หนูรู้ นี่หู ตา จาหมูก ปาก...Ž - Amarin Baby & Kids

หนูรู้ นี่หู ตา จาหมูก ปาก…Ž

Alternative Textaccount_circle
event

คิตตี้กะพริบตาถี่ๆ แต่แม่ไม่รู้หรอกว่านั่นแหละคือคำตอบ หกเดือนถัดมาเธอถามลูกด้วยคำถามเดิมอีกครั้ง น้องคิตตี้ชี้ที่ตาของเธอ จากนั้นก็ชี้ที่ตาของแม่ ทั้งที่เธอยังไม่เคยพูดคำว่าตาŽ สักครั้ง

 
เด็กในวัยเตาะแตะตอนต้น (1 – 2 ขวบ) มักเริ่มระบุอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ โดยเริ่มจากองค์ประกอบบนใบหน้าก่อน เพราะก่อนหน้านี้เขาได้สำรวจใบหน้าของคุณพ่อคุณแม่อย่างหนำใจกว่าส่วนอื่นๆ และลองสังเกตดูก็ได้ว่า ทุกครั้งที่ลูกสัมผัส คุณมักเอ่ยชื่ออวัยวะส่วนนั้นออกมาด้วย อ๊า…อย่าจิ้มตาแม่!Ž หรือ ชอบจมูกคุณแม่เหรอคะŽ ดร.คริสติน แฮนเซน ลากาทูตา นักจิตวิทยาอธิบาย

 
เด็กเข้าใจความหมายของคำก่อนที่เขาจะพูดได้เสียอีกการที่คิตตี้กะพริบตาคือคำตอบว่า หนูรู้นี่ไงตาของหนูŽ และกว่าเด็กจะพูดคำที่ตัวเองรู้จักออกมาก็ใช้เวลาราว 6 เดือนถึง 1 ปีทีเดียว มาช่วยลูกให้เรียนรู้อย่างลื่นไหลด้วยวิธีต่อไปนี้กัน

 
ชี้ให้ลูกดูอวัยวะส่วนต่างๆ ของคุณเอง จากนั้นก็ชี้ไปที่ของลูกบ้าง ขณะชี้ก็เอ่ยชื่ออวัยวะส่วนนั้นไปด้วย วิธีนี้ช่วยให้เรียนรู้ว่า ทุกคนมีอวัยวะที่เหมือนๆ กัน

 
อธิบายหน้าที่ของอวัยวะส่วนนั้นๆ โดยสังเขป เช่น ตาทำให้มองเห็นŽ ทำให้เด็กแยกออกว่าตานั้นแตกต่างจากจมูก ปาก และหู

 
ใช้อุปกรณ์เสริมช่วย เช่น ให้ลูกส่องกระจกจากนั้นก็ชี้ไปที่อวัยวะของเขาที่เห็นในกระจก หรือชี้ชวนให้ลูกดูอวัยวะส่วนต่างๆ จากในหนังสือ พร้อมกับเอ่ยชื่ออวัยวะส่วนนั้นไปด้วย การเล่นหลากหลายวิธีจะช่วยให้ลูก (แน่นอน รวมทั้งตัวคุณเองด้วย) ได้เรียนรู้อย่างสนุกสนาน

 

บทความโดย: กองบรรณาธิการนิตยสารเรียลพาเรนติ้ง

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up