9 ผลเสียของการให้ลูกเล่นโทรศัพท์ ก่อน 2 ขวบ - Page 3 of 3 - Amarin Baby & Kids
ผลเสียของการให้ลูกเล่นโทรศัพท์

9 ผลเสียของการให้ลูกเล่นโทรศัพท์ ก่อน 2 ขวบ

event
ผลเสียของการให้ลูกเล่นโทรศัพท์
ผลเสียของการให้ลูกเล่นโทรศัพท์

9 ผลเสียของการให้ลูกเล่นโทรศัพท์

ทั้งนี้ก่อนจะไปพูดถึง ผลเสียของการให้ลูกเล่นโทรศัพท์ คุณพ่อคุณแม่ควรรู้ก่อนว่า สมองส่วน frontal lobe ของลูกน้อยทำหน้าที่ควบคุม ความคิด ความจำ สติปัญญา บุคลิก ความรู้สึก การรับรู้ ความเข้าใจและการใช้เหตุผล การแก้ไขปัญหาและความจำในระยะยาว และส่วน temporal ทำหน้าที่ควบคุมการมองเห็น การพูด การได้ยิน และความจำเรื่องใหม่ๆ

ซึ่งสมองทั้ง 2 ส่วน จะมีพัฒนาการไปเรื่อยๆ จนถึงช่วงวัยรุ่น ซึ่งเป็นวัยที่มีการพัฒนามากกว่าวัยอื่น สมองส่วนดังกล่าวอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับส่วนของหู เด็กที่ใช้สมาร์ทโฟนติดต่อกันเป็นเวลานานๆ จึงอาจมีผลต่อสมองซึ่งเกี่ยวข้องการเรียนรู้ และการทำงานขั้นสูง ดังนั้นตามมาดูกันค่ะว่าจะมี ผลเสียของการให้ลูกเล่นโทรศัพท์มือถือ นานเกินไปซึ่งเกิดขึ้นกับสุขภาพของลูกน้อยโดยตรงอะไรบ้าง ที่พ่อแม่หลายคนมองข้าม

1. ขาดปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง >> ลูกจะมีพฤติกรรมแยกตัว ขาดการพูดคุย หรือปฏิสัมพันธ์กับพ่อแม่ และคนรอบข้าง รวมไปถึงอาจมีพฤติกรรมอยู่ไม่นิ่ง เพราะว่ามีใจจ่ออยู่กับสมาร์ทโฟน / แท็บเล็ต

2. พฤติกรรมก้าวร้าว >> คนที่ติดการใช้มือถือและไม่ได้ใช้ในเวลาที่ต้องการ มักจะเกิดอาการหงุดหงิด ก้าวร้าว เพราะไม่ได้ดั่งใจ ซึ่งพบได้บ่อยในเด็กๆ ที่ติดเล่นเกมในสมาร์ทโฟน

3. ทำลายจอประสาทตา >> แสงสีฟ้าจากจอสมาร์ทโฟนสามารถทำลายจอประสาทตา (เรติน่า) จนนำไปสู่โรคจอประสาทตาเสื่อมได้ ซึ่งสูตรที่ใช้กันเพื่อดูแลสุขภาพตา คือ 20-20-20 โดยมองจอแค่ 20 นาที จากนั้นพักสายตามองที่อื่น 20 วินาที โดยมองสิ่งที่อยู่ไกลจากตัวเอง 20 ฟุต เพื่อคลายความล้าจากการใช้สายตา

Must readติดจอ เล่นสมาร์ทโฟนหนัก เสี่ยงภัยทางสายตา

4. เสียสมาธิ >> การใช้สมาร์ทโฟนเชื่อมต่อกับโซเชียลมีเดีย ส่งผลให้เสียสมาธิได้ เพราะแทนที่จะจดจ่อกับการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ลุล่วง ก็ต้องมาพะวงกับเสียงแจ้งเตือนต่างๆ ที่เข้ามาจนขาดสมาธิ

5. ทักษะการพูดและการสื่อสารพัฒนาได้ช้า >> เพราะการเล่นแท็บเล็ตลดโอกาสในการพัฒนาทักษะด้านการสื่อสารแบบตัวต่อตัวของเด็ก

6. รบกวนการนอนหลับ >> แสงจากจอมือถือหรือแท็บเล็ตที่สว่างๆ ส่งผลต่อการหลั่งฮอร์โมน “เมลาโทนิน” ที่ช่วยควบคุมการนอนหลับ เนื่องจากการปล่อยฮอร์โมนดังกล่าวจะขึ้นอยู่กับแสงสว่างเป็นสำคัญ อีกทั้งยังเป็นปัญหาต่อคุณภาพการนอนหลับ ทำให้เด็กนอนฝันร้าย หรือนอนไม่หลับ ซึ่งมีผลทำลายการทำงานของเซลล์ประสาท ส่งผลระยะยาวไปถึงตอนโตได้

7. ปวดเมื่อคอ >> ส่วนใหญ่แล้วเวลาที่ก้มมองจอโทรศัพท์เพื่อพิมพ์ข้อความต่างๆ คนเรามักจะก้มคอราว 60 องศา ซึ่งเป็นท่าที่ไม่เหมาะสม เพราะจะส่งให้เกิดอาการปวดคอได้หากก้มเป็นเวลานานๆ

8. ปวดหัว >> การใช้สมาร์ทโฟนเป็นเวลานาน จะส่งให้ได้รับรังสีจากคลื่นโทรศัพท์ที่แผ่ออกมามากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งรังสีดังกล่าวส่งผลต่อระบบประสาทด้วยทำให้เกิดอาการข้างเคียงตามมา นั่นคือปวดศีรษะ ปวดไมเกรน หรือบางรายก็อาจจะมีอาการที่รุนแรงกว่านั้น

9. Cellphone Elbow คือ อาการปวดชา หรือเหน็บชาบริเวณปลายแขนและมือ จากการถือสมาร์ทโฟนด้วยท่าทางที่งอแขนเป็นมุมแคบกว่า 90 องศานานเกินไป ซึ่งหากไม่ได้รับการแก้ไขก็อาจทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือเกิดข้องอติดแข็งที่นิ้วนางกับนิ้วก้อยได้

คลิป ยืนยันจากรายการ ชัวร์นะแม่ อย่าแชร์มั่ว เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ไม่ควรเล่นแท็บเล็ต


ขอบคุณคลิปวีดีโอจาก : AMARIN TVHD

อย่างไรก็ดีเรื่อง ผลเสียของการให้ลูกเล่นโทรศัพท์ นี้มิได้ต่อต้าน หรือห้ามการใช้หรือเล่นสมาร์ทโฟนของเด็กโดยสิ้นเชิง เนื่องจากการก้าวทันเทคโนโลยีใหม่ๆ ยังมีความจำเป็นในโลกปัจจุบัน ประโยชน์ของเครื่องมือสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ ก็มีอยู่ ตัวย่างเช่น เกมส์ต่างๆ ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการทางสายตา การใช้สายตาค้นหาสิ่งของ ช่วยในการตัดสินใจแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว นักวิจัยพบว่า การใช้อินเทอร์เน็ตและการเล่นเกมส์มีประโยชน์ในเรื่องการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เล่น ช่วยพัฒนาการเรียนรู้ สื่อสาร เกิดความสัมพันธ์ในระหว่างเพื่อน

เพียงแต่ในเด็กวัยต่ำกว่า 2 ขวบ ไม่ควรให้ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งรวมถึงสมาร์ทโฟน ทีวี คอมพิวเตอร์ ฯลฯ และในเด็กที่โตขึ้น ควรจำกัดเวลาการเล่นในแต่ละวัน ไม่ควรเกิน 2 ชั่วโมง คุณพ่อคุณแม่ควรเล่นไปด้วยกัน มีการพูดคุย โต้ตอบ เห็นหน้ากัน และควรหาเกมส์ที่ส่งเสริมการสร้างคำศัพท์ต่างๆ ช่วยในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ แนวคิดทางวิทยาศาสตร์ และเรียนรู้ทางด้านภาษา เป็นเกมส์ที่มีลักษณะไม่รุนแรงก้าวร้าว ไม่มีการใช้กำลังต่อสู้ห้ำหั่น ทำร้ายกัน

อีกทั้งในวันหยุดต่างๆ ควรมีช่วงวันที่คุณพ่อคุณแม่และลูกน้อย ปลอดสมาร์ทโฟน ปลอดแท็บเล็ต โดยการพาลูกออกไปทำกิจกรรมนอกบ้าน ให้ลูกน้อยได้สัมผัสกับธรรมชาติ ดิน โคลน ต้นไม้ใบหญ้า ให้เท้าของเขาได้สัมผัส ดิน โคลน หรือหญ้าบ้าง ตลอดจนเดินชมพิพิธภัณฑ์ต่างๆ อย่าให้ภาพในจอมาแทนภาพในชีวิตจริง หรืออย่าปล่อยให้สมาร์ทโฟนเป็นของเล่นของเด็กแทนลูกบอลหรือตุ๊กตา และที่สำคัญอย่าให้สมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต เลี้ยงดูลูกแทนคุณพ่อคุณแม่เลย

อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก : 


ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : www.pharmacy.mahidol.ac.th , www.amarintv.com , www.sanook.com

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up