แพทย์เผย! เลี้ยงเด็ก ให้มีความสุข ต้องใช้ จิตวิทยา ให้เป็น - Amarin Baby & Kids
เลี้ยงเด็ก

แพทย์เผย! เลี้ยงเด็ก ให้มีความสุข ต้องใช้ จิตวิทยา ให้เป็น

Alternative Textaccount_circle
event
เลี้ยงเด็ก
เลี้ยงเด็ก

จิตวิทยาการเลี้ยงลูก เลี้ยงเด็ก ทำอย่างไรให้ครอบครัวมีความสุข อบอุ่น ลูกเจริญเติบโตอย่างมีสุขภาพดีทั้งกายและใจ มีพัฒนาการสมวัย พร้อมก้าวเดินไปสู่สังคมภายนอก

แพทย์เผย! เลี้ยงเด็ก ให้มีความสุข ต้องใช้ จิตวิทยา ให้เป็น

ทีมกองบรรณาธิการ ABK ได้มีโอกาสไปร่วมงาน Amarin Baby & Kids Fair ครั้งที่ 22 Presented By Lazada นอกจากสินค้าดี ๆ มากมายแล้ว ยังได้มีโอกาสได้ฟังเสวนาเรื่อง “จิตวิทยาการเลี้ยงลูกน้อยอย่างมีความสุข” โดย อาจารย์ ดร.นิปัทม์ พิชญโยธิน นักจิตวิทยาพัฒนาการเรื่องการเปลี่ยนผ่านจากคู่รักสู่การเป็นพ่อแม่ ประธานแขนงวิชาจิตวิทยาพัฒนาการ คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอาจารย์อาภาพร อุษณรัศมี นักจิตวิทยาพัฒนาการด้านการเล่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการ อาจารย์ประจำแขนงวิชาจิตวิทยาพัฒนาการ คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงขอนำเนื้อหาที่มีประโยชน์มาถ่ายทอดให้คุณแม่ทั้งหลายได้อ่านกันค่ะ

ขอขอบคุณ อาจารย์ ดร.นิปัทม์ พิชญโยธิน และอาจารย์อาภาพร อุษณรัศมี
ขอขอบคุณ อาจารย์ ดร.นิปัทม์ พิชญโยธิน ประธานแขนงวิชาจิตวิทยาพัฒนาการ และอาจารย์อาภาพร อุษณรัศมี อาจารย์ประจำแขนงวิชาจิตวิทยาพัฒนาการ คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

แพทย์เผย!! เลี้ยงเด็ก ให้มีความสุข ต้องใช้ จิตวิทยา ให้เป็น

จิตวิทยา คือ ศาสตร์ที่ศึกษาค้นคว้าเพื่อนำข้อมูลความรู้มาเสนอ อธิบาย และเพื่อควบคุม และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์ จิตวิทยามุ่งศึกษาด้านความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการของร่างกายกับจิตใจ ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นระเบียบแบบแผน เพราะร่างกายและจิตใจมักมีการแสดงออกร่วมกัน อีกทั้งยังแสดงออกในแนวทางที่สามารถทำนายได้

 

อาจารย์ ดร.นิปัทม์ พิชญโยธิน และอาจารย์อาภาพร อุษณรัศมี ได้ให้ความรู้ในเรื่อง การเลี้ยงเด็กให้มีความสุข ดังนี้

ความกังวลของคุณพ่อคุณแม่มือใหม่

คุณพ่อคุณแม่อาจกังวลถึง การเลี้ยงลูก ว่าจะเป็นพ่อแม่ที่ดีได้ไหม มีความรู้พอไหมในการเตรียมตัว ออกมาแล้วจะมีปัญหาพัฒนาการไหม จะเก่งเหมือนลูกข้างบ้านไหม กลัวไม่มีน้ำนม กลัวจะเลี้ยงลูกได้ไม่ดีเท่าที่ควร เกิดความวิตกกังวลในเรื่องต่างๆ คุณหมอแนะนำว่าให้คุณพ่อคุณแม่ลองเขียนปัญหาออกมาเป็นรายการ แล้วดูว่าจะแก้ไขปัญหาเหล่านี้ยังไง เมื่อเห็นว่าสามารถจัดการปัญหาที่เขียนออกมาได้ ก็จะคลายความกังวลลง การเขียนปัญหาออกมาเป็นตัวหนังสือ ทำให้หลุดออกมาจากการคิดที่วนอยู่ในหัวไม่จบสิ้น เมื่อเขียนออกมาแล้วก็จะหยุดคิด และเปลี่ยนมาเป็นหาวิธีแก้ไขแทน จิตวิทยา คือ การไม่คิดซ้ำ เอาสิ่งที่อยู่ในหัวเราออกมาข้างนอกเพื่อให้รู้ปัญหาที่เกิดขึ้นคืออะไร การวิตกกังวลเป็นเรื่องธรรมดาที่เกิดขึ้นได้ แต่เราต้องรู้ทัน และหาวิธีการแก้ปัญหาที่ดีต่อสุขภาพจิตของเรา หากรู้สึกว่าตัวเองคนเดียวไม่ไหว ก็ให้มองไปรอบๆข้างเราว่ามีใครช่วยเราได้บ้าง การที่เราไม่พูดความกังวลออกมาทำให้คนข้างๆเราไม่เข้าใจ และไม่รู้ว่าจะช่วยเราอย่างไร แต่หากเราพูดออกมาเค้าอาจจะช่วยเราได้ หากไม่มีคนรอบข้างที่จะช่วยเราได้ สามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ นักจิตวิทยา จิตแพทย์ เพื่อทำให้เราคลายความกังวลลงได้

ความกังวลคือความคาดหวัง สิ่งที่คิดล่วงหน้า โดยการหาข้อมูลจากการดูชีวิตของคนอื่น แล้วเอาเค้ามาเปรียบเทียบว่าลูกเราน่าจะเป็นแบบลูกดาราที่เราเห็นตามสื่อโซเชียลหรือลูกเพื่อน เราเห็นต้นแบบหรือองค์ประกอบส่วนเล็กเพียงส่วนหนึ่งของชีวิตของคนอื่นๆ เอามาประกอบเป็นภาพที่เราคาดหวังว่าถ้าวันที่ลูกออกมาลืมตาดูโลก เขาจะเป็นอย่างไร คุณแม่ตั้งครรภ์มีสิทธิ์ที่จะกังวล แต่ว่าเราต้องเข้าใจว่าเราไม่สามารถคาดเดาอะไรได้ ความคาดหวังกับความเป็นจริง ถ้าห่างกันมากจะเกิดความเครียดได้ เช่น เราคาดหวังว่าลูกจะต้องเลี้ยงง่ายเหมือนน้องคนนั้น แต่เมื่อลูกเกิดมาแล้วมันไม่ใช่สิ่งที่เราคาดหวัง ฉะนั้นเราต้องยอมรับว่าเด็กทุกคนมีธรรมชาติของเขาเอง ธรรมชาติของเด็กแต่ละคนต่างกัน หากเรากังวลหรือคาดหวังไว้สูงอาจทำให้เราเครียดได้

 

มีวิธีปรับเปลี่ยนแนวคิดการเลี้ยงลูกเลียนแบบดารา เซเลบ ซึ่งเด็กอาจไม่ชอบ

ต้องเข้าใจธรรมชาติของเด็กและวางใจให้เย็น อย่าทำให้ความคาดหวังกับความเป็นจริงห่างกันมาก สิ่งที่รับมาจากบ้านอื่นให้เก็บเป็นข้อมูลพื้นฐานก็พอ อย่าไปยึดติดว่าลูกเราจะต้องเป็นแบบนั้นแบบนี้ เราสามารถเตรียมความรู้พื้นฐานได้ เช่น เข้าคอร์สฝึกเตรียมตัวการเป็นพ่อแม่ ฝึกอาบน้ำ ฝึกให้นม เป็นต้น แต่เมื่อลูกคลอดแล้วคุณพ่อคุณแม่ต้องสังเกตลูกว่าเขาต้องการอะไรมากน้อยแค่ไหน เช่น แม่ซื้อของเตรียมให้ลูก คาดหวังว่าลูกจะได้ใช้ทุกชิ้นที่ซื้อ แต่สุดท้ายลูกไม่ชอบไม่ยอมใช้ เมื่อเรามีความรู้พื้นฐานก็จะทำให้เราใจเย็นยอมรับธรรมชาติของลูกและปรับตัวเราให้เค้ากับลูกได้ เราสามารถหาความรู้พื้นฐานได้ทั้งยูทูป หนังสือ เพื่อนเล่า ช่วยทำให้เราคลายกังวล แต่สิ่งนั้นอาจจะเกิดหรือไม่เกิดกับลูกเราก็ได้ ต้องเข้าใจ ยอมรับ และเลี้ยงลูกด้วยธรรมชาติของเขา

 

3 เดือนแรกเมื่อลูกคลอด

3 เดือนแรกเป็นการทำความรู้จักกับลูก เมื่อพ้น 3 เดือนแล้วจะเข้าใจว่าลูกเป็นแบบไหน ขี้ร้อน ขี้หนาว ชอบอาบน้ำตอนไหน วิธีกล่อมนอนแบบไหนเหมาะกับลูก

 

การเปิดเพลง หรืออ่านหนังสือให้ลูกในท้องฟัง 

มีงานวิจัยที่ระบุว่า พัฒนาการทางการได้ยินของเด็กเกิดขึ้นตั้งแต่ในครรภ์ เด็กสามารถได้ยินและจดจำเสียงของคุณพ่อคุณแม่ได้ตั้งแต่ในครรภ์ มีการพิสูจน์โดยให้เด็กฟังเสียงของแม่สลับกับการให้ฟังเสียงผู้หญิงอื่นที่เด็กไม่คุ้นเคย ปรากฎว่าเด็กมีอัตราการดูดจุกนมที่ถี่กว่าเมื่อได้ยินเสียงของคนที่ไม่คุ้นเคย และเมื่อได้ยินเสียงของคุณแม่จะเปลี่ยนเป็นจุกดูดนมแบบช้าๆ

การเล่านิทานและพูดคุยกับลูกในครรภ์เป็นการสร้างสายใยความผูกพันตั้งแต่ก่อนที่ลูกจะเกิด เด็กจะสามารถได้ยินเสียงตั้งแต่ 4-5 เดือนในท้อง เล่านิทานให้ลูกฟังด้วยความดังปกติเหมือนเวลาพูดก็เพียงพอแล้ว ไม่ต้องพูดให้เสียงดังกว่าเดิม คุณพ่อสามารถพูดใกล้ๆท้องแม่ได้ เมื่อคลอดแล้วคุณแม่เล่านิทาน หรือร้องเพลงเดิมๆให้ลูกฟัง ลูกจำเสียงได้ จะรู้สึกปลอดภัยและอุ่นใจ

 

อ่านต่อ…แพทย์เผย! เลี้ยงเด็ก ให้มีความสุข ต้องใช้ จิตวิทยา ให้เป็น คลิกหน้า 2

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up