทั้งจำกัดเวลาในการเล่นวิดีโอเกม การดูวิดีโอบนอุปกรณ์อื่น ๆ และการใช้สื่อโซเชียลมีเดียต่าง ๆ

โดยในขณะที่ให้ลูกดูทีวีพ่อแม่ควรนั่งดูอยู่ข้าง ๆ เพื่ออธิบายให้เด็กเกิดการเรียนรู้ไปด้วยเสมอ และคอยเตือนไม่ให้เด็กทำตามหากมีตัวละครหรือตัวการ์ตูนที่ทำพฤติกรรมไม่เหมาะสม

หากิจกรรมอื่น ๆ ให้ลูกทำ เช่น อ่านนิทาน
หากิจกรรมอื่น ๆ ให้ลูกทำ เช่น อ่านนิทาน

การมีวินัย!! ช่วยได้

พ่อแม่ไม่จำเป็นต้องห้ามเด็กดูทีวีหรือเล่นโทรศัพท์ เพราะหากเลือกใช้ให้เหมาะสม สื่อเหล่านี้ก็มีประโยชน์ต่อลูกไม่น้อย ดังนั้น พ่อแม่ควรฝึกให้ลูกดูทีวีเท่าที่จำเป็น กำหนดช่วงเวลา ระยะเวลาในการดูทีวี เล่นหน้าจอ ให้เหมาะสม และให้ลูกทำตาม การมีวินัยจช่วยให้ลูกสามารถทำตามได้อย่างไม่รู้สึกอึดอัดใจ และควรเน้นทำกิจกรรมอื่น ๆ ที่มีประโยชน์ โดยเรามีเคล็ดลับในการช่วยจัดการปัญหานี้ ดังนี้

  • วางแผนการใช้เวลาในการดูทีวีในแต่ละวัน ตามฉบับของครอบครัวคุณ

ใช่แล้วที่ว่าเราต้องกำหนดเวลาในการดูทีวี หรือเล่นหน้าจอในแต่ละวันให้ชัดเจน แต่จะจัดสรรเวลาไหน อย่างไร สามารถขึ้นอยู่กับไลฟ์สไตล์ของครอบครัวของคุณ ซึ่งแต่ละบ้านคงมีไม่เหมือนกัน ดังนั้นตารางการจัดสรรเวลาดังกล่าว จึงควรเป็นสมาชิกในครอบครัวที่จะช่วยกันวางตารางเวลา และข้อกำหนดร่วมกัน เช่น ไม่ควรเปิดดูทีวีในระหว่างรับประทานอาหารเย็นและช่วงก่อนนอน หาทำกิจกรรมอย่างอื่นร่วมกันภายในครอบครัวแทนในช่วงเวลานั้น  เช่น เล่นเกมตัวต่อ ต่อจิ๊กซอว์ เล่นบอร์ดเกม หรือให้เด็กช่วยเตรียมอาหารเย็น เป็นต้น

  • ทำให้การดูทีวีเป็นเรื่องยากสำหรับเด็ก

ควรวางทีวีไว้ให้ห่างจากจุดสนใจให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยอาจวางทีวีไว้ในตู้เก็บของและเปิดให้เด็กดูในช่วงสุดสัปดาห์เท่านั้น นำรีโมททีวีไปซ่อน วางทีวีไว้ที่ชั้นบนของบ้าน และไม่ควรมีทีวีอยู่ในห้องนอนของเด็ก เพราะจะทำให้เด็กเปิดดูได้ทุกเมื่อ และเสี่ยงติดการดูทีวีได้สูง

  • นั่งดูไปพร้อม ๆ กัน

เวลาอยู่หน้าจอไม่ควรเป็นเวลาเดียวดายเสมอไป ร่วมกันดู เล่นร่วมกัน และมีส่วนร่วมกับลูกของคุณเมื่อพวกเขาใช้หน้าจอ สิ่งนี้จะส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ความผูกพัน และการเรียนรู้ เล่นวิดีโอเกมกับลูก ๆ ของคุณ ยังเป็นวิธีที่ดีในการเป็นตัวอย่างการมีน้ำใจนักกีฬา และมารยาทในการเล่นเกม อย่าเพียงแค่อยู่ใกล้ ๆ เพื่อตรวจสอบพวกเขา หรือจับผิดพวกเขาเท่านั้น โต้ตอบกับพวกเขา เพื่อให้คุณเข้าใจสิ่งที่พวกเขากำลังทำและเป็นส่วนหนึ่งของมัน ชวนเด็ก ๆ คุยเกี่ยวกับรายการที่ดู ทำให้เด็กได้สื่อสารในขณะที่ดูรายการต่าง ๆ ไปด้วย

  • เลือกเปิดรายการที่เหมาะสม

เลือกรายการทีวี เกม ภาพยนตร์ ละคร หรือแอปพลิเคชั่นใด ๆ ก็ตามที่เหมาะสมกับเด็กและครอบครัว ซึ่งอาจพิจารณาโดยอ่านคำวิจารณ์จากผู้ชมคนอื่น ดูตัวอย่าง หรือทดลองดูเองก่อนเปิดให้เด็กดูพร้อมกัน

  • เลือกดูเฉพาะบางรายการ

พ่อแม่อาจเลือกรายการที่จะดูไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ แล้วเปิดทีวีเมื่อถึงเวลา หรืออัดเทปรายการนั้น ๆ ไว้สำหรับเปิดดูในเวลาที่ต้องการ เมื่อรายการจบแล้วก็ปิดทีวี เพื่อไม่ให้เด็กดูทีวีเพียงเพราะรู้สึกเบื่อ และไม่เปิดทีวีไปเรื่อย ๆ เพราะจะทำให้ระยะเวลาในการดูทีวียาวนานขึ้น

ไม่เปิดทีวีขณะกินข้าว ชวนลูกทำงานบ้าน
ไม่เปิดทีวีขณะกินข้าว ชวนลูกทำงานบ้าน
  • จงเป็นแบบอย่างที่ดี

พ่อแม่สามารถเป็นแบบอย่างที่ดี สอนและเป็นแบบอย่างของความมีน้ำใจ และมารยาทที่ดีทางออนไลน์ จงจำกัดการใช้สื่อของคุณเองด้วย เพราะหากคุณใช้เวลาไปกับหน้าจอมากไม่ต่างกัน จะทำให้คุณไม่พร้อมที่จะมีปฏิสัมพันธ์ กอด และเล่นกับพวกเขา แทนที่จะจ้องที่หน้าจอเพียงอย่างเดียว ลองวางแล้วเชื่อมต่อกับลูกๆ ของคุณให้มากขึ้น

  • ปิดทีวีเมื่อเด็กทำกิจกรรมอื่น ๆ หรือเล่นกับเพื่อน

พ่อแม่ควรงดให้ลูกดูทีวีในขณะที่เด็กเล่นกับเพื่อนหรือทำกิจกรรมอื่น ๆ อยู่ เพื่อให้เด็กจดจ่อกับกิจกรรมตรงหน้า และให้เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนอย่างแท้จริง

  • อย่าใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องปลอบประโลมอารมณ์

สื่อจะมีประสิทธิภาพมากในการทำให้เด็กๆ สงบและเงียบ แต่ไม่ควรเป็นวิธีเดียวที่พวกเขาเรียนรู้ที่จะสงบสติอารมณ์ เด็กต้องได้รับการสอนวิธีระบุและจัดการกับอารมณ์รุนแรง คิดหากิจกรรมเพื่อจัดการกับความเบื่อ หรือสงบสติอารมณ์ด้วยการนั่งสมาธิ หรือพูดคุยเกี่ยวกับวิธีแก้ปัญหา และค้นหากลวิธีอื่นๆ ในการระบายอารมณ์

ข้อมูลอ้างอิงจาก https://www.pobpad.com/https://www.healthychildren.org

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

รวม 11 วายร้าย ทำลายสมองลูก พ่อแม่ไม่ควรละเลย!

ลูกเดินช้า ลูกพูดช้าไปหรือเปล่า? ลองเทคนิคนี้ช่วยได้!!

สัญญาณเตือนสมาธิสั้น 7 ข้อที่พ่อแม่ต้องสังเกต

วิจัยเผย! พื้นที่สีเขียว ช่วยพัฒนาระบบภูมิคุ้มของเด็กให้แข็งแรงได้!

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up