-> เด็ก 2 ขวบเพิ่งเดินแข็ง
พ่อแม่ก็ส่งเข้าเนอสเซอรี่ ปีละ 8 หมื่น กลัวลูกจะพัฒนาการช้าไม่ทันเพื่อน … กลายเป็นส่งลูกอายุน้อยเกินไปติดหวัดที่โรงเรียน เพราะเด็กยังไม่มีภูมิต้านทาน
-> อนุบาลยันประถม
พ่อแม่ก็จัดเต็ม ทั้งใน นอกหลักสูตร เด็กอนุบาล 3 ต้องกวดวิชาสอบเข้าป.1 และเสริมด้วยวาดภาพ จินตคณิต ว่ายน้ำ ไวโอลิน อังกฤษ จีน ไทย เทควันโด้ อูคูเลเล่ ฯลฯ กลัวลูกจะเก่งไม่รอบด้าน กลัวจะน้อยหน้าเด็กข้างบ้าน ลูกเลิกเรียนเดินแทบไม่ตรงทาง
.
.
.
-> มัธยม อมเปรี้ยวอมหวาน
คราวนี้หนักเลย เรียนพิเศษตอนเย็นที่สยาม เสาร์อาทิตย์ จัดเต็มวัน พ่อแม่ยอมทรมานไปนอนบนทางเดินตึกอ.อุ๊ ตึกสยามกิตติ์ เพื่อส่งข้าวส่งน้ำลูกรัก ปิดเทอมไม่มีพัก ซัมเมอร์ยุโรป ออสเตรลีย บางทีเด็กไม่อยากไป พ่อแม่นี่แหละดันก้นให้ไป
.
.
บางบ้าน หมดเงินกับลูกปีละ 6-7 แสน ยังไม่ทันเข้ามหาลัยกดไปเป็นสิบล้าน!!!
พอ เรียนจบ บางคนไปคาดหวังว่า ลูกฉันเลี้ยงมาอย่างพิเศษใส่ไข่ เพิ่มข้าว
ดังนั้นจะจ้างลูกฉัน มันต้องแพงกว่าสิ …นี่ส่งเรียนไปสิบกว่าล้านนะ
.
.
————————————
ปัญหาคือ คุณค่าของใบปริญญา
พ่อแม่ กับ นายจ้าง มองไม่เท่ากัน
————————————
.
.
พ่อแม่ชาวไทย ตีค่าใบปริญญาลูกรักสูงมาก เพราะเราอยู่ในกระบวนการจ่ายเงินจริง มาอย่างยากลำบาก ยาวนาน 20 ปี
นายจ้าง กลับตีค่าไม่สูงเท่า
คำถามใหญ่ของเขามี 3 คำถาม คือ
- ลูกคุณทำอะไรเป็นบ้าง
- ลูกคุณเคยทำอะไรสำเร็จมาบ้าง และ
- ลูกคุณจะมาสร้างความสำเร็จอะไรให้ที่นี่
อย่าลืมว่า ยุคนี้คือ ตลาดแรงงานที่เปิดกว้าง…