โดยคุณแม่สามารถช่วยลูกจับวันพิเศษและจดชื่อของเล่น ได้ดังนี้
วันสอบ
– ตุ๊กตาหมี
– รถไฟของเล่น
วันเกิด
– บล็อกไม้
– ตัวต่อเลโก้
วันคริสต์มาส
– รถของเล่น
– เครื่องบิน
วันปีใหม่
– ลูกบอล
– กลอง
หากว่าลูกยังเล็กคุณพ่อคุณแม่อาจเป็นคนจดรายการของเล่นให้ลูกหรือให้ลูกวาดรูปไว้ก็ได้ค่ะและเมื่อไหร่ก็ตามที่ลูกร้องอยากได้ของเล่นอีกบอกลูกไปเลยค่ะว่า “ได้เลย พ่อ/แม่อยากซื้อให้ หนูไปจับวันพิเศษ มาจดชื่อของเล่นไว้เลย วันไหนมาถึงก่อน พ่อ/แม่ซื้อให้เลย” รับรองว่านอกจากจะช่วยให้ลูกรู้จักหยุดคิดก่อนจะซื้อแล้ว ยังสามารถช่วยลดปัญหาการทะเลาะกับลูกเรื่องไม่ซื้อ ของเล่นให้ลูกหรือการร้องไห้ดิ้นกับพื้นเพราะอยากได้ของเล่นได้อีกด้วยค่ะ
4. ตักเตือนและเบี่ยงเบน
แม้คุณพ่อคุณแม่จะทำการบ้านมาดี แต่เวลาเด็กเห็นของเล่นแล้ว น้อยคนที่จะบังคับใจตัวเองไม่ให้อยากได้ มันเป็นเรื่องยากสำหรับเด็กที่พ่อแม่ต้องทำความเข้าใจด้วย ไม่ใช่ดุว่าอย่างเดียวว่าตกลงกันแล้วไงว่าไม่ซื้อๆ หน้าตาขมึงเชียว เด็กก็คือเด็ก พ่อแม่ควรเตือนควบคู่ไปกับการปลอบใจว่า “เราตกลงกันแล้วนะลูกว่าจะไม่ซื้อของเล่นในคราวนี้ แม่ว่าเราลองไปดูหนังสือกันไหม” เป็นการเบี่ยงเบนความสนใจของลูกให้ไปสนใจในสิ่งอื่น หรือในสิ่งที่พ่อแม่อยากชักชวนให้ลูกเรียนรู้ร่วมกัน เพราะความสนใจของเด็กยังสั้นอยู่
5. เดินหนี
การเดินหนี ไม่การเดินหนีไปที่อื่น จริงอยู่ว่าโดยปกติเด็กจะจะร้องอยู่สักพัก แต่เมื่อแน่ใจว่าไม่ได้แน่ๆ เขาจะวิ่งไปหาพ่อแม่เอง แล้วเขาก็จะเรียนรู้ว่าทำวิธีนี้ก็ไม่ได้อยู่ดี ซึ่งส่วนใหญ่คนเป็นพ่อแม่มักจะไม่สามารถผ่านด่านลูกร้องไห้แล้วดิ้นไปได้ สุดท้ายก็เลยกลายเป็นปัญหาทางด้านพฤติกรรมของลูกต่อไป
วิธีการเดินหนีอยากจะให้เป็นหนทางสุดท้าย เพราะเป็นการทำร้ายจิตใจเด็กด้วย และแนวโน้มคนเป็นพ่อแม่ก็มักพลาดพลั้งเพราะทนไม่ได้ที่เห็นลูกร้อง หรือเพราะอายผู้คนก็ตาม ฉะนั้น ถ้ามีการเตรียมรับมืออย่างดีมาก่อนหน้านี้ ก็อาจไม่ต้องมีใครเสียน้ำตา และไม่ต้องมีใครมาเสียใจในภายหลังด้วย
◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊
นอกจากการซื้อของเล่นให้กับลูก คุณพ่อคุณแม่อาจประยุกต์ของเล่นของใช้อื่นที่มีอยู่แล้วในบ้าน มาเล่นให้ได้ประโยชน์เดียวกันทดแทนของเล่นชิ้นใหม่ได้ เช่น อาจนำตัวต่อมาเรียงต่อกัน ให้ลูกเอาไม้ตีแทนการเล่นระนาด หรือ ของใช้ประจำวันของคุณพ่อคุณแม่นำมาประยุกต์เป็นของเล่นให้ลูกเล่น ก็สร้างความตื่นเต้นเสริมสร้างพฤติกรรมเลียนแบบให้สนุกได้ง่ายๆ รวมทั้งการลงมือทำของเล่นด้วยตัวเอง นอกจากจะสร้างคุณค่าทางจิตใจที่ดีของลูกแล้ว คุณพ่อคุณแม่ภูมิใจที่เห็นลูกเล่นสนุกตามไปด้วย
การเล่นและของเล่นของเด็กเป็นเรื่องที่ควรใส่ใจ เพราะจะเป็นพื้นฐานการเรียนรู้ที่ซับซ้อนมากขึ้นในช่วงวัยต่อๆมา เด็กที่ขาดโอกาสในการเล่นอาจทำให้ประสบปัญหาการเรียนรู้และมีพัฒนาการล่าช้าได้ อย่างไรก็ดี ของเล่นที่ดีสุดของลูกก็คือคุณพ่อคุณแม่เอง ดังนั้นขอแนะนำให้คุณพ่อคุณแม่จัดสรรเวลาเพื่อเล่นกับลูกให้มากขึ้นแทนการหาของเล่นเพิ่มขึ้น นอกจากจะช่วยให้ลูกมีพัฒนาการสมวัยได้อย่างแน่จริงแล้ว ยังเพิ่มความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัวมากขึ้น โดยที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆอีกด้วย
ทั้งนี้หลายพฤติกรรมของลูกที่เป็นปัญหามากมาย ผู้ใหญ่มักสรุปว่าเป็นเพราะนิสัยใจคอของเด็ก ลูกชอบเอาแต่ใจ ลูกดื้อ ลูกไม่เชื่อฟัง หรือสอนแล้วไม่จำ แต่แท้จริงแล้วพฤติกรรมที่เป็นปัญหาหลายอย่างของเด็ก ก็บ่งบอกและสะท้อนถึงการถูกเลี้ยงดูมาอย่างไรด้วย เพราะบางครั้งก็เกิดจากพฤติกรรมของคนเป็นพ่อแม่ค่ะ…
อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก!
- ของเล่นเสริมทักษะ หรืออุปกรณ์ไอทีต่างๆ จำเป็นสำหรับลูกแค่ไหน? อะไรคุ้มค่าเงินจริงๆ?
- แค่เลือกเป็น “ ของเล่น “ ไม่ใช่ของเล่นๆ อีกต่อไป
- ของเล่นเสริมทักษะที่ดีที่สุดไม่มีขาย แต่มีอยู่แล้วในบ้าน
ขอบคุณบทความโดย : ผศ.ดร. ปนัดดา ธนเศรษฐกร อาจารย์สาขาพัฒนาการมนุษย์ สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล