วิธีบอกรักลูก 4 ข้อ พ่อแม่สามารถทำให้ลูกรับรู้ได้ - amarinbabyandkids

อยากให้ลูกรู้ว่ารัก พ่อแม่ต้องทำยังไง?

event

วิธีบอกรักลูก

3. ปิดเครื่องมือสื่อสาร

เพราะการเล่นเครื่องมือสื่อสารไปด้วยพูดกับลูกไปด้วยจะทำให้ลูกรู้สึกได้ว่าเขานั้นมีความสำคัญกับพ่อแม่น้อยเพียงไรและแน่นอนว่าเมื่อคุณพ่อคุณแม่ไม่ให้ความสนใจกับลูกแล้วลูกก็จะเรียกร้องความสนใจหรือไม่ก็มองหาความสนใจอย่างอื่น และไม่สนใจคุณพ่อคุณแม่ด้วยเช่นกัน เราจึงมักเห็นภาพที่ลูกมองจอแท็ปเล็ตไม่วางตาและไม่ค่อยสนใจฟังสิ่งในที่คุณพ่อคุณแม่พูด

Must read : ทำอย่างไร? ให้เตาะแตะสนใจฟังแม่บ้าง
Must read : แม่ไม่สนใจมัวแต่เล่นมือถือ ลูกสาวจึงเอ่ยปากพูดประโยคนึง แม่ถึงกับไม่กล้าเล่นมือถืออีกเลย

แต่การประสานตากัน การมองหน้าลูก แล้วพูดจะทำให้ลูกรู้สึกได้ว่าเขามีตัวตนและมีความสำคัญกับพ่อแม่และที่สำคัญวิธีนี้ยังสามารถป้องกันการติดเกมและสังคมออนไลน์ของลูกได้อีกด้วย เพราะหากว่าคุณพ่อคุณแม่สนใจพูดคุยมองตากับลูกแล้วลูกก็จะสนใจอย่างอื่นไปไม่ได้นอกจากฟังเสียงพูดคุยสนทนากับคุณพ่อคุณแม่จริงไหมคะ

Must read : วิธีการเลี้ยงลูกอย่างชาญฉลาด ของ ‘เจ้าชายวิลเลียม’ ดยุกแห่งเคมบริดจ์ (อังกฤษ)

วิธีบอกรักลูก

4. ช่วงเวลาพิเศษ 15 นาที

คือการใช้เวลากับลูกสองต่อสอง 15 นาทีทุกๆวัน และให้ในช่วงเวลาเป็นเวลาพิเศษที่อนุญาตให้ลูกได้ทำอะไรก็ได้ที่ลูกอยากจะทำด้วยกันกับคุณพ่อหรือคุณแม่ เช่น เดินเล่นด้วยกันเล่นเกมด้วยกัน เต้นด้วยกัน อ่านนิทานด้วยกัน หรือต่อจิ๊กซอว์ด้วยกันเป็นต้น

และให้เป็นช่วงเวลาที่เปิดโอกาสให้ลูกได้เป็นคนนำกิจกรรมและคุณพ่อคุณแม่เป็นคนทำตาม วิธีการนี้นอกจากจะช่วยให้ลูกได้ผ่อนคลายอารมณ์จากการที่เขาได้รับคำสั่งมาแล้วทั้งวันแล้วยังช่วยส่งเสริมทักษะการสื่อสารการทำงานร่วมกับผู้อื่นและเห็นอกเห็นใจผู้อื่นได้อีกด้วย

Must read : เหตุผลที่ควรเล่านิทานและเทคนิคการเล่านิทานให้ลูกน้อยเพลิดเพลินและมีความสุข

ความรักของคุณพ่อคุณแม่ที่มีต่อลูกแม้ว่าจะมากอย่างไม่มีเงื่อนไขแต่ใช่ว่าจะล้นออกมาจนลูกสามารถรับรู้ได้เพียงแค่เราปรับเปลี่ยนวิธีการสื่อสารนิดหน่อยกระชับความสัมพันธ์กับลูกวันละน้อยผลลัพธ์ที่ได้ก็จะงอกเงยเป็นความรักความผูกพันในครอบครัวที่มีคุณค่ามหาศาลอย่างหาที่เปรียบไม่ได้…

เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา …เรามาเริ่มกระชับความสัมพันธ์กับลูกตั้งแต่วันนี้เลยกันเถอะค่ะ ^^

อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก!


ขอบคุณบทความจาก : ผศ.ดร. ปนัดดา ธนเศรษฐกร  อาจารย์สาขาพัฒนาการมนุษย์  สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว  มหาวิทยาลัยมหิดล นิตยสาร Amarin Baby & Kids ฉบับที่ 143 มกราคม 2560

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up