ผ่านวัยทอง 2 ขวบมาแล้ว คุณแม่ยังหนีไม่พ้นกับอารมณ์วายร้าย 3 ขวบหรือ Terrible Threes พฤติกรรมดื้อในวัยต่อต้านที่ ลูก 3 ขวบ เอาแต่ใจ เพราะอะไรลูกถึงมีอารมณ์แบบนี้ หาวิธีรับมือกับเจ้าตัวเล็กในเรื่องนี้กันคะ
ลูก 3 ขวบ เอาแต่ใจ วีน เหวี่ยง ก้าวร้าว แม่ต้องรับมือยังไง?
เมื่อลูกเข้าสู่วัยเตาะแตะ หนทางการเลี้ยงลูกยังไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ เจ้าตัวเล็กอยากจะทำอะไรก็ทำ พอถูกขัดใจก็เริ่มก้าวร้าว ชอบต่อต้านมากขึ้น แม้ว่าพฤติกรรมแบบนี้อาจไม่ได้เกิดทุกช่วงเวลา แต่อารมณ์แบบนี้ก็จะทำให้คุณพ่อคุณแม่กังวลและปวดหัวกันไม่น้อย นี่คือ 6 ลักษณะพฤติกรรมของลูกวัย 3 ขวบ และวิธีรับมือ
#1 แสดงความโกรธอย่างรุนแรง
ลูกจะแสดงอาการโกรธอย่างรุนแรงทันทีเมื่อถูกขัดใจ ด้วยการแสดงออกทางอาการ เช่น กระทืบเท้า ลงไปนั่ง/นอนกับพื้น ร้องตะโกนเสียงดัง ฯลฯ
วิธีรับมือ : เด็กวัยแค่ 3 ขวบ ส่วนใหญ่มักเก็บอารมณ์ตัวเองไม่อยู่ ยังไม่มีวุฒิภาวะในการควบคุมตัวเองได้ เมื่อถูกขัดใจก็จะแสดงพฤติกรรมที่ไม่น่ารัก คุณแม่ลองเข้าไปสอบถามความรู้สึกของลูกและพูดด้วยน้ำเสียงอ่อนโยน แสดงอาการรับรู้และเข้าใจถึงความไม่พอใจ เมื่อลูกได้ยินเสียงน้ำเสียงที่อ่อนโยนอารมณ์ที่ปะทุโกรธก็จะเบาบางลง และอธิบายเหตุผลที่ถูกต้องตามมาเพื่อให้ลูกเข้าใจ
#2 ดื้อดึง ท้าทาย เพราะอยากรู้ว่าทำไม
ลูกวัยนี้มีความสนใจที่อยากรู้ อยากลองไปหมด และจะอารมณ์เสียทุกครั้งเมื่อถูกห้ามหรือได้ยินแม่พูดคำว่า “ไม่” พร้อมกับความคิดที่ว่า “ทำไมหนูถึงเล่นแบบนี้ไม่ได้”/ “ทำไมหนูถึงกินสิ่งนี้ไม่ได้” เป็นต้น ยิ่งห้ามก็เหมือนยิ่งยุ ในขณะที่คำว่าไม่ของแม่ไม่ได้บอกเหตุผล ก็อาจจะยิ่งทำให้ลูกท้าทายมากขึ้น
วิธีรับมือ : หลีกเลี่ยงพูดคำว่า “ไม่/ ห้าม/ อย่า” กับลูก เพราะลูกวัยนี้ยังไม่เข้าใจถึงอันตรายและเหตุผลที่แม่คอยห้าม แต่คุณแม่สามารถสอนลูกและอธิบายเหตุผลว่าเพราะอะไรลูกถึงไม่ควรทำสิ่งนี้ เช่น “เราไม่สามารถออกไปเล่นนอกบ้านในตอนนี้ได้เพราะฝนตกและจะทำให้ลูกเป็นหวัดนะ” การบอกเหตุผลจะทำให้ลูกเข้าใจในสิ่งที่ถูกต้องและลดความท้าทายลง
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ 6 ลักษณะพฤติกรรมของลูก 3 ขวบ และวิธีรับมือ คลิกหน้า 2