หลังจากนั้น พ่อชักไม่แน่ใจว่าตกลงใครเป็นพ่อและใครเป็นลูกกันแน่
พ่อช่วยแบกสัมภาระ ไปส่งลูกถึงหอพัก ช่วยกางมุ้ง ปูที่นอน ซื้อกับข้าวกับปลา ต้องสอนแม้กระทั่งวิธีบีบยาสีฟันออกจากหลอด
ทั้งหลายทั้งปวง ดูเหมือนว่ามันเป็นหน้าที่ที่พ่อสมควรต้องทำให้ ไม่ได้ยินคำว่าขอบคุณสักคำจากลูกตั้งแต่ต้นจนจบ
รู้สึกด้วยซ้ำว่าเป็นเกียรติอันยิ่งใหญ่ที่พ่อผู้ด้อยความสามารถคนนี้มีโอกาสได้รับใช้ลูกทูนหัว ที่บัดนี้ได้เป็นนักศึกษาผู้ทรงเกียรติไปแล้ว
ปีแรกทั้งปี ที่บ้านได้รับจดหมายจากลูกสามฉบับ ข้อความรวมกันแล้วอาจยาวกว่าข้อความในโทรเลขหนึ่งฉบับสักหน่อย ข้อความย่นย่อ ลายมือหวัดอ่านยาก มีแต่คำว่า “เงิน” นี่ตั้งใจเขียนได้ชัดเจนที่สุด
พอขึ้นปีที่สอง จดหมายมาแบบถี่ๆ ล้วนขอเงินเพิ่ม ลีลาการเร่งเร้าให้ส่งเงิน ข้อความที่เรียกร้องความเห็นใจ รับรู้ได้ถึงว่า หากเรียนจบแล้ว ลูกสามารถไปยึดอาชีพเป็น พวกเจ้าหน้าที่เร่งรัดหนี้สินได้เยี่ยมแน่นอน
แต่สิ่งที่ทำให้พ่อเจ็บปวดที่สุดนั้น มาจากการที่ลูกอาจหาญ ถึงขั้น ปลอมแปลงตัวเลขจำนวนเงิน ที่ต้องจ่ายค่าหน่วยกิต ของมหาวิทยาลัย
ไม่คิดว่าลูกจะใช้วิธีนี้ มาหลอกลวงเงินทองจากผู้เป็นพ่อแม่ที่ให้กำเนิด เลี้ยงดู รักใคร่ลูกมาตลอด เพียงเพื่ออยากได้เงินเพิ่ม ไปเที่ยวผับ เที่ยวบาร์และร้องคาราโอเกะ…
คิดถึงเรื่องนี้เมื่อไหร่ ก็เจ็บปวดเมื่อนั้น นอนไม่หลับ จนกลายเป็นโรคซึมเศร้า สาเหตุก็มาจากลูก คนที่พ่อเลี้ยงดูด้วยมือจนเติบใหญ่ แต่กลับกลายเป็นคนแปลกหน้าในร่างของนักศึกษา
ขอภาวนาในใจว่า นอกจากวิชาความรู้ต่างๆที่ลูกจะเรียนรู้จากสถาบันการศึกษาแล้ว ลูกจะกรุณาพัฒนาจิตใจให้เป็นคนซื่อสัตย์และกตัญญูรู้คุณด้วยก็จะเป็นเรื่องที่ดีที่สุด…….
……………………………………………………………………………………………
หลังจากได้อ่านจดหมายฉบับนี้แล้ว ผมรู้สึกว่าผมยังต้องเดินหน้าทำตามนโยบายในการดูแลลูกตามที่ตั้งใจไว้แต่แรก
แม้จะรู้ว่ามันค่อนข้างลำบาก ในสังคมของเรา
มีอยู่วันหนึ่ง เพื่อนสมัยเรียนที่ย้ายไปออสเตรเลียกลับมาเยี่ยมบ้าน มีโอกาสได้นั่งคุยกัน
เขาเล่าว่า คนออสเตรเลียนอกจากเชื่อถือในพระเจ้าแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่พวกเขาเชื่อมั่นก็คือ วิธีการเลี้ยงลูกแบบ “จะรวยแค่ไหน ก็ต้องเลี้ยงลูกแบบจน”
พวกเขาเชื่อว่า เด็กที่เติบโตขึ้นมาภายใต้การดูแลปกป้องมากไป ของพ่อแม่
เมื่อโตแล้ว จะไม่มีปัญญา ที่สามารถ ยืนอยู่บนลำแข้งตัวเอง
และก็จะไม่มีวันสำนึกบุญคุณคนอื่น แม้กระทั่งพ่อแม่ตนก็ตาม
อ่านต่อ >> แนวทางการเลี้ยงลูก ดี ๆ แม้ “จะรวยแค่ไหน ก็ต้องเลี้ยงลูกแบบจน” คลิกหน้า 3
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่