7 วิธีระงับความโกรธ ก่อนเผลอตีลูกด้วยอารมณ์ - Amarin Baby & Kids
วิธีระงับความโกรธ

7 วิธีระงับความโกรธ ก่อนเผลอตีลูกด้วยอารมณ์

Alternative Textaccount_circle
event
วิธีระงับความโกรธ
วิธีระงับความโกรธ

เคยรู้สึกผิดไหม? ที่เผลอตีลูกหรือทำโทษลูกด้วยอารมณ์โกรธ แล้วก็มารู้สึกผิดหรือรู้สึกแย่ทีหลัง สำหรับแม่ ๆ ที่อยากจะหยุดพฤติกรรมแบบนี้ เรามี 10 วิธีระงับความโกรธ มาฝากค่ะ

7 วิธีระงับความโกรธ ก่อนเผลอตีลูกด้วยอารมณ์

สำหรับแม่ ๆ ที่มีลูกวัย 2 ขวบขึ้นไป ความท้าทายในการเลี้ยงลูกจะแตกต่างจากช่วงที่ลูกยังเป็นทารก เพราะเด็กในวัยนี้จะเริ่มมีความคิดและความต้องการเป็นของตัวเอง แต่ยังไม่สามารถเข้าใจกฏเกณฑ์ และยังไม่สามารถจัดการกับอารมณ์ของตนเองไม่ได้ ทำให้ลูกมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เช่น  ใจร้อน ไม่ยอมรอ ร้องไห้ เอาแต่ใจ ขี้เบื่อ ไม่อดทน โวยวายตลอดเวลา ดื้อ ก้าวร้าว เมื่อลูกมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม คนเป็นพ่อแม่ก็มีหน้าที่ที่จะต้องสอนลูกให้มีพฤติกรรมที่ดีขึ้น แต่เหมือนว่าเมื่อคุณพ่อคุณแม่ยิ่งสอน ลูกก็ยิ่งดื้อหรือต่อต้าน จนตัวคุณพ่อคุณแม่เองก็เริ่มจะมีอารมณ์โกรธและทำโทษลูกหรือตีลูก… เมื่อยิ่งตีลูก… ลูกก็ยิ่งดื้อ…. จนต้องทำโทษแรงขึ้น…. ลูกก็ยิ่งดื้อขึ้นไปเรื่อยๆ

หลักฐานทางการแพทย์กล่าวว่า พันธุกรรมมีผลต่อพฤติกรรมของลูก 50% ที่เหลืออีก 50% มาจากการเลี้ยงดูหรือสภาพแวดล้อม ฉะนั้นพ่อแม่ที่ใจร้อนย่อมมีโอกาส 50% ที่ลูกจะมีนิสัยใจร้อนตามไปด้วย เชื่อได้ว่าพ่อแม่ทุกคนอยากจะหยุดวงจรนี้ แต่จะทำอย่างไรให้สามารถระงับความโกรธของตัวเองได้ และจะทำอย่างไรให้ลูกดื้อน้อยลง

7 วิธีระงับความโกรธ หยุดตีลูก ทำร้ายลูกด้วยอารมณ์!

1. ทำความเข้าใจลูก

ให้ลองคิดว่าตัวคุณพ่อคุณแม่เป็นเด็กตัวเล็ก ๆ อายุเท่าลูก แล้วเจอกับเหตุการณ์แบบเดียวกับลูก ตัวเราเองจะจัดการกับปัญหาที่อยู่ตรงหน้าและอารมณ์ของตนเองได้อย่างไร แน่นอนว่าเมื่ออยู่ในช่วงอายุเพียงเท่านั้น ตัวเราเองก็ยังไม่สามารถจัดการกับอารมณ์ของตนเองได้ดีเหมือนตอนนี้ ลูกของเราเองก็เช่นกัน เค้าก็ไม่ได้อยากจะทำพฤติกรรมเหล่านี้หรอกค่ะ เค้าอยากจะทำตัวให้ดีเพื่อให้พ่อแม่ชมอยู่แล้ว ในช่วงที่คุณพ่อคุณแม่ทบททวนและทำความเข้าใจในจุดที่ลูกอยู่ ก็จะทำให้อารมณ์เย็นลง มีเหตุผลมากขึ้น และเมื่อเข้าใจลูกแล้ว เราก็จะรู้วิธีพูดและสอนให้ลูกปรับพฤติกรรมให้ดีขึ้น เช่น เมื่อลูกตีแม่เมื่อโมโห หากคุณแม่ตีลูกกลับ ลูกก็จะตีคุณแม่กลับเหมือนกัน เพราะลูกก็โกรธอยู่เช่นเดียวกับคุณแม่ แต่หากคุณแม่ลองทำความเข้าใจว่าทำไมลูกถึงตี ลูกต้องการตอบสนองให้แม่รู้ว่าลูกกำลังไม่พอใจ จึงเลือกใช้วิธีการตีแม่ให้แม่รู้ คุณแม่จึงควรหยุดทำพฤติกรรมนี้เหมือนลูก ลองกอดลูกไม่ให้ลูกตีเราได้อีก แล้วถามว่าลูกว่าโกรธเพราะอะไร ทำไมถึงต้องตี ถ้าเปลี่ยนจากตีเป็นเล่าให้แม่ฟังจะดีกว่าไหม

2. รับฟังเหตุผลจากลูก

แม้เหตุผลของเด็กอาจจะดูฟังไม่ขึ้นสำหรับผู้ใหญ่ แต่เหตุผลเหล่านั้น เป็นเรื่องใหญ่สำหรับลูก บางครั้งลูกอาจจะมีเหตุผลที่เราคิดไม่ถึงก็ได้ อย่างเช่นที่แม่พริมาเจอมาด้วยตัวเอง ตอนที่กำลังเลือกว่าจะไปเที่ยวที่ไหนกันดี แม่พริมาก็คุยอยู่แต่กับพี่สาวคนโต จนลูกคนเล็กวิ่งเข้ามาตีพี่สาว แม่พริมาก็ดุลูกว่าตีพี่ทำไม กำลังจะทำโทษลูก แต่ก็ระงับอารมณ์ถามอีกทีว่าตีพี่ทำไม จนในที่สุดลูกก็ร้องไห้ออกมาแล้วพูดว่าทำไมแม่ฟังแต่พี่ ทำไมไม่ถามน้องบ้างเลยว่าอยากไปที่ไหน เด็กอายุเพียงแค่ 4 ขวบยังไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรให้หายโกรธจากการที่แม่ไม่ฟัง จึงเลือกที่จะตีพี่สาวตัวเอง เหตุการณ์นี้เปลี่ยนให้แม่พริมาหันมาหาน้องเล็กทุกครั้งที่ต้องการถามความเห็นของลูก ๆ

ลูกดื้อ
ลูกดื้อ

 

3. อาจเป็นเพราะสุขภาพลูก

ช่วงที่ลูกงอแงมาก ๆ อาจจะเป็นเพราะลูกกำลังไม่สบายตัวอยู่ก็ได้ เพียงแต่ลูกไม่สามารถอธิบายออกมาเป็นคำพูดได้ว่ากำลังปวดหรือรู้สึกอย่างไร ลูกอาจจะกำลังปวดเหงือกเพราะฟันที่กำลังจะขึ้น ลูกอาจจะท้องอืด อยู่ก็ได้ จึงทำให้ลูกงอแงและร้องไห้ได้

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

อ่านต่อ 7 วิธีระงับความโกรธ ก่อนเผลอตีลูกด้วยอารมณ์

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up