เลี้ยงลูกอย่างไรให้เป็นโรค "ฮ่องเต้ซินโดรม"? - Page 2 of 2 - Amarin Baby & Kids

เลี้ยงลูกอย่างไรให้เป็นโรค “ฮ่องเต้ซินโดรม”?

Alternative Textaccount_circle
event

การเลี้ยงดูแบบใด เสี่ยงลูกเป็นฮ่องเต้ซินโดรม?

กลุ่มเสี่ยงที่อาจเป็นฮ่องเต้ซินโดรม

  • เด็กที่ถูกเลี้ยงโดยผู้ปกครองที่ตอบสนองความต้องการของเด็กตลอดเวลา เพราะเข้าใจว่าการตอบสนองเร็ว คือ ความสุขของลูก
  • ผู้ปกครองที่ไม่เคยให้เด็กได้พบกับความผิดหวังใด ๆ เลย
  • ผู้ปกครองที่ไม่เคยทำโทษ แม้ว่าเด็กจะทำผิดหรือทำพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมก็ตาม

ผลกระทบจากภาวะฮ่องเต้ซินโดรม

ในระยะยาว เด็กที่มีภาวะนี้จะประสบกับปัญหาในด้านบุคลิกภาพ ดังนี้

  • ขาดความยอมรับนับถือในตนเอง (Low Self-Esteem) เพราะได้สิ่งที่ตนเองต้องการมาได้ง่าย ๆ โดยไม่ต้องพยายามอะไร จึงไม่มีความภูมิใจในตัวเอง
  • ไม่รู้จักควบคุมและจัดการอารมณ์ของตัวเอง เมื่อรู้สึกผิดหวัง จะมีอาการเครียด โกรธ โมโห หรืออาจแสดงปฏิกิริยารุนแรงที่อาจรุกล้ำสิทธิของผู้อื่น เพราะไม่คุ้นเคยกับการยอมรับความต้องการของผู้อื่น
  • มีความอดทนต่ำ ไม่ชอบความยุ่งยาก ไม่ชอบรอนาน เพราะชินกับการได้รับการตอบสนองอย่างรวดเร็วจากพ่อแม่
  • ก้าวร้าว เพราะไม่รู้จักควบคุมอารมณ์ตนเอง และคิดเพียงว่าความคิดของตนเองถูกต้องเสมอ ขาดความเคารพในตัวผู้อื่นที่คิดเห็นไม่ตรงกับตนเอง
  • มีโอกาสที่จะติดสุราและยาเสพติด
  • ผลการเรียนไม่ดี เนื่องจากเด็กที่มีภาวะนี้จะไม่มีเป้าหมายในชีวิต
  • ไม่ชอบอยู่ในกติกาและข้อจำกัดใด ๆ สนใจแต่ความต้องการของตนเอง ไม่มีความเข้าใจเหตุและผลของสิ่งต่าง ๆ
  • เห็นตนเองเป็นจุดศูนย์กลางของสังคม ต้องได้สิ่งที่ต้องการตลอดเวลา
โรคซึมเศร้าในเด็ก
โรคซึมเศร้าในเด็ก

ป้องกันภาวะ ฮ่องเต้ซินโดรม ได้อย่างไร?

ภาวะนี้ การเลี้ยงดูมีความสำคัญเป็นอย่างมาก หากคุณพ่อคุณแม่ต้องการหลีกเลี่ยงให้ลูกห่างไกลจากภาวะฮ่องเต้ซินโดรม สามารถปฏิบัติตามหลัก 3 ประการต่อไปนี้

  • ให้เวลาคุณภาพกับลูก โดยเวลาคุณภาพไม่จำเป็นต้องอยู่กับลูกทั้งวันทั้งคืนนะคะ คุณพ่อคุณแม่สามารถไปทำงานหรือทำสิ่งอื่น ๆ ได้ เพียงแต่ควรจะแบ่งเวลาอยู่กับลูกบ้าง โดยเวลาที่ใช้อยู่กับลูกนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรจะพุ่งความสนใจไปที่ลูกและครอบครัวเท่านั้น ไม่ควรนำเรื่องงาน หรือนำมือถือมาแทรกในช่วงเวลาที่อยู่กับลูก เล่นกับลูก เช่น การช่วยลูกทำการบ้าน หรือทานอาหารเย็นร่วมกันและพูดคุยกัน เป็นต้น
  • ใช้กฏเกณฑ์กับลูกบ้าง เด็กทุกคนควรจะได้ทราบถึงกฏเกณฑ์ของการอยู่ร่วมกันในสังคม รู้ว่าสิ่งไหนทำได้ สิ่งไหนทำไม่ได้ สิ่งเหล่านี้จะสอนให้ลูกรู้ถึงระเบียบวินัย การอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม และการเข้าใจเห็นใจผู้อื่น
  • ให้รางวัลเมื่อลูกมีความพยายาม ไม่ใช่ให้รางวัลเมื่อลูกทำได้นะคะ รางวัลนี้คุณพ่อคุณแม่จะต้องย้ำกับลูกว่าที่ได้รับรางวัลเพราะลูกมีความพยายามที่จะทำให้มันสำเร็จ ซึ่งต่อให้ทำไม่สำเร็จลูกก็จะได้รับรางวัลนี้อยู่ดี เพราะลูกมีความพยายามและความตั้งใจ สิ่งนี้จะทำให้ลูกเกิดความยอมรับนับถือในตนเองได้นั่นเอง (Self-Esteem) แต่ข้อควรระวังคือ รางวัลที่คุณพ่อคุณแม่จะให้ลูกจะต้องเหมาะสมกับความพยายามและวัยของลูก ไม่ควรให้ของรางวัลที่มากเกินไป

พ่อแม่ผู้ปกครองทุกคนย่อมรักลูก ไม่อยากให้ลูกต้องเสียใจหรือพบเจอกับสิ่งที่ไม่เหมาะไม่ควร แต่ต้องอย่าลืมนะคะว่าหากลูกไม่เคยเสียใจเลย เมื่อโตขึ้นลูกจะต้องเจอกับโลกภายนอกที่อาจจะโหดร้ายกับลูกมากกว่าตอนที่อยู่กับพ่อแม่ แล้วลูกจะจัดการกับสิ่งเหล่านี้ด้วยตัวเองได้อย่างไร เมื่อไม่มีพ่อแม่มาคอยแก้ปัญหาให้แล้ว

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

Self Esteem การเห็นคุณค่าในตนเอง สิ่งสำคัญที่ต้องสร้างให้ลูก

10 ทักษะสอนลูกให้เป็นคนดี มีศีลธรรม!

เดนมาร์กสอนวิชา “ความเห็นใจผู้อื่น” ในชั้นเรียน

เลี้ยงลูกอย่างไร? ให้ลูกมี พัฒนาการด้านอารมณ์ ที่ดี

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, youaremom.com

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up