สร้างวินัยเชิงบวก คือ การสร้างวินัยหรือการสอนและฝึกฝนเด็กให้ใช้ทักษะสมอง EF ในการดำเนินชีวิตประจำวันจนติดเป็นนิสัย โดยที่พ่อแม่ไม่ใช้คำสั่งห้ามและไม่มีการดุด่า
สร้างวินัยเชิงบวก ให้ลูก ป้องกันลูกดื้อ
ด้วยเทคนิคง่ายๆ จากผู้เชี่ยวชาญ
ซึ่งมาตรฐานของโรงเรียนอนุบาลในอเมริกาเกือบทุกรัฐต้องสอนทักษะ Executive Functions หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า EF เพื่อพัฒนาสมองและระบบความคิดของเด็กๆให้สามารถคิดวางแผนและแก้ปัญหาได้
ส่วนในประเทศไทย แม้กระแส EF จะมาช้าก็ยังดีกว่าไม่มา ตอนนี้รัฐบาลไทยจึงเริ่มสนับสนุนด้วยการพยายามเผยแพร่ความรู้เรื่อง EF ให้คุณครูบ้างแล้ว คุณพ่อคุณแม่ยุคใหม่เองก็ไม่ควรพลาดเทคนิคดีๆ ที่จะช่วยกระตุ้นสมองและเสริมความคิดเชิงบริหารให้ลูกน้อยเช่นกัน แล้วทักษะ EF เป็นอย่างไร จะทำให้ลูกของเราฉลาด วางแผนและแก้ไขปัญหาได้จริงหรือ ลองมาฟังคำอธิบายและคำแนะนำดีๆ จาก รศ. ดร.นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล ผู้เชี่ยวชาญด้าน ประสาทวิทยา และ ผศ. ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร ผู้เชี่ยวชาญด้านวินัยเชิงบวก กันเลยค่ะ
เทคนิคสร้าง EF ให้ลูก ด้วยการสร้างวินัยเชิงบวก
ทักษะที่เด็กยุคใหม่ต้องมี!
ความหมายของทักษะการคิดเชิงบริหาร
ทักษะ “การคิดเชิงบริหาร” (Executive Functions) หรือเรียกสั้น ๆ กันว่า EF คือหน้าที่การทำงานของสมองระดับสูง ในเชิงบริหาร ซึ่งเราอาจจะคิดว่าผู้บริหารเท่านั้นที่ต้องมี แต่จริง ๆ แล้วมนุษย์เราทุกเพศทุกวัยจำเป็นต้องใช้ทักษะ EF กับการทำงานทุกเรื่องให้สำเร็จ หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า “Goal-Directed Behavior” เป็นพฤติกรรมที่นำไปสู่เป้าหมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งงานที่มีความยากและใช้ระยะเวลานานหลายเดือนหรือหลายปีกว่าจะสำเร็จ เช่น การเรียน การจะทำให้จิตใจของเราจดจ่อกับเป้าหมาย ไม่ยอมแพ้ไม่ลืมหน้าที่รับผิดชอบ ไม่เบี่ยงเบนหาสิ่งที่ง่ายและสบายกว่าไปเสียก่อน รู้จักตัดสิ่งที่ไม่สำคัญออก เลือกทำสิ่งที่สำคัญ และยึดมั่นจนกว่าจะถึงเป้าหมาย
ทั้งหมดนี้ต้องอาศัยทักษะ EF อย่างมากจึงจะทำได้สำเร็จเพราะทักษะวินัยเชิงบวก จะช่วยให้ลูกสามารถควบคุมอารมณ์ ความคิด และการกระทำ จนกว่าจะประสบความสำเร็จตามเป้าหมายได้
- ควบคุมอารมณ์ คือ เวลาลูกมีอารมณ์โกรธ เสียใจ หรือดีใจ เราสามารถควบคุม ไม่แสดงออกอย่างรุนแรง และกลับคืนสู่อารมณ์ปกติได้อย่างรวดเร็วเพื่อให้สามารถทำงานต่อได้
- ควบคุมความคิด คือ ความสามารถในการควบคุมความคิดให้จดจ่อกับงานที่ทำไม่วอกแวกง่าย หรือหากเผลอวอกแวกไปบ้าง ลูกก็ยังสามารถดึงตัวเองกลับมาโฟกัสกับเรื่องที่ทำได้ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมากเพราะในชีวิตประจำวันของลูกมีสิ่งต่าง ๆ มากมายทำให้ลูกวอกแวกได้ตลอดเวลา เช่น โทรทัศน์ โทรศัพท์มือถือ เพื่อนหรือความบันเทิงต่าง ๆ
- ควบคุมการกระทำ คือ การควบคุมตัวเองให้กระทำแต่สิ่งที่มุ่งไปสู่เป้าหมายโดยไม่ทำให้ตนเองและผู้อื่นเดือดร้อน
√ ชีวิตลูกดี๊ดีเมื่อมี EF
- สร้างความพร้อมตลอดชีวิต : การหมั่นฝึกฝน EF ตั้งแต่เด็กคือการสร้างเครือข่ายเส้นใยประสาท เพราะเส้นใยประสาทยิ่งใช้ก็ยิ่งแข็งแรง เมื่อไปเจอเหตุการณ์ไม่คาดคิดต่าง ๆ เขาจะรู้ได้ว่าต้องตอบสนองอย่างไร เมื่อลูกน้อยเติบโตขึ้นทักษะนี้จะติดตัวไปด้วย ทำให้เขามีความคิดหลากหลาย ทั้งการคิดสร้างสรรค์ คิดยืดหยุ่น คิดแก้ไขปัญหา และไม่จนต่ออุปสรรคทั้งหลาย ทำให้มีความพร้อมที่จะเรียนรู้ในสิ่งที่ยากขึ้น พร้อมเผชิญหน้ากับปัญหา พร้อมสำหรับการทำงาน และพร้อมใช้ชีวิตในสังคมอย่างมีความสุข เพื่อให้ตัวเองบรรลุเป้าหมายในชีวิต ทักษะวินัยเชิงบวก จึงเป็นสิ่งที่พัฒนาคนได้ทั้งชีวิต
- ชะลอความอยากและควบคุมความต้องการ : หรือ Delayed Gratificationซึ่งตรงตามสำนวนว่า “อดเปรี้ยวไว้กินหวาน” เป็นอีกทักษะที่เกิดจากกระบวนการ EF ขึ้น ซึ่งเชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่อยากให้ลูกวัยรุ่นทุกคนมี เพราะลูกวัยรุ่นมักจะตัดสินใจตามอารมณ์หรือความต้องการส่งผลให้ตัดสินใจผิดพลาดได้ง่าย แต่เด็กที่ได้รับการพัฒนาทักษะวินัยเชิงบวก อย่างต่อเนื่องจะเริ่มอดทนรอคอยและชะลอความอยากได้ตั้งแต่ 4 ขวบ แม้จะเป็นการอดทนในช่วงเวลาสั้น ๆ ในเรื่องที่ไม่ยากนัก แต่เขาจะยิ่งทำได้ดีขึ้นเรื่อย ๆ จนนำไปสู่การตัดสินใจที่ดีในช่วงวัยรุ่น นอกจากนี้ทักษะ Delayed Gratification ยังช่วยให้เด็กเกิดความมุ่งมั่นไปสู่เป้าหมาย เพราะสังคมปัจจุบันจะมีสิ่งที่มาล่อใจเขาตลอดเวลา การจะโฟกัสกับงานจนเสร็จทั้งที่อยากเล่น อยากอ่านการ์ตูนอยากเล่นเกม อยากดูทีวี ฯลฯ เป็นเรื่องยากมาก แต่ Delayed Gratification จะช่วยให้เขาระงับใจไว้ได้จนกว่าจะทำงานเสร็จจึงจะไปเล่นหรือทำสิ่งต่างๆ ได้ตามความต้องการ
- สร้างสำนึกที่ดีในจิตใจ : เนื่องจากทักษะ EF ทำให้เราเข้าใจตนเองรู้ว่าเราต้องการอะไร ต้องทำหน้าที่อย่างไรและเมื่อถึงจุดหนึ่งของการที่เรารู้จักตนเองจะเกิดการพัฒนาไปสู่ความรู้สึกเห็นอกเห็นใจผู้อื่น เมื่อเด็กควบคุมตนเองได้ อดทนรอคอยได้ และเกิดความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นเขาจะมีสัมพันธภาพกับผู้อื่นดี และพัฒนาไปสู่การช่วยเหลือผู้อื่นหรือการมีจิตอาสานั่นเอง
- ตอบโจทย์สังคมในอนาคต : สังคมในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างรวดเร็ว สมัยคุณพ่อคุณแม่ยังเด็กการสอบแข่งขันไม่ได้เข้มข้นเหมือนปัจจุบันวิชาหรือเส้นทางให้เลือกเรียนก็มีไม่มากเท่าทุกวันนี้ จากที่เราเคยต้องการให้เด็กว่านอนสอนง่าย ยุคสมัยนี้กลับต้องการให้เด็กเรียนรู้และคิดแก้ปัญหาได้เอง การใช้คำสั่งหรือวิธีสอนแบบเดิม ๆ จึงไม่ตอบโจทย์อีกต่อไป ทฤษฎีทักษะ EF จึงพัฒนาขึ้นเพื่อสอนเด็กให้มีคุณสมบัติพร้อมสำหรับสังคมในอนาคต ซึ่งเด็กทุกคนต้องสามารถพึ่งพาตนเอง คิดวางแผน และแก้ไขปัญหาเองได้จึงจะประสบความสำเร็จในชีวิต
⊗ ชีวิตลูกติดลบเมื่อไม่มี EF !
- ความจำไม่ดี เรียนรู้ไม่ได้ ทำผิดซ้ำซาก
- หุนหันพลันแล่น อยู่นิ่งไม่ได้
- ปรับตัวไม่ได้ อารมณ์เสียเมื่อต้องเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม
- อารมณ์ฉุนเฉียวรุนแรง เศร้าเสียใจยาวนาน
- จัดการหน้าที่รับผิดชอบของตัวเองไม่ได้ ทั้งเรื่องเรียน เรื่องงาน และข้าวของส่วนตัว
- มีปัญหาในการเข้าสังคม
- มีแนวโน้มเจ็บป่วยโรคจิตเภท เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล ฯลฯ
- มีโอกาสตัดสินใจผิดพลาดในชีวิต เช่น เรียนไม่จบ ติดยาเสพติด หรือตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร
- เสี่ยงต่อภาวะบกพร่องทางสมอง เช่น สมาธิสั้น หรืออัลไซเมอร์
ขอเชิญคุณแม่ตั้งครรภ์ และมีลูกวัย 0-6 ปี ร่วมฟังเสวนาฟรี! “เลี้ยงลูกเชิงบวก กระตุ้นทักษะสมอง พิชิตความสำเร็จ” โดย ผศ.ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร ในวันที่ 31 ตุลาคม 2563 สมัครด่วนจำนวนจำกัด!! อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม และสำรองที่นั่งล่วงหน้า ได้ที่ https://bit.ly/2Sek03w
อ่านต่อ >> “8 วิธีสร้างวินัยเชิงบวกง่ายๆ
ป้องกันลูกดื้อ เริ่มได้ตั้งแต่ 1 ขวบ” คลิกหน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่