หมอชี้! วิธีปราบ เด็กร้องไห้ ลูกร้องแบบไหนเรียกเอาแต่ใจ - Page 2 of 2 - Amarin Baby & Kids
เด็กร้องไห้

หมอชี้! วิธีปราบ เด็กร้องไห้ ลูกร้องแบบไหนเรียกเอาแต่ใจ

Alternative Textaccount_circle
event
เด็กร้องไห้
เด็กร้องไห้

วิธีการรับมือ เด็กร้องไห้

ร้องไห้แบบที่ 1

เด็กๆ กลุ่มนี้ ต้องการตอบสนอง ด้วยความรัก ความอ่อนโยน ความเข้าใจ !!

  1. กอดลูก ในขณะที่ร่างกายพ่อแม่สงบมากพอ (คือไม่อยู่ในอารมณ์โกรธ ปรี๊ด หรือกังวลเมื่อลูกต้องแยกจากเรา) จะทำให้ร่างกายและสมองของลูกกลับเข้าสู่สมดุล หลั่งสารช่วยให้ลูกสงบตามธรรมชาติออกมา
  2. การพูดกับลูกอย่างนุ่มนวล ใช้คำง่ายๆสั้นๆ อย่างหมอ จะพูดกับลูกระหว่างที่กอดและลูบหลังลูกเสมอ “I know your feeling” พูดอย่างอ่อนโยน กอดด้วยความรัก ความอบอุ่น แสดงสีหน้าท่าทางที่เข้าใจ ลูกจะสงบลง ลูกจะรู้สึกปลอดภัย
  3. ใช้วิธีเบี่ยงเบนความสนใจ (ใช้ได้ผลตอนที่เริ่มแย่แรกๆ) ถ้าร้องไห้หรือแย่มากแล้ว มักใช้วิธีนี้ไม่ได้ผล
  4. หลีกเลี่ยงการเดินหนี การเพิกเฉย การแยกให้เด็กไปนั่งคนเดียว การตีเด็ก การขังเด็กไว้ในห้องคนเดียว เพราะจะยิ่งทำให้เด็กมีอารมณ์กลัว หรือ โกรธมากขึ้นกว่าเดิม
  5. การสอนในตอนที่ลูกแย่ หรือมีพายุอารมณ์โหมกระหน่ำ ไม่มีประโยชน์แต่อย่างใด เพราะในตอนนั้น หูลูกจะปิด ไม่ได้ยินอะไร สมองส่วนบนที่รับฟังเหตุผล ก็ไม่ทำงาน เวลาที่เหมาะสม คือหลังจากลูกสงบลงแล้ว เวลานั้นสมองส่วนบนจะทำงานดีขึ้น ลูกถึงจะรับฟังคำสอนและเหตุผล

ร้องไห้แบบที่ 2

เด็กที่ร้องไห้แบบนี้ ควรได้เรียนรู้ว่า เขาจะไม่ได้ในสิ่งที่เค้าต้องการในเวลาที่เค้าอาละวาดโวยวายแบบนี้ การบังคับคนอื่น ด้วยวิธีการนี้ เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง !! การร้องไห้ งอแงหรือ อาละวาดแบบนี้ ต้องการให้คนอื่นสนใจ ให้คนอื่นดู เมื่อพ่อแม่ประเมินเหตุการณ์และมั่นใจว่า ลูกไม่ได้รู้สึกแย่ คับข้องใจหรือกลัว แต่อย่างใด วิธีการตอบสนองต่อการร้องไห้แบบนี้คือ

  1. การเดินหนีออกมา เด็กจะรู้ว่ามันไม่ได้ผล เพราะไม่มีใครดู ไม่มีใครสนใจ เมื่อต้องแสดงคนเดียว ก็ไม่สนุก เด็กจะหยุด !!
  2. นิ่งสงบ สยบความเคลื่อนไหว ทำทุกอย่างตามปกติ คุณพ่อคุณแม่กำลังทำอะไรอยู่ในขณะนั้น ก็ให้ทำต่อไปโดยไม่ต้องไปสนใจลูกที่กำลังอาละวาดอยู่
  3. พูดชัดเจนและหนักแน่น (ไม่มีอารมณ์ปรี๊ด อารมณ์ลบหรือตะโกนเสียงดัง) ให้บอกลูกแบบเดิมด้วยเหตุผลและยืนยันทุกครั้ง ลูกจะรู้ว่า ยังไงก็ไม่ได้ ไม่ต้องพยายาม !!
  4. รอจนลูกหยุดร้องแล้วถึงปลอบ การกอด หอม โอ๋ ใช้คำพูดเกลี้ยกล่อม การต่อรองทั้งแม่ต่อรอง หรือลูกเป็นคนต่อรองขณะร้องไห้ อาละวาด จะเหมือนให้รางวัลลูกที่กำลังอาละวาดอยู่ ขอบอกว่าวิธีนี้ไม่ได้ผล หากต้องการปลอบ เกลี้ยกล่อม หรือต่อรอง ควรทำเมื่อลูกหยุดร้องไห้ อาละวาด และยอมรับฟังเหตุผลแล้วเท่านั้น

ความเคารพ ความเกรงใจ ด้วยอารมณ์สงบของคุณพ่อคุณแม่ พูดหนักแน่น ถ้าไม่ ก็คือไม่จริง ๆ ไม่ปล่อยตามอารมณ์ “วันนี้ไม่ พรุ่งนี้ได้ !!” ลูกจะเรียนรู้ว่า “ลูกบังคับพ่อแม่ด้วยวิธีนี้ ไม่ได้ !!” ลูกจะรักและเคารพคุณพ่อคุณแม่ และไมแสดงพฤติกรรมท้าทายยั่วยุอารมณ์เรา โกรธ อยากเอาคืน (เพราะพ่อแม่ไม่เคยยั่วยุ หรือทำให้โกรธ ทำให้แย่ มีแต่ความรัก ความเข้าใจที่มอบให้มาตลอด) ลูกจะเรียนรู้อาการสงบ การพูดจากันดีๆจากพ่อแม่ และค่อย ๆ เรียนรู้ การจัดการอารมณ์และความต้องการของตนเอง จนสามารถควบคุมอารมณ์ตนเองได้

สุดท้ายนี้คุณหมออยากบอกพ่อแม่ทุกคนว่า ไม่มีเด็กคนไหนเสีย เพราะการให้ความรักความเข้าใจ เด็กจะเสีย เพราะไม่ได้รับการสอน รักลูก เข้าใจลูกได้ แต่ไม่ตามใจในพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง แยกให้ออกว่า เด็กร้องไห้ งอแง อาละวาดแบบไหน จะได้ตอบสนองได้ถูก !!

>>ตอบสนองไม่ถูก มีแต่ผลเสียนะคะ<<

 

อ่านต่อบทควาที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่นี่

Terrible two วัย 2 ขวบ มารู้จักกับลูกวัยนี้กัน

Terrible Threes วายร้าย 3 ขวบ กับวิธีรับมือ!!

แม่แชร์ วิธีจัดการลูกดื้อ จากคลินิกพัฒนาการเด็กได้ผลชัวร์!

 

ขอบคุณสาระดีๆ จาก : คุณหมอภา / Jeerapa prapaspong

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up