3. เรียกร้องความสนใจจากลูกมากเกินไป ทำให้ลูกรู้สึกว่า ครอบครัวไม่ใช่เซฟโซน
นิสัยอย่างหนึ่งของพ่อแม่ที่เป็นพิษ คือ ต้องการความสนใจจากลูก ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพวกเขาอารมณ์เสียเกี่ยวกับบางสิ่งที่ลูกทำ จนบางครั้งอาจแสดงออกด้วยการไม่พูดกับลูก หรือรอให้ลูกถามหรือง้อ ทางที่ดีควรเตือนตัวเองว่าในความสัมพันธ์ของคุณกับลูก ตัวคุณไม่ใช่จุดศูนย์กลางของความสนใจคุณย่อมมีวุฒิภาวะที่ดีกว่าพวกเขา และลูกของคุณอาจไม่มีวุฒิภาวะหรือทักษะในการรับมือที่จะทำให้คุณเป็นจุดศูนย์กลางของความสนใจ แม้ว่าจะเป็นเช่นนั้นก็ไม่ยุติธรรมที่คุณจะคาดหวังให้บุตรหลานของคุณทำหน้าที่เป็นผู้ที่ต้องเข้าหาคุณก่อนเสมอไป มันไม่ได้หมายความว่าคุณไม่สามารถแสดงออกกับอารมณ์ที่คุณอาจมี แต่การสื่อสารอย่างตรงไปตรงมากับลูกของคุณย่อมช่วยกระชับความสัมพันธ์และส่งเสริมความเห็นอกเห็นใจและความเข้าใจระหว่างคุณกับลูกได้ดีกว่า
ตัวอย่างเช่น หากคุณรู้สึกแย่กับบางเรื่องและลูกของคุณถามคุณว่าเป็นอะไร คุณสามารถบอกพวกเขาถึงรู้สึกของคุณ หากเป็นไปได้คุณสามารถบอกเหตุผลที่คุณรู้สึกแย่ให้พวกเขาฟังได้ อย่างไรก็ตาม คุณควรบอกลูกด้วยว่าคุณจะไม่เป็นไร คุณแค่ต้องการเวลาสักพัก แทนที่จะคาดหวังให้พวกเขาปลอบโยนคุณ
4. ทำให้ลูก ๆ เกรงกลัวมากเกินไป จนรู้สึกว่า ครอบครัวไม่ใช่เซฟโซน
ความเคารพและความเกรงกลัวไม่จำเป็นต้องไปด้วยกัน เด็กที่รู้สึกได้รับความรัก ได้รับการสนับสนุน และมีความผูกพันที่ดีกับพ่อแม่ ย่อมมีแนวโน้มที่จะเป็นผู้ใหญ่ที่มีความสุขในอนาคต ระเบียบวินัยบางประเภทมีความจำเป็นเป็นครั้งคราว พ่อแม่ที่ไม่เป็นพิษจะไม่ใช้การกระทำและคำพูดที่น่ากลัวบั่นทอนและทำลายจิตใจของลูก ที่สำคัญเด็กๆ ไม่ควรรู้สึกกลัวเกรงกลัวหรือมีความรู้สึกว่าพวกเขาเข้าไม่ถึงพ่อแม่
5. ใช้ความรู้สึกของตัวเองเป็นใหญ่
หากคุณทะเลาะกับลูก อย่าปล่อยให้อัตตามาขัดขวางความสัมพันธ์ไม่ว่าคุณจะผิดหรือถูกก็ตาม พยายามเตือนตัวเองว่าคุณเป็นพ่อแม่ และการปล่อยให้การทะเลาะเบาะแว้งยืดเยื้อเพียงเพราะคุณต้องการเอาชนะนั้นไม่ดีต่อลูกหรือความสัมพันธ์ของคุณกับพวกเขา ลูกของคุณอาจไม่ได้สนใจว่าใครชนะหรือแพ้ในการทะเลาะ แต่สิ่งที่พวกเขาจะจดจำได้แน่นอนคือการกระทำของคุณระหว่างการปะทะอารมณ์นั้นว่ามันทำให้พวกเขารู้สึกอย่างไรกับคุณและต่อตัวเอง
ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่พ่อแม่จะต้องมีความเป็นผู้ใหญ่มากที่สุด อย่าเพิกเฉยต่อลูกของคุณหรือทำให้พวกเขารู้สึกว่าโง่เขลา หากคุณไม่แน่ใจว่าจะยุติการทะเลาะวิวาทอย่างไร ให้ลองบอกลูกอย่างใจเย็นว่าต่างคนควรมีเวลาอยู่กับตัวเองสักครู่ ให้ใช้เวลานี้สงบสติอารมณ์หากคุณต้องการ เมื่อคุณสงบลงแล้ว ให้กลับไปหาลูกและขอโทษและปรับความเข้าใจในเรื่องที่ทะเลาะกัน คุณไม่จำเป็นต้องพูดถึงเรื่องบาดหมางว่ามันเกี่ยวกับอะไรหรือใครถูกใครผิดด้วยซ้ำ อย่างน้อยหากคุณพูดว่า “แม่ไม่ชอบเวลาที่เราทะเลาะกัน เรามาทำอะไรสนุกๆ ด้วยกันดีกว่า” กอดพวกเขาและเตือนพวกเขาว่าคุณรักพวกเขามากแค่ไหน
6. ควบคุมกิจกรรมต่างๆ ของลูกมากเกินไป
เป็นเรื่องปกติที่พ่อแม่จะมีส่วนร่วมในกิจกรรมของบุตรหลาน อย่างไรก็ตาม หากคุณสนใจหรือไปกะเกณฑ์มากเกินไปจนถึงจุดที่กิจกรรมของพวกเขาต้องผ่านความเห็นชอบของคุณไปซะทุกเรื่อง พวกเขาจะกลายเป็นผู้ใหญ่ในอนาคตที่ต้องพึ่งพาคนอื่นมากเกินไปและไม่สามารถบรรลุเป้าหมายสำคัญต่างๆ ในชีวิตได้ โปรดจำไว้ว่าคุณสามารถช่วยลูกได้ คุณสามารถชี้แนะและอาจถูกขอให้มีส่วนร่วมเท่าที่จำเป็น เว้นแต่ว่าคุณต้องการให้ลูกของคุณเติบโตโดยไม่ได้เรียนรู้วิธีการบรรลุเป้าหมาย
7. ก้าวก่ายชีวิตลูกมากเกินไป
มันไม่ได้หมายความให้ปล่อยปละละเลยลูกของคุณ แต่คนเราทุกคนมีเขตแดนของตัวเองที่เปรียบเสมือนพรมแดนของประเทศที่ไม่อยากให้มีการล้ำเส้น ทั้งสองฝ่ายตกลงเกี่ยวกับขอบเขตและขอบเขตของดินแดนของตน แม้เป็นเรื่องปกติของพ่อแม่ที่จะติดตามเฝ้าดูบุตรหลานของคุณและอาจตรวจสอบเพื่อให้พวกเขาปลอดภัย อย่างไรก็ตามเช่นเดียวกับการเปรียบเทียบระหว่างสองประเทศ มันย่อมเป็นการดีกว่าที่ต่างฝ่ายจะไม่รุกรานดินแดนของกันและกันและอาจเริ่มทำสงคราม เราทุกคนต้องกำหนดขอบเขต โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับวัยรุ่น ที่สำคัญ อย่าคาดหวังที่จะเปิดประตูห้องลูกของคุณโดยไม่ขออนุญาตหรือเคาะประตูก่อน การเคารพในขีดจำกัด ไม่ล้ำเส้น จะช่วยให้พวกเขารับรู้และเข้าใจขอบเขตในชีวิตต่อไปได้อย่างเหมาะสม
8. สร้างความรู้สึกเรื่องหนี้บุญคุณกับลูก
หากคุณให้ของขวัญราคาแพงกับลูกของคุณเพียงเพื่อคาดหวังสิ่งตอบแทนหรือรอสิ่งตอบแทนจาก “สิ่งที่คุณทำเพื่อพวกเขา” มันเป็นสัญญาณที่ชัดเจนว่าคุณเป็นพ่อแม่ที่เป็นพิษ เราทุกคนต้องเข้าใจว่าลูก ๆ ของเราไม่ได้เป็นหนี้อะไรเราเพื่อแลกกับของขวัญหรือเงินที่พวกเขาไม่ได้ร้องขอ
ผลกระทบต่อเด็ก จากพฤติกรรมเป็นพิษของพ่อแม่
จำไว้ว่าประสบการณ์ที่ไม่ดีในวัยเด็กสามารถส่งผลให้เด็กในวันนี้มีแนวโน้มที่จะกลายเป็นผู้ใหญ่ในแบบเดียวกับสิ่งที่เขาต้องประสบพบเจอในวัยเด็ก คำพูดที่ว่าเด็กก็เหมือนฟองน้ำย่อมใช้ได้เสมอ ในช่วงวัยเด็ก เด็กๆ จะยุ่งอยู่กับการซึมซับทุกสิ่งรอบตัว เมื่ออายุมากขึ้น ประสบการณ์เหล่านี้ย่อมส่งผลต่อการมองโลกและการมองตนเอง ดังนั้นลูกของพ่อแม่ที่เป็นพิษมักจะเติบโตขึ้นมาโดยรู้สึกอับอายและรู้สึกผิดเกี่ยวกับทางเลือกของพวกเขา มีความนับถือตนเองต่ำ ขาดความเชื่อมั่นในตัวเอง และมีบุคลิกหรือภาพลักษณ์ที่ไม่ดี ที่สำคัญ ในอนาคตพวกเขามักเติบโตขึ้นมาเป็นพ่อแม่ที่เป็นพิษ เป็นเพราะพวกเขามักจะรู้สึกไม่ดีเกี่ยวกับตัวเอง และไม่มีความรู้สึกปลอดภัยที่จำเป็นต้องเป็นคนที่แตกต่างออกไป เพราะตัวอย่างเดียวที่พวกเขามีในการทำหน้าที่เป็นพ่อแม่ คือ ตัวอย่างจากคุณ แม่เด็กบางคนที่เติบโตเป็นผู้ใหญ่อาจตระหนักได้เองว่าพวกเขาได้รับการเลี้ยงดูจากพ่อแม่ที่เป็นพิษ และสามารถหลุดพ้นจากวงจรนี้ได้ก็ตาม
นอกจากนี้ การเป็นพ่อแม่ที่เป็นพิษสามารถทำลายความสัมพันธ์ของคุณได้ แม้ว่ามันอาจจะไม่ได้เกิดขึ้นในทันที แต่ในที่สุดเด็กหลายคนที่เติบโตมาพร้อมกับพ่อแม่ที่เป็นพิษจะตระหนักว่าพวกเขาไม่สามารถสานต่อความสัมพันธ์กับพ่อแม่ได้ อาจมีการต่อสู้ครั้งใหญ่ที่ทำให้เกิดการแตกหัก หรือลูกของคุณอาจอธิบายให้คุณฟังว่าพวกเขาไม่สามารถมีคุณในชีวิตได้เพราะคุณทำให้พวกเขารู้สึกแย่เกี่ยวกับตัวเอง
ทางออกของปัญหา
คุณอาจต้องใช้เวลาในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคุณเพื่อสร้างความสัมพันธ์ใหม่ที่ดีขึ้นกับลูกๆ ของคุณ ซึ่งแน่นอนว่าการขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตที่ผ่านการฝึกอบรมมานั้นมีประโยชน์ พวกเขาสามารถช่วยคุณระบุพฤติกรรมที่เป็นพิษของคุณว่ามาจากไหน รวมถึงแนะนำแนวทางที่คุณสามารถทำให้ดีขึ้นได้เกี่ยวกับพฤติกรรมต่างๆ เหล่านั้น
หรืออาจมองหาคนที่คุณไว้ใจและพูดคุยกับพวกเขา ยอมรับว่าคุณต้องการความช่วยเหลือ ไม่มีอะไรผิดที่จะขอคำแนะนำจากครอบครัว เพื่อน หรือที่ปรึกษา อย่างไรก็ตามการขอความช่วยเหลือจากนักบำบัดเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดเสมอ จำไว้ว่าความสัมพันธ์ของคุณกับลูก ๆ ของคุณย่อมไม่ดีขึ้น เว้นแต่คุณตั้งใจอย่างมุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคุณ ควรวางแผนและจริงจังกับมันและเตือนสติตัวเองตลอดเวลาว่า คุณสามารถทำได้ แม้มีบางครั้งที่คุณอาจล้มเหลว แต่จงอดทน จำไว้ว่าคุณกำลังทำสิ่งนี้เพื่อลูก ๆ ของคุณ อย่ายอมแพ้หรือพูดว่า “มันคือสิ่งที่ฉันเป็น และไม่มีอะไรจะเปลี่ยนแปลงมันได้” เพราะความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคุณกับลูกมันอยู่ในอำนาจของคุณที่จะเปลี่ยนแปลงไปสู่ทางที่ดีกว่า ถ้าคุณยอมรับและเปิดใจค่ะ
ขอบคุณข้อมูลจาก : https://medium.com , https://www.wikihow.com
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่