เทคนิคที่ 5 : อย่าหยุดพยายาม อย่ายอมแพ้
อย่ายอมแพ้ต่ออารมณ์ฉุนเฉียวหรือพฤติกรรมก้าวร้าว แม้ว่าคุณพ่อคุณแม่อาจทำตามเทคนิคที่ได้กล่าวมาข้างต้นแล้ว แต่ลูกยังคงเริ่มอาการอาละวาด ก้าวร้าว ต่อไป จงอย่ายอมแพ้ต่อพฤติกรรมเหล่านั้นของลูก เพราะเขากำลังลองใจ ต่อต้าน และต่อรองกับคุณอยู่ ให้คุณพ่อคุณแม่หยุด นั่งดู และเริ่มขั้นตอนใหม่อีกครั้ง เพราะเชื่อได้เลยว่าเด็กไม่ยอมหยุดในครั้งแรกที่เราห้ามปราบอย่างแน่นอน ตัวอย่างเช่น หากลูกของคุณอารมณ์ฉุนเฉียวที่ร้านขายของชำเพราะต้องการของเล่น อย่ายอมแพ้และซื้อมัน นี่เป็นการให้รางวัลและตอกย้ำพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เราจะไม่ซื้อเพราะยอมจำนน ยอมแพ้ต่อพฤติกรรมที่ไม่น่ารักเหล่านั้น เป็นต้น
เทคนิคที่ 6 : ใช้คำพูดในด้านบวก
คุณพ่อคุณแม่ต้องพยายามอย่าใช้คำพูดว่า “ไม่” หรือ “ห้าม” กับลูก รวมทั้งปรับเปลี่ยนการใช้คำพูดต่างๆ ให้เป็นในด้านบวก หรือแนะนำพฤติกรรมที่เหมาะสมให้เขาไปเลย เช่น ถ้าเราไม่อยากให้ลูกวิ่ง แทนที่จะบอกว่าอย่าวิ่งสิลูก ให้เปลี่ยนเป็นเดินช้าๆ สิลูก ลูกจะเข้าใจ ยอมเชื่อฟัง และปฏิบัติตามได้ง่ายกว่า
เทคนิคที่ 7 : อ่อนโยน แต่เด็ดขาด
อ่อนโยน แต่เด็ดขาด น้ำเสียงราบเรียบแต่ทรงพลัง เป็นการเลือกใช้คำพูดให้ลูกยอมฟัง แต่ไม่ใช่อ่อนเสียงจนเขาไม่ทำตาม เป็นคำพูดที่ไม่ใช่ลักษณะของการออกคำสั่งลูกมากจนเกินไป แต่ยังคงต้องอ่อนโยนไม่ทำให้ลูกหวาดกลัว
เทคนิคที่ 8 : บอกให้ลูกรับรู้ถึง ชื่อของอารมณ์ นั้น
ช่วยให้ลูกของคุณเรียนรู้ที่จะแสดงออกโดยการตั้งชื่ออารมณ์ เช่น คุณอาจจะพูดว่า “แม่บอกได้เลยว่าตอนนี้ลูกโกรธมาก” สิ่งนี้จะตรวจสอบสิ่งที่ลูกของคุณรู้สึก และส่งเสริมด้วยคำพูดแทนการแสดงออกทางกาย การเปิดพื้นที่สำหรับการสนทนาสามารถช่วยให้พวกเขาหาวิธีระบายความรู้สึกออกจากอกด้วยวิธีที่ดีต่อสุขภาพ
เทคนิคที่ 9 : เสนอทางเลือกให้ลูกตัดสินใจ
บางครั้งการที่ลูกต่อต้าน ลูกดื้อ หรือแม้แต่ลูกก้าวร้าว อาจมาจากการที่เขาไม่สามารถหาทางออกให้ตัวเองได้นั่นเอง ทำให้เด็กระบายความอัดอั้น ออกมาในรูปแบบของการร้องไห้ กรีดร้อง หรือไม่ทำตามที่สั่ง หากคุณพ่อคุณแม่อยากให้ลูกหันกลับมาทำตามในสิ่งที่เราพูด หรือมีพฤติกรรมที่เป็นที่ยอมรับ ควรเสนอทางเลือกให้เขาได้เลือก เป็นแนวทางในการใช้วิธีควบคุมอารมณ์ให้ลูก เขาจะเรียนรู้ว่าหากเขาเกิดอารมณ์เช่นนี้ พฤติกรรมแบบไหนที่สามารถทำได้ อะไรบ้าง และให้อำนาจลูกในการตัดสินใจ ในครั้งต่อ ๆ ไปเขาก็จะทำได้ดีขึ้น เช่น ถึงเวลาเข้านอนแล้ว ลูกจะเล่นต่ออีก 1 หรือ 2 นาที ก่อนจะไปอาบน้ำดี?
เทคนิคที่ 10 : พูดให้ลูกได้คิด
คุณพ่อคุณแม่ลองพูดข้อดี ข้อเสียให้ลูกได้ลองคิดไตร่ตรอง รวมทั้งคิดถึงผลที่จะตามมาจากการกระทำของตนเองว่าที่ทำลงไปนั้น ลูกทำถูก หรือทำผิด การปล่อยให้ลูกได้ลองนั่งคนเดียว หรืออยู่กับตัวเองจะช่วยให้อารมณ์ของลูกสงบลงได้ แม้จะเห็นว่าลูกยังเป็นเด็ก แต่เชื่อเถอะว่าเขาสามารถเข้าใจในเหตุและผลที่คุณพ่อคุณแม่ยกตัวอย่างให้กับเขา เมื่อเขาคิดได้อย่างไร คุณพ่อคุณแม่ลองเช็กความเข้าใจตรงกันด้วยการถามกลับเขาบ้างว่า หากเขาเลือกเช่นนี้จะเกิดผลอะไรบ้าง และอีกแบบจะเป็นอย่างไร บางสถานการณ์ลองกลับกันบ้าง ให้เราเป็นฝ่ายถามลูก ให้เขาตอบ ก็จะยิ่งช่วยให้เด็กเข้าใจสถานการณ์มากยิ่งขึ้น
เทคนิคที่ 11 : ช่วยลูกสังเกตถึงสาเหตุที่เขามักก้าวร้าว
คุณพ่อคุณแม่ลองสังเกตเมื่อเวลาที่ลูกก้าวร้าว หรือทำพฤติกรรมไม่เหมาะสมว่า อารมณ์ฉุนเฉียวนั้น เกิดขึ้นจากสาเหตุใด ช่วงเวลาใด เช่น อารมณ์ฉุนเฉียวเกิดขึ้นทุกเช้าก่อนไปโรงเรียนหรือไม่? หากเป็นเพราะเวลาที่เร่งรีบ เราสามารถช่วยเขาจัดแบ่งเวลา ตื่นเช้าขึ้น จัดกระเป๋าไว้ก่อน และเร่งลูกแบบใช้คำพูดแนวเตือนระบุเวลา เช่น “อีก 10 นาทีเราจะออกไป” ตั้งเป้าหมาย เช่น ไปโรงเรียนตรงเวลาสี่วันจากห้าวัน จากนั้นให้รางวัลลูกของคุณเมื่อพวกเขาบรรลุเป้าหมายเหล่านั้น
ข้อมูลอ้างอิงจาก https://health.clevelandclinic.org
อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่