อย่าปล่อยให้ลูกรู้สึกว่า ครอบครัวไม่ใช่เซฟโซน!- Amarin Baby & Kids
บ้านไม่ใช่เซฟโซน

อย่าปล่อยให้ลูกรู้สึกว่า ครอบครัวไม่ใช่เซฟโซน เพราะพฤติกรรมพ่อแม่

Alternative Textaccount_circle
event
บ้านไม่ใช่เซฟโซน
บ้านไม่ใช่เซฟโซน

ครอบครัวไม่ใช่เซฟโซน –  เมื่อลูกของเราโตขึ้นและเริ่มเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น บางครั้งพวกเขาอาจจะรู้สึกว่า ‘บ้าน’ ไม่ใช่พื้นที่ที่มีความสุขเหมือนตอนที่เขายังเล็ก เขาอาจมองว่าในบ้านเต็มไปด้วยสมาชิกในครอบครัวที่พยายามทำทุกอย่างให้เป็น Toxic  ที่มีทั้งการทะเลาะ สร้างความกดดัน ความคาดหวัง ฯลฯ หากคุณเเป็นพ่อแม่ที่รู้สึกว่าลูกเริ่มเหินห่างกับเรามากขึ้นทุกวัน บทความนี้จะแนะนำวิธีแก้ปัญหาที่ต้องยอมรับว่าส่วนหนึ่งอาจเกิดขึ้นจากพฤติกรรมของเรา ดังนั้นพ่อแม่ควรระมัดระวังพฤติกรรมที่อาจทำให้ลูกรู้สึกว่า พ่อแม่เป็นพิษ หรือ ” Toxic Parents” ค่ะ

อย่าปล่อยให้ลูกรู้สึกว่า ครอบครัวไม่ใช่เซฟโซน เพราะพฤติกรรมพ่อแม่

ไม่ต้องสงสัยเลยว่าพ่อแม่ที่สร้างพฤติกรรมที่สร้างความบาดหมางจะส่งผลเสียต่อเด็กได้มากขนาดไหน การเลี้ยงดูที่เป็นพิษ ย่อมก่อให้เกิดสถานการณ์ที่เด็กไม่ได้รับความเข้าใจ หรือความเอาใจใส่อย่างที่ต้องการ เรามักจะนึกถึงความเป็นพิษในแง่ของการทำร้ายทางกายหรือทางวาจา แต่ความจริงแล้วมันสามารถแสดงออกมาในรูปแบบที่ลึกซึ้งยิ่งกว่านั้น ตัวอย่างเช่น หากลูกถูกพ่อแม่วิพากษ์วิจารณ์มากเกินไป ถูกเมินเฉย ถูกบงการ พวกเขาอาจเกิดบาดแผลทางจิตใจได้มากกว่าที่เราคิด ดังนั้นพ่อแม่ต้องระวังพฤติกรรมของตัวเองที่อาจสร้างความรู้สึกว่าบ้านไม่ใช่เซฟโซนของพวกเขาอีกต่อไป

ในฐานะพ่อแม่ พวกเราอาจมีความตั้งใจที่ดีที่สุดและต้องการให้ในสิ่งที่ดีที่สุดแก่ลูก ๆ แต่บางครั้งเราอาจทำผิดพลาดและอาจทำสิ่งที่เสียหายต่อลูกโดยไม่ได้ตั้งใจ แม้บางครั้งเราคิดว่ามันเป็นแรงกระตุ้นที่อยากทำให้หลายอย่างดีขึ้น อย่างไรก็ตาม การเลี้ยงดูที่เป็นพิษนั้น แม้ในบางครั้งพื้นฐาน คือ ความรักและความหวังดี แต่การปฏิบัติต่อลูกอย่างไม่เหมาะสมในหลายๆ กรณี อาจสร้างบาดแผลทางใจต่อลูกอย่างต่อเนื่องและซ้ำซาก  ซึ่งพฤติกรรมซ้ำๆ เหล่านี้ได้สร้างความกลัว ทำให้เกิดความรู้สึกผิด ไม่พอใจ หรือแม้แต่เกลียดชัง และทำให้เด็กมีแผลเป็นทางอารมณ์ พ่อแม่ที่เป็นพิษจะปฏิบัติต่อลูกด้วยวิธีที่ทำให้เด็กเกิดความสงสัยในความสำคัญของพวกเขา ตลอดจนสงสัยในคุณค่าของตัวเอง และทำให้พวกเขาไม่มั่นใจว่าพวกเขาคู่ควรกับความรัก และการยอมรับหรือไม่

แน่นอนว่าพ่อแม่ทุกคนไม่มีใครคิดทำร้ายลูก แต่บางครั้งเราอาจเคยชินกับการกระทำแบบนี้โดยที่เราไม่รู้ตัว ดังนั้นโปรดใช้เวลาสักครู่เพื่อตรวจสอบพฤติกรรมบางประการของพ่อแม่ที่เป็นพิษต่อความรู้สึกของลูกค่ะ

การเลี้ยงดูที่เป็นพิษ
การเลี้ยงดูที่เป็นพิษ

1. วิจารณ์ลูกมากเกินไป ทำให้ลูกรู้สึกว่า ครอบครัวไม่ใช่เซฟโซน

เราทุกคนต้องยอมรับและเรียนรู้จากคำวิจารณ์ แต่พ่อแม่ที่เป็นพิษจะวิพากษ์วิจารณ์มากเกินไป โดยเชื่อว่าที่ทำไปเพื่อช่วยให้ลูกเรียนรู้และหลีกเลี่ยงการทำผิดพลาด น่าเสียดายที่สิ่งนี้มีผลอย่างมากต่อการเห็นคุณค่าในตัวเองของเด็ก การถูกวิจารณ์ที่รุนแรงซ้ำแล้วซ้ำเล่าอาจทำให้พวกเขามีสุขภาพจิตที่ย่ำแย่เมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่

พ่อแม่หลายคนวิจารณ์ลูกเพราะอยากให้ลูกเป็นคนดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยที่ไม่รู้ว่าสิ่งนี้ทำให้ลูกรู้สึกต่อตัวเองอย่างไร ดังนั้น สิ่งสำคัญคือต้องคิดก่อนที่จะพูด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องพูดคุยกับลูกๆ เกี่ยวกับการพฤติกรรมของพวกเขาในบางสิ่ง พ่อแม่ควรทำหน้าที่เป็นแบบอย่าง หรือเป็นแนวทางสำหรับบุตรหลานแทน เตือนตัวเองว่าลูกของคุณกำลังเรียนรู้วิธีการทำสิ่งต่างๆ จากคุณในทุกวัน และสิ่งที่พวกเขาต้องการ คือ ความช่วยเหลือจากคุณ ไม่ใช่คำตัดสิน และคำวิพากษ์วิจารณ์

ลองนึกถึงความรู้สึกของคุณเมื่อคนที่คุณรักวิจารณ์คุณ มันอาจทำให้คุณรู้สึกแย่กับตัวเองแม้ว่าคุณจะรู้ว่ามันไม่จริงก็ตาม แม้แต่คนที่จิตใจมั่นคงที่สุดก็ไม่ชอบถูกวิจารณ์ หากลูกของคุณกำลังทำบางอย่างที่คุณคิดว่ามีทางอื่นที่ดีกว่า ให้หลีกเลี่ยงการพูดว่า “นั่นเป็นวิธีที่โง่มากที่จะทำแบบนั้น ทำไมลูกถึงคิดว่าเป็นความคิดที่ดี” ในทางกลับกัน ควรพูดในสิ่งที่เป็นบวกแทน เช่น “ลูกทำได้ดีมากแล้วนะ แต่ถ้าเป็นแม่ แม่อาจมีวิธีอื่นที่ต่างจากลูกบ้างนะ” จากนั้นคุณสามารถแนะนำได้ตามที่คุณต้องการ การปล่อยให้ลูกของคุณมีอิสระและคิดบางสิ่งบางอย่างด้วยตัวเองเป็นเรื่องที่ดีเสมอ อย่างน้อยลูกจะรู้สึกว่าคุณก็เคารพในการตัดสินใจของพวกเขาอยู่

2. พูดถึงเรื่องที่ลูกรู้สึกอับอายบ่อยๆ ทำให้ลูกรู้สึกว่า ครอบครัวไม่ใช่เซฟโซน

พ่อแม่ทุกคนมักพูดเรื่องตลกเกี่ยวกับลูกของตน แน่นอนว่าเรายอมรับพวกเขาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตและอาจไม่ได้คิดอะไร แต่บางครั้งสิ่งที่คุณพูดไปอาจเป็นปัญหาที่บั่นทอนความมั่นใจในตนเองของเด็ก ไม่มีใครชอบ หรือยินดีกับการถูกล้อเลียน การโดนบูลลี่ หรือวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับ ข้อด้อย หรือปมด้อยของตัวเอง เช่น รูปร่างหน้าตา น้ำหนัก ส่วนสูง หรือความสามารถของตัวเองอยู่ตลอดเวลา ไม่เว้นแม้แต่คำพูดจากพ่อแม่ของพวกเขาเอง

อ่านต่อ…อย่าปล่อยให้ลูกรู้สึกว่า ครอบครัวไม่ใช่เซฟโซน เพราะพฤติกรรมพ่อแม่ คลิกหน้า 2

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up