ฝึกความรับผิดชอบ ให้ลูก รับผิดชอบเองได้ …เพราะเด็กวัย 6-11 ขวบ เริ่มมีความขี้เกียจแฝงอยู่ในตัว เรียกได้ว่าเป็นปัญหาที่สร้างความท้อใจและกังวลใจให้กับคุณพ่อคุณแม่เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเมื่อพ่อแม่บอกให้ทำอะไร แต่กลับไม่ได้รับการตอบสนองจากลูก ลูกขาดความสนใจในงานที่ต้องทำ และต้องกระตุ้นย้ำหลายครั้ง
“ทำไมแม่ไม่ปลุกผม ดูซิสายแล้วเนี่ย”
“แม่อ่ะ หนูจะนอน มาปลุกหนูทำไมเนี่ยยยย”
“โอ๊ย แม่ขา แม่ไม่ได้แต่งชุดเนตรนารีให้หนูนี่นา”
“นี่ใครมาหยิบกล่องดินสอหนูไป หนูวางอยู่ตรงนี้นี่”
“หา…นี่แม่ไม่ได้เอาหนังสือสังคมใส่กระเป๋ามาให้ผมเหรอ”
ประโยคข้างต้นเป็นเพียงเหตุการณ์สมมติ ที่หมอเชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกเริ่มโต น่าจะเคยได้ยินลูกพูดมาบ้าง ฟังดูเผิน ๆ ก็เหมือนไม่มีอะไร เด็ก ๆ ก็พูดไพเราะดี แต่ถ้าอ่านดี ๆ ในทุกประโยคนั้นดูเหมือนจะแฝงไปด้วยการโทษคนอื่น ซึ่งในที่นี้ก็คือพ่อแม่ค่ะ คุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ ท่านอาจไม่ถือโทษโกรธลูก เพราะเห็นว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่หมอกลับคิดว่าความจริงแล้วนี่เป็นเรื่องที่สำคัญนะคะ เพราะอาจกลายเป็นว่าเรากำลังปล่อยให้ลูกใช้วิธีโทษคนอื่น ทั้งที่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น ส่วนใหญ่เป็นเรื่องส่วนตัวที่ควรจะอยู่ในความรับผิดชอบของเขาเอง
การ ฝึกความรับผิดชอบ ให้ลูก
การฝึกลูกให้เป็นคนมีความรับผิดชอบอาจทำได้ โดยมอบหมายหน้าที่ที่เหมาะสมกับวัยให้ลูกทำ เช่น ให้รับผิดชอบหน้าที่กวาดบ้าน ถูบ้าน ล้างห้องน้ำ ล้างจาน ช่วยงานแม่ในครัว หรือช่วยงานพ่อในสนาม เช่น ช่วยตัดหญ้า รดน้ำต้นไม้ ปลูกต้นไม้ ดูแลความสะอาดบริเวณบ้าน นอกจากรับผิดชอบงานส่วนรวมของบ้านแล้ว งานส่วนตัวก็ต้องสอนให้รับผิดชอบ ไม่ให้เป็นภาระแก่คนอื่น เช่นการดูแลเรื่องเสื้อผ้าของตนเอง เป็นต้น พ่อแม่ต้องฝึกลูกให้เป็นคนตรงต่อเวลา ให้เป็นคนมีระเบียบวินัย ในการกิน การเล่น ดูหนังสือ และนอนให้เป็นเวลา เพื่อลูกจะได้รู้จักบริหารเวลาเป็น ทำงานเป็น นิสัยตรงต่อเวลาจะได้เกิดขึ้นกับลูก
Must read : โรคไม่รู้จักลำบาก โรคใหม่ของเด็กไทยในยุคปัจจุบัน
Must read : เลี้ยงลูกไม่ให้สบายเกินไปป้องกันโรคไม่รู้จักลำบาก
เมื่อมอบหมายหน้าที่ให้ลูกรับผิดชอบแล้ว พ่อแม่ต้องคอยสอดส่องดูแล สอนลูกให้ตระหนักในหน้าที่ของตัวเอง ถ้าลูกปล่อยปละละเลยก็ต้องตักเตือน หรือบางครั้งอาจต้องลงโทษ แต่ถ้าลูกรับผิดชอบในหน้าที่การงานได้ไม่บกพร่องเลย พ่อแม่ก็ควรชมเชยหรือให้รางวัลด้วย เพื่อเป็นกำลังใจในการทำความดีให้ยิ่งๆ ขึ้นไป
Must read : เด็กทำความผิด ใครมีหน้าที่รับผิดชอบ?
นอกจากนั้นยังต้องฝึกลูกให้เป็นคนมีน้ำใจ เอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ช่วยเหลือผู้อื่น ไม่นิ่งดูดาย แม้ว่างานนั้นจะไม่ใช่หน้าที่ของตน เมื่อลูกว่างหรือทำงานในหน้าที่เสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่คนอื่นยังทำไม่เสร็จหรือลูกเห็นพ่อแม่ยังทำงานอยู่ ต้องฝึกลูกให้มีน้ำใจเข้าไปช่วยเหลือ ต้องสอนลูกเสมอว่า การมีน้ำใจต่อผู้อื่นเป็นสิ่งที่ดี ควรทำ เพราะเมื่อเรามีใจต่อผู้อื่น เราก็จะได้น้ำใจเป็นเครื่องตอบแทน เมื่อเราช่วยเหลือผู้อื่น ถึงคราวผู้อื่นก็จะช่วยเหลือเราแน่นอน จะช้าหรือเร็วเท่านั้น ต้องฝึกลูกให้มีน้ำใจต่อส่วนรวม โดยสนับสนุนลูกให้เข้าร่วมกิจกรรมกับเพื่อนกับหมู่คณะ เพราะคนเรานั้น ถึงจะเก่งแสนเก่งเพียงไร แต่ถ้าขาดคนรอบข้างสนับสนุน ก็ยากที่จะประสบความสำเร็จในชีวิต
Must read : วิธีเลี้ยงลูกให้เป็นเด็กมีน้ำใจ รู้จักให้ และเสียสละ
อ่านต่อ >> “เทคนิคจากหมอ 3 วิธีฝึกให้ลูกรับผิดชอบเองได้” คลิกหน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่