5 วิธีรับมือ พฤติกรรมเรียกร้องความสนใจ ของวัยเตาะแตะ - amarinbabyandkids
พฤติกรรมเรียกร้องความสนใจ

5 วิธีกำราบ การเรียกร้องความสนใจเตาะแตะ

Alternative Textaccount_circle
event
พฤติกรรมเรียกร้องความสนใจ
พฤติกรรมเรียกร้องความสนใจ

เมื่อลูกวัยเตาะแตะมี พฤติกรรมเรียกร้องความสนใจ เสมือนตัวเองเป็นศูนย์กลางของทุกสิ่ง พ่อแม่ควรทำอย่างไร Amarin Baby & Kids มีวิธีรับมือ ลูกเรียกร้องความสนใจ มาฝากค่ะ

Q: ทุกครั้งที่มีแขกมา ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนญาติ หรือแม้แต่คนจดมิเตอร์น้ำ ลูกสาวจะไม่ยอมให้เราคุยกับแขกเลยครับ ทำอย่างไรดี

เด็กวัยนี้มักเป็นอย่างนี้เสมอ ต้องการให้ตัวเองเป็นจุดศูนย์กลางของทุกสิ่ง โดยเฉพาะถ้าถูกแย่งความสนใจเมื่อไร (รวมถึงถ้าเราคุยโทรศัพท์อยู่) ก็เป็นอันว่าพวกเขาต้องออกโรง ทั้งมาปีนตัก ดึงผม ดึงเสื้อเกาะขา เอามือปิดปาก หรือหันหน้าแม่ไปหาตัวเอง พวกเขาก็สามารถ ถึงแม้การฝึกให้ลูกเคารพความต้องการของผู้อื่นจะเป็นเรื่องค่อนข้างยากและต้องใช้เวลา แต่ก็เป็นเรื่องที่ควรสอนกันตั้งแต่ตอนนี้เลย

5 วิธีรับมือ พฤติกรรมเรียกร้องความสนใจ ของลูกวัยเตาะแตะ

1. เคารพเวลาของลูก

ถ้าอยากให้ลูกเคารพเวลาของเรา เราก็ต้องเคารพเวลาของลูกด้วยเวลาอยู่กับเขา ต้องอยู่ด้วยใจอย่างเต็มที่

2. เลือกเวลา

ถ้ากำหนดเวลาที่แขกจะมาได้ก็ควรทำ อาจเลือกเวลาที่ลูกอารมณ์ดี หรือช่วงเข้านอน

3. ให้ลูกมีส่วนร่วม

หากเจ้าหนูไม่หลับก็อย่ากีดกันให้อยู่หลังฉากอย่างโดดเดี่ยว ขณะมีปฏิสัมพันธ์กับผู้มาเยือน ชวนเขาให้เอาหนังสือเล่มโปรดมาโชว์จะดีกว่า

4. เบี่ยงเบนความสนใจ

ด้วยของเล่นหรือของกินที่ไม่เลอะเทอะง่าย แต่ก็อย่าลืมหันกลับไปมีส่วนร่วมกับเขาบ้าง อาจลูบศีรษะลูบหลังให้เขาอุ่นใจว่าแม่ยังรู้ว่าเขาอยู่ตรงนี้

5. จัดพักครึ่ง

ถ้าต้องคุยกับแขกนานๆ ควรขอเวลามาอยู่กับลูกสักครู่ เช่น มาช่วยต่อบล็อก แต่ก็ควรบอกเขาให้ชัดด้วยว่าเมื่อเล่นเสร็จ แม่ต้องกลับไปคุยธุระต่อ

หากคุณต้องรับแขกแค่ช่วงเวลาสั้นๆ ลูกควรเรียนรู้ที่จะรอให้ได้ ถ้าเขาทำพฤติกรรมไม่น่ารักก็สอนเขา อย่าปล่อยผ่าน

จำไว้ว่า คุณคือคนคุมเกม ถ้าปล่อยให้ลูกโวยแย่งซีนบ่อยๆ อาจเพาะนิสัยแย่ๆ ในตอนโต อย่าลืมชมหรือให้กำลังใจหากเขาทำเรื่องน่ารักๆ แม้จะเพียงเล็กน้อยก็ตามอาจให้รางวัลด้วยก็ได้ จะพาไปสวนบ่อยขึ้นหรือให้เลือกหนังสือเล่มใหม่ก็ลองดูนะคะ

อ่านต่อบทความน่าสนใจ คลิก

4 วิธีดับโกรธ เตาะแตะ & พ่อแม่ ที่เกิดจากความดื้อเป็นเหตุ!

สอนเตาะแตะให้รู้สึกผิด และเอ่ยขอโทษ


บทความโดย: กองบรรณาธิการนิตยสาร Amarin Baby & Kids

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up