เลี้ยงลูกให้ดีงาม เดินตาม คำสอนพ่อ - amarinbabyandkids

เลี้ยงลูกให้ดีงาม เดินตามคำสอนพ่อ

event

คำสอนของพ่อ ” คือพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ทรงพระราชทาน ไว้ตลอด 70 ปีที่ผ่านมา นับเป็นมรดกล้ำค่าของแผ่นดินที่ลูกทั้งหลายควรน้อมนำไปปฏิบัติตาม เพื่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่ผู้ปฏิบัติเองและเกิดประโยชน์สุขต่อชาติบ้านเมืองและสังคมไทยโดยรวม

"...เด็ก เป็นผู้ที่จะได้รับช่วงทุกสิ่งทุกอย่างต่อจากผู้ใหญ่ ดังนั้นเด็กทุกคนจึงสมควรและจำเป็น
ที่จะต้องได้รับการอบรมเลี้ยงดูอย่างถูกต้องเหมาะสม ให้มีศรัทธามั่นคงในคุณงามความดี
มีความประพฤติเรียบร้อย สุจริต และมีปัญญา ฉลาดแจ่มใสในเหตุผล..."

พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
พระราชทานในโอกาสปีเด็กสากลวันที่ 1 มกราคม 2522

ตลอดระยะเวลา 70 ปี ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงครองราชย์สมบัติ พระราช   กรณียกิจต่างๆ ที่พระองค์ทรงปฏิบัตินั้นล้วนเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติอย่างหาที่สุดมิได้ ถึงแม้วันนี้พระองค์ได้เสด็จสู่สวรรคาลัยแล้ว แต่พระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสของพระองค์ ยังคงมีคุณค่าต่อปวงชนชาวไทยในการนำมาเป็นหลักยึดเพื่อใช้ในการดำรงชีวิต เปรียบเสมือนเป็นคำสอนของพ่อที่ยิ่งใหญ่และมีคุณค่า

ในฐานะประชาชนของแผ่นดิน คงไม่มีการตอบแทนคุณใดดีไปกว่า การน้อมนำคำสอนของพ่อ มาประยุกต์ใช้ในชีวิต เพื่อเป็นคนดีให้พ่อได้ภูมิใจ โดยสถาบันสุขภาพเด็กฯ จึงได้ขอน้อมนำพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบางส่วนมานำเสนอพร้อมสอดแทรกข้อคิดที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงดูลูกน้อย เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่ผู้อ่านไม่เพียงได้ปฏิบัติตามเท่านั้น แต่ยังสามารถส่งต่อการดำเนินชีวิตตามพระบรมราโชวาทไปยังเจ้าตัวน้อย เปรียบเสมือนการเพาะเมล็ดพันธุ์แห่งความดีงามในใจลูก สืบสานเจตนารมณ์ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช อันทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชนชาวไทย ให้คงอยู่ต่อไปไม่รู้จบ

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

แนวทางการเลี้ยงลูกให้ดีงาม เดินตามคำสอนพ่อ

“…เด็กๆ ต้องฝึกหัดอบรมทั้งกายทั้งใจให้เข้มแข็งเป็นระเบียบ และสุจริตเพื่อประโยชน์ของตนในภายหน้า เพราะคนที่ไม่เข้มแข็งไม่สามารถควบคุมกายใจให้อยู่ระเบียบและความดี ยากนักที่จะได้ประสบความสำเร็จและความเจริญอย่างแท้จริงในชีวิต…”

ความตอนหนึ่ง ในพระบรมราโชวาทพระราชทานเนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ปี ๒๕๒๖

line21

1. สร้างความเข็มแข็งทางใจให้ลูกน้อย 

ความเข้มแข็งทางใจ คือ ความสามารถในการจัดการกับปัญหาและวิกฤติของชีวิตให้สามารถฟื้นตัวกลับสู่สภาพปกติได้ในเวลาอันรวดเร็ว อีกทั้งเกิดการเรียนรู้และเติบโตจากการเผชิญหน้ากับปัญหาและวิกฤติ ซึ่งแต่ละคนมีวิธีการจัดการปัญหา หรือการมองปัญหาไม่เหมือนกันทั้งนี้การจะรับมือกับปัญหาอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดูและประสบการณ์ในวัยเด็กเป็นสำคัญ

ความเข้มแข็งทางใจในภาษาอังกฤษใช้คำอย่างเป็นทางการว่า Resilience แต่หากเป็นภาษาพูดก็คือ bouncing back หรือความสามารถในการคืนสภาพสู่ความยืดหยุ่นสมดุล เปรียบเหมือนเวลาที่เราเจอสภาวะที่ไม่พึงประสงค์เราจะสามารถกลับมาตั้งหลักใหม่ได้ดีเพียงใด ซึ่งความสามารถในการปรับตัวหลังจากเจอภาวะที่ไม่พึงประสงค์นั้นแต่ละคนมีไม่เท่ากัน ทั้งนี้เป็นเพราะแต่ละคนมีความเข้มแข็งทางใจไม่เหมือนกันนั่นเอง

ทั้งนี้ การสร้างความเข้มแข็งทางใจ เป็นกระบวนการพัฒนาส่วนบุคคล เด็กแต่ละคนมีพื้นฐานอารมณ์ และจิตใจแตกต่างกัน จึงมีความเป็นไปได้ว่าในสถานการณ์เดียวกันเด็กๆ จะตอบสนองแตกต่างกันไป อีกทั้งสภาพแวดล้อม ค่านิยมของสังคมที่แตกต่างก็อาจส่งผลต่อการแสดงออกต่อปัญหาของเด็กๆ ต่างกันไปด้วย อย่างไรก็ดี พ่อแม่ผู้ปกครองสามารถส่งเสริมให้ลูกพัฒนาไปสู่การมีความเข้มแข็งทางใจได้ด้วยวิธีต่างๆ ดังนี้

  • เด็กๆ ควรมีความรู้สึกผูกพันมั่นคงกับผู้เลี้ยงดูอย่างน้อยหนึ่งคน ที่จะเป็นตัวอย่างในการใช้ชีวิต
  • เปิดโอกาสให้ลูกได้ตัดสินใจเรื่องต่างๆ เองบ้าง โดยที่คุณเป็นผู้สังเกตทัศนคติของลูกอย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ลูกได้แสดงความรู้สึกต่อผลของการตัดสินใจได้ไม่ว่าจะดีหรือร้ายด้วยตัวเอง
  • ให้ลูกรู้ว่าคุณมีความห่วงใยในทุกสิ่งที่ลูกทำ และคุณคาดหวังว่าลูกจะทำทุกสิ่งอย่างดีที่สุด ไม่ว่าดีที่สุดของลูกจะแค่ไหนก็ตาม พ่อแม่จะยอมรับและคอยให้กำลังใจเสมอ
  • มีส่วนร่วมในประสบการณ์ต่างๆ ที่ทำให้ลูกรู้สึกว่าเขาเป็นคนพิเศษและเป็นตัวของตัวเอง สอนลูกให้เข้าใจวิธีการรับมือกับคำชม และคำวิพากษ์วิจารณ์ต่างๆ
  • เด็กๆ จะรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ ได้ดีกว่า หากเขารู้สึกมั่นคงและปลอดภัย ดังนั้นไม่ว่าคุณพ่อคุณแม่จะทำงานเครียดเพียงใด ควรหาเวลาในแต่ละวันที่จะพูดคุยถามไถ่ความเป็นไปในชีวิตลูก แบ่งปันเรื่องราวในชีวิตประจำวันของคุณ ซึ่งถือเป็นการสร้างรากฐานความเชื่อใจที่สำคัญระหว่างคุณและลูก
  • เปิดโอกาสให้ลูกได้ทำงานเพื่อคนอื่นๆ เช่น การเป็นอาสาสมัคร หรือพาลูกไปบริจาคสิ่งของให้กับผู้ขาดแคลน กิจกรรมเหล่านี้จะทำให้ลูกรู้ถึงความสามารถของตนเอง และช่วยให้ลูกค้นพบตัวตนได้ง่ายขึ้นเมื่อเข้าสู่วัยรุ่นอีกทั้งยังทำให้ลูกมองเห็นคุณค่าในตัวเองและในคนอื่นๆ รอบตัวอีกด้วย
  • ทำให้ลูกรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว พ่อแม่รู้สึกขอบคุณที่มีลูกอยู่ในชีวิต มอบหมายให้ลูกดูแลสัตว์เลี้ยง ดูแลน้อง และงานบ้านอื่นๆ ที่เหมาะสมกับความสามารถของลูก
  • สอนลูกให้ยอมรับสิ่งที่เขาไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ อธิบายให้ลูกเขาใจว่าแต่ละคนไม่จำเป็นต้องเหมือนกันและความแตกต่างนี่เองที่ทำให้ทุกคนมีความพิเศษเฉพาะตัว
  • สอนลูกให้รู้จักต่อสู้เพื่อสิทธิของตนเองด้วยวิธีที่เหมาะสม พ่อแม่ควรเป็นตัวอย่างที่ดีในการพูดคุยด้วยเหตุผลและให้เกียรติซึ่งกันและกัน แม้จะมีความคิดไม่เหมือนกันก็ตาม

อ่านต่อ >> “แนวทางการเลี้ยงลูกให้ดีงาม เดินตามคำสอนพ่อ”
(
เลี้ยงลูกให้มีเสรีภาพ อย่างพอดี) คลิกหน้า 2

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up