เด็กในวัยนี้ยังมีความเข้าใจในเรื่องการใช้ภาษาที่จำกัด ซึ่งอาจทำให้คุณปวดหัว เพื่อให้เขาเข้าใจในสิ่งที่คุณพูดจริงๆ ควรมีเทคนิคในการพูด ย่อตัวลงแล้วพูดกับเขา ให้ตัวคุณและลูกอยู่ในระดับเดียวกันเรียกชื่อเขาและสบตาเวลาพูด ให้เขาแน่ใจว่าคุณกำลังคุยกับเขาอยู่จริงๆให้เขาทวนคำพูด ไม่ว่าคุณพูดอะไรไป ให้ถามกลับว่าแม่ต้องการให้หนูทำอะไร ให้เขาพูดตามที่คุณพูด เช่นคุณห้ามเขาดูทีวี ทำให้เขาเข้าใจจริงๆ ว่าอีกห้านาทีต่อมาก็ห้ามกวนใจขอดูทีวีอีกพูดสั้นๆ ให้เขาทำทีละอย่าง
ถ้าต้องการให้เขาเก็บของเล่นก็บอกแค่ว่า ไปเก็บของเล่นให้เข้าที่ อย่าพูดยาวๆ ว่า เอาของเล่นไปเก็บบนชั้นให้เรียบร้อย เสร็จแล้วไปเอาโน่นนี่มา…อย่าทำให้เขางง ควรพูดสั้นๆ ง่ายๆ และกระชับอย่าใจร้อน เด็กจะใช้เวลาในการคิดนาน อย่าไปเร่งให้เขาทำเร็วๆ ถ้าเขานิ่ง ไม่ไปทำในทันที เขาไม่ได้ลืมหรอก ให้เวลาเขาหน่อย ระบุให้ชัดเจน
ถ้าคุณนัดลูกไปเที่ยวในตอนเช้า แต่บังเอิญติดธุระเปลี่ยนเป็นพาไปตอนบ่ายแทน อย่าพูดเพียงว่า แม่จะพาไปตอนบ่ายแทน ไปตอนเช้าไม่ได้แล้ว ลูกจะเข้าใจเป็นว่าคุณจะไม่พาเขาไปเที่ยวอีกเลย นั่นเป็นเหตุผลที่ทำไมเขาร้องไห้โยเย ให้ระบุเวลาที่เขาต้องทำเป็นประจำทุกวันแทนการบอกช่วงเวลาเช้าหรือบ่าย เขายังไม่มีความเข้าใจในเรื่องเวลาดีนักถ้าบอกเขาว่า จะพาไปหลังกินข้าวเที่ยงเสร็จแล้ว จะทำให้เขาเข้าใจมากขึ้น ฟังเขาให้ดี แม่เป็นครูคนแรกของลูก
ถ้าอยากให้เขาฟังคุณคุณต้องรู้จักฟังลูกพูดด้วย ถ้าเขาร้องขอให้คุณหยุดเล่นจี้เอวคุณก็ควรหยุดแม้ว่าคุณจะรู้ว่าเขายังสนุกอยู่ก็ตาม ให้เขาเรียนรู้ความหมายของคำว่าหยุดหรือไม่อย่างแท้จริง
บทความโดย: กองบรรณาธิการนิตยสารเรียลพาเรนติ้ง