เทคนิคพูดเชิงบวก พูดอย่างไรลูกเชื่่อฟังไม่ ก้าวร้าว - Amarin Baby & Kids
ก้าวร้าว เทคนิคการพูดเชิงบวก

เทคนิคพูดเชิงบวก พูดอย่างไรลูกเชื่่อฟังไม่ ก้าวร้าว

Alternative Textaccount_circle
event
ก้าวร้าว เทคนิคการพูดเชิงบวก
ก้าวร้าว เทคนิคการพูดเชิงบวก

ก้าวร้าว อารมณ์ฉุนเฉียวของเด็กเป็นเรื่องปกติ แต่บางครั้งลูกก็ต้องการความช่วยเหลือจากคุณ มาดูเทคนิคการพูดเชิงบวก พูดอย่างไรให้ลูกเชื่อฟัง

เทคนิคพูดเชิงบวก พูดอย่างไรลูกเชื่่อฟังไม่ ก้าวร้าว!!

หากคุณเป็นพ่อแม่ ที่มีลูกอารมณ์ฉุนเฉียว สติแตก ก้าวร้าว คุณอาจจะเคยรับมือกับ อารมณ์รุนแรงเหล่านั้นมาแล้วพอสมควร ในความเป็นจริงแล้วอารมณ์รุนแรง ก้าวร้าวนั้นเป็นเรื่องปกติของเด็กวัยหัดเดิน แต่การควบคุมอารมณ์เป็นทักษะที่เราทุกคนต้องเรียนรู้ พ่อแม่ควรสอนให้แก่ลูก และเด็กบางคนใช้เวลาในการควบคุมตนเองนานกว่าคนอื่นๆ แต่คุณจะรู้ได้อย่างไรว่าพฤติกรรมก้าวร้าวหรือรุนแรงของบุตรหลานแบบไหนถึงไม่ปกติ

Emily Mudd นักจิตวิทยาเด็ก กล่าว“ในระยะนี้ เด็กวัยหัดเดิน เด็กๆ มักจะหันไปใช้การแสดงออกทางร่างกายของความคับข้องใจ เพียงเพราะพวกเขายังไม่มีทักษะทางภาษาในการแสดงออก ตัวอย่างเช่น การผลักเพื่อนในสนามเด็กเล่นอาจถือเป็นเรื่องปกติ เราไม่จำเป็นต้องเรียกว่าความก้าวร้าวเว้นแต่จะเป็นส่วนหนึ่งของแบบแผน”

ที่มา : https://health.clevelandclinic.org

สัญญาณเตือนว่า “ลูก ก้าวร้าว “

ลูกดื้อ ลูกซน หรือ ลูกก้าวร้าว มักเกิดจากปัจจัยหลายอย่าง และบางครั้งก็เป็นพฤติกรรมที่ไม่ได้ผิดปกติแต่อย่างใด หากความรู้สึกเหล่านั้น แสดงออกได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ แต่อย่างไรเราถึงเรียกพฤติกรรมเหล่านั้นว่าเป็นพฤติกรรมปกติหรือไม่

ก้าวร้าว ลูกก้าวร้าว
ก้าวร้าว ลูกก้าวร้าว

สังเกตสัญญาณเตือนว่าลูกอาจกำลังมีพฤติกรรม ก้าวร้าว !!

  • พฤติกรรมและอุปนิสัยที่เปลี่ยนไป เช่น แยกตัว ก้าวร้าว ทำร้ายผู้อื่น
  • ความสามารถลดลง เช่น ผลการเรียนต่ำลง
  • ไม่สามารถหยุดอารมณ์โกรธได้ ใช้เวลานานมากขึ้นเรื่อย ๆ ในการหยุดหรือควบคุมอารมณ์เหล่านั้น
  • มีความคิดหวาดระแวง ซึ่งอาจคล้ายกับอาการวิตกกังวล จนเกินกว่าเหตุ

พฤติกรรมของบุตรหลานของคุณอาจมีสาเหตุเบื้องหลังที่ต้องให้ความสนใจ โรคสมาธิสั้นความ วิตกกังวล ความบกพร่องทางการเรียนรู้ ที่ไม่ได้รับการ วินิจฉัย และ ออทิสติก ล้วนสร้างปัญหาเกี่ยวกับพฤติกรรมก้าวร้าวได้

“ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดก็ตาม หากพฤติกรรมก้าวร้าวส่งผลกระทบต่อคนรอบตัว การใช้ชีวิตในแต่ละวันของลูก  ก็ถึงเวลาขอความช่วยเหลือแล้ว” ดร. มัดด์กล่าว

เริ่มต้นด้วยการพูดคุยกับกุมารแพทย์ของคุณ หากจำเป็น พวกเขาสามารถส่งต่อคุณไปยังผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตเพื่อวินิจฉัยและรักษาปัญหาที่อาจก่อให้เกิดความก้าวร้าวได้

สาเหตุอาการ ก้าวร้าว ในเด็ก !!

สำหรับอาการก้าวร้าวรุนแรงในเด็กเกิดได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่

  • ตัวเด็กเองซึ่งมีความเสี่ยง มีอารมณ์ก้าวร้าวรุนแรงเป็นพื้นฐานของจิตใจ
  • สมาธิสั้น
  • โตมากับความก้าวร้าวรุนแรง คือ พ่อแม่อาจใช้อารมณ์ในการตัดสินเด็ก เช่น การดุด่าว่ากล่าวแรงๆ การใช้กำลัง เป็นต้น หรือแม้แต่ในพ่อแม่ที่ใช้ความรุนแรงต่อกัน
  • การถูกตามใจก็มีส่วนที่ทำให้เด็กมีปัญหาความก้าวร้าวได้ อย่างในเวลาที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม จะไม่มีใครสามารถขัดใจได้ ตัวอย่างที่พบบ่­­อยคือ เด็กที่ลงไปนอนดิ้นกับพื้น แล้วสุดท้ายพ่อแม่หรือผู้ปกครองอื่นๆ ก็จะยอมให้ในสิ่งที่เด็กต้องการ

โต้ตอบอย่างไร?? เมื่อลูกมีพฤติกรรมแสดงว่า “ก้าวร้าว”

หากเด็กแสดงอาการก้าวร้าวอย่าโต้ตอบด้วยการต่อว่าด้วยวาจาที่รุนแรง แต่ให้เอาตัวเองออกมาจากตรงนั้นแล้วค่อยคุยกับเด็กทีหลังว่าด้วยการสั่งสอนว่าทำแบบนี้ไม่ถูก อย่างในกรณีที่เด็กติดเกม เริ่มต้นคงต้องให้เด็กหยุดเล่นเกมไปก่อน แล้วตั้งกติกาในการเล่นเพื่อความเหมาะสม เพื่อฝึกวินัยให้เด็ก แต่บางกรณีอาจต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ หากเด็กมีระดับความก้าวร้าวที่รุนแรงมากๆ เพราะในบางครั้งปัจจัยอาจมาจากหลายอย่าง เช่น ความสัมพันธ์ของพ่อแม่และลูกอาจไม่ดีตั้งแต่ต้น จึงควรให้ผู้เชี่ยวชาญช่วยเหลือในเรื่องนี้จะดีที่สุด

ที่มา : อ. พญ.จิราภรณ์ อรุณากูร ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

เทคนิคการพูดเชิงบวก พูดอย่างไรให้ลูกรับฟัง!!

บางครั้งการที่ลูกมีพฤติกรรมก้าวร้าว ลูกดื้อ หรือซนมักเกิดจากปัจจัยหลายอย่างที่เป็นสิ่งที่หล่อหลอมพฤติกรรมของลูก รวมถึงวิธีการเลี้ยงดูลูกของเราเองด้วย คุณพ่อคุณแม่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของลูกไปในทางที่ดีได้ด้วยวิธีการพูด หรือการสื่อสารกับลูกในเวลาที่เขาดื้อ ไม่เชื่อฟัง และต่อต้านเราได้ ด้วยเทคนิควิธีการพูดเชิงบวก

ก้าวร้าว ดื้อ ซน งอแง พฤติกรรมที่ต้องปรับ
ก้าวร้าว ดื้อ ซน งอแง พฤติกรรมที่ต้องปรับ

เด็กในช่วงวัย 2-5 ขวบ หรือหลาย ๆ คนมักเรียกว่า วัยทอง 2 ขวบบ้าง วัยทอง 3 ขวบบ้าง จะเป็นช่วงที่เด็กเริ่มมีความคิดของตัวเอง แต่ว่าเขายังสื่อสารได้ไม่ดี และยังควบคุมอารมณ์ได้ไม่ค่อยดีเท่าไหร่ จึงเป็นเหตุให้ผู้ใหญ่มองว่าเด็กวัยนี้มีอารมณ์แปรปรวนเหมือนคนวัยทอง และมองว่าลูกเรานั้นเป็นเด็กดื้อ ช่วงเวลาดังกล่าวจึงเป็นช่วงเวลาที่ลูกต้องการความช่วยเหลือจากพ่อแม่มากที่สุด แต่จะใช้วิธีการอย่างไรให้เขารับฟัง และรับการสื่อสารที่เราต้องการสื่อให้กับเขาได้ มาลองดูเทคนิคการพูดเชิงบวก พูดอย่างไรให้ลูกเชื่อฟัง ไม่ก้าวร้าว แม้ลูกกำลังโมโห เราจะจัดการกับอารมณ์ของเขาด้วยคำพูดได้อย่างไร

เทคนิคที่ 1 : ใจเย็น ๆ

“เมื่อเด็กแสดงอารมณ์รุนแรง และผู้ปกครองตอบสนองด้วยอารมณ์ที่มากขึ้นมันสามารถเพิ่มความก้าวร้าวของเด็กได้” คำแนะนำของนักจิตวิทยาต่อการจัดการอารมณ์ก้าวร้าวของลูก แน่นอนว่าเมื่อใครก็ตามเกิดอารมณ์โกรธ ฉุนเฉียว เปรียบเหมือนดั่งไฟ หากเรานำอารมณ์ร้อนสาดเข้าไปเพิ่มย่อมก่อให้เกิดกองไฟที่โตขึ้น ไม่เพียงเฉพาะกับเด็ก ยิ่งหากคุณเป็นพ่อแม่ของเขาด้วยแล้ว การที่คุณแสดงอารมณ์ที่ไม่เหมาะสมเช่นกัน นั่นเป็นการแสดงให้เขารับรู้ว่าอาการดังกล่าวเป็นเรื่องที่แม้แต่พ่อแม่ยังอนุญาตให้ตัวเองแสดงอาการแบบนี้ได้เช่นกัน ทำให้ลูกไม่เรียนรู้ว่าอาการแบบใดเป็นที่ย่อมรับ อาการแบบใดควรควบคุม

เทคนิคที่ 2 : เรียกชื่อลูก

หากลูกกำลังโมโห อาละวาด วิธีการเรียกชื่อลูกอยู่เสมอ เพื่อให้เขาหันมาสนใจ และตั้งใจฟังในสิ่งที่เราต้องการจะพูดก่อน จะช่วยให้เขาสงบลงบ้าง เมื่อลูกกำลังก้าวร้าว ลองให้พ่อแม่เรียกชื่อลูกแล้วหยุด เรียกจนกว่าลูกจะหยุดและหันมามองพร้อมฟังเราอย่างตั้งใจ ถึงตอนนี้พ่อแม่ถึงจะสามารถอธิบายเหตุผลต่างๆ  ให้เขาเข้าใจได้ ด้วยหลักในการพูดเชิงบวก ไม่ตำหนิ บ่น ซึ่งจะกล่าวต่อไป

เทคนิคที่ 3 : พูดให้สั้น กระชับใจความ แต่เข้าใจได้ง่าย

พัฒนาการของเด็กในวัยนี้ ไม่สามารถรับฟัง และทำสิ่งต่าง ๆ หลาย ๆ อย่างพร้อมกันในเวลาเดียวได้ ไม่สามารถรับฟังสิ่งที่ยาว ๆ หรือการพูดเปรียบเปรย หรือความหมายโดยนัยได้ เขาจะจับใจความได้เพียงอย่างเดียว และตรงไปตรงมาเท่านั้น ดังนั้นเมื่อลูกกำลังโมโหให้พูดกับลูกสั้น ๆ กระชับ ไม่บ่น ไม่ประชดประชัน พูดให้ได้ใจความเข้าใจง่าย บอกเขาว่าเขาทำผิดอะไร และพฤติกรรมใดที่ไม่น่ารัก และให้โอกาสเขาได้ลองทบทวนกับตัวเองสักนิด ใช้วิธีการ หลักการ Time in จะช่วยได้

อ่านต่อ >> time in vs time out คือ การลงโทษอย่างไร? ให้เหมาะสมกับลูกคุณ!!

วัยทอง 2 ขวบ
วัยทอง 2 ขวบ

เทคนิคที่ 4 : ใช้น้ำเสียงให้เหมาะสม

น้ำเสียงที่แสดงออกเป็นส่วนสำคัญในการสื่อสารต่อผู้รับสาร การคุยกับลูกด้วยเสียงที่ดัง ตะแบง ตะโกน หรือตวาดกับลูกตลอดเวลา เป็นเหมือนประตูปิดกั้นใจของเขาไม่ให้เข้าถึงความหวังดีของเราได้ ลูกจะไม่เข้าใจว่าเราต้องการจะสื่ออะไร และความไม่ชอบใจ ความน้อยใจ ความโกรธ จะส่งผลให้เขาไม่ฟัง ไม่ปฏิบัติตาม ดังนั้น การใช้น้ำเสียงที่ราบเรียบแต่ทรงพลัง จะเป็นน้ำเสียงที่เหมาะสมกับการพูดกับลูกได้ดีกว่า

สิ่งสำคัญที่ควรหลีกเลี่ยงเลย ก็คือ หากเราใช้น้ำเสียงที่ดังดุลูกบ่อยๆ อาจทำให้เขาติดพฤติกรรมจนกลายเป็นนิสัยที่ไม่ดีจากเราตอนที่โมโหก็ได้

คลิกหน้า 2 อ่านต่อ >> เทคนิคการพูดเชิงบวก พูดอย่างไรให้ลูกเชื่อฟัง ไม่ก้าวร้าว 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up