2. “หัวเราะ” ก่อนเปลี่ยนกิจกรรม
การช่วยลูกเปลี่ยนจากกิจกรรมหนึ่งไปอีกกิจกรรมหนึ่งด้วยการสร้างเสียงหัวเราะ จะทำให้ลูกมีความพร้อมในการเปลี่ยนแปลง ยกตัวอย่างเช่น ในตอนเช้าจากที่เคยปลุกลูกแล้วให้เขาเดินไปอาบน้ำทันที ลองเปลี่ยนเป็นปลุกลูกขึ้นมาแล้วเล่นกับลูกก่อน ให้ได้มองหน้าและได้หัวเราะกันจนคุณพ่อคุณแม่รู้สึกได้ว่าลูกพร้อมที่จะไปอาบน้ำแล้วค่อยพากันไปอาบน้ำหรือแทนการบอกให้ลูกไปกินข้าวด้วยการชวนลูกว่า “ลูกลิงของแม่มาลองดูสิว่าตอนเช้าลิงเค้ากินอะไรกัน” เป็นต้น
Must read : 4 กิจกรรม ช่วยพัฒนาสมองส่วนหน้าให้ลูกน้อย
Must read : มาทำ กิจกรรมร่วมกับครอบครัว กันเถอะ
การเล่นสนุกกับลูก จะช่วยกระตุ้นสารเอนโดฟินและออกซิโทซินให้ทั้งลูกและตัวคุณพ่อคุณแม่เองซึ่งนอกจากจะช่วยกระชับความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างลูกกับเราแล้ว ยังช่วยให้ลูกสามารถจัดการกับความเครียดและความเสียใจภายในตัวเองได้อีกด้วยทำให้ลูกมีอารมณ์มั่นคง สามารถควบคุมและยับยั้งอารมณ์ของตัวเองได้และให้ความร่วมมือกับเราอย่างเต็มใจ
ในทางตรงข้ามหากว่าเราไม่เล่นกับลูกความเครียดและความเสียใจของลูกจะถูกสะสมกักเก็บเอาไว้ในใจและจะระบายออกมาเป็นพฤติกรรมไม่เหมาะสมไม่ว่าจะเป็นความก้าวร้าว การต่อต้าน นิสัยขี้งอแง นิสัยขี้โมโหหรือเก็บกดเก็บตัวนิ่งเงียบ ไม่ชอบสังคมกับใคร
Must read : วิธีเล่นสนุกสร้างเสียงหัวเราะ เสริมพัฒนาการให้กับลูกน้อยวัย 0-1 ปี
อ่านต่อ >> “วิธีบอกรักเพื่อให้ลูกรับรู้ได้” คลิกหน้า 3
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่