ขาโก่ง ในเด็กตามธรรมชาติเป็นเรื่องที่ไม่แปลกนักสามารถหายเองได้ แต่สำหรับเด็กที่เกิน 2ขวบแล้วยังคงมีอาการต้องเฝ้าระวังโรคเบร้าท์ ที่การดัดขาลูกไม่ได้ช่วยอะไร
อย่าเพิ่งดัดขาลูก!โรค ขาโก่ง ในเด็กต้องรักษาห้ามดัด
ลูกขาโก่ง อาจเป็นอาการที่พ่อแม่สามารถสังเกตเห็นได้ในเด็กทารก และกำลังเป็นกังวลกันอยู่ใช่ไหม ขาโก่งเป็นเรื่องปกติในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี และโดยทั่วไปจะดีขึ้นเมื่ออายุ 18 ถึง 24 เดือน
ภาวะขาโก่ง (Bowed leg)
ขาโก่ง เป็นภาวะหนึ่งที่เราพบกันได้บ่อยในเด็กเล็ก โดยเด็กจะมีขา และเข่าในลักษณะที่โค้งออกด้านนอกลำตัว อาจร่วมกับเห็นเด็กเดินในลักษณะปลายเท้าชี้เข้าด้านในลำตัวมาก ๆ โดยมากมักสังเกตเห็นลักษณะขาโก่งแบบนี้ได้ชัดเจนในช่วงที่เด็กเริ่มเดิน ภาวะขาโก่งในเด็กที่พบส่วนใหญ่จะเป็นขาโก่งตามธรรมชาติ ซึ่งทางการแพทย์เรียกว่า Physiologic bowed leg ซึ่งเป็นภาวะที่สามารถหายได้เอง
Blount’s Disease (โรคขาโก่ง)
โรคขาโก่ง หรือที่เรียกว่า tibia vara เป็นโรคที่เกิดจากการเจริญเติบโตที่ส่งผลต่อแผ่นการเจริญเติบโตของกระดูกหน้าแข้ง (tibia) โรคขาโก่ง ทำให้ขาส่วนล่างของเด็กหันเข้าด้านใน และโค้งงอคล้ายกับส่วนโค้งในตัวอักษร C
ทารกและเด็กวัยหัดเดินมักจะงอขา (โค้งไปที่ขา) แต่ขาจะงอเมื่อเด็กเริ่มเดิน เด็กที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรค Blount จะมีส่วนโค้งที่ขาอย่างชัดเจนซึ่งไม่สามารถแก้ไขได้เมื่ออายุมากขึ้น และอาการแย่ลงเมื่อกระดูกโตขึ้น
ลูกเป็นขาโก่งแบบไหนกันนะ!!
- ช่วงอายุ โดยปกติแล้วเด็กทุกคนเกิดมาจะมีภาวะขาโก่งตามธรรมชาติอยู่แล้ว แต่เมื่อโตขึ้นขาก็จะค่อย ๆ โก่งลดลงเอง และควรมีขาที่ตรงเมื่ออายุประมาณ 2 ขวบ ดังนั้นถ้าเด็กมีอายุเกิน 2 ปีแล้ว แต่ยังคงมีขาที่โก่งอยู่ควรปรึกษาแพทย์เพราะอาจมีโอกาสที่จะเป็นขาโก่งแบบที่เป็นโรคสูง
- ขาที่โก่งนั้นเป็นทั้ง 2 ข้างหรือไม่ ภาวะขาโก่งตามธรรมชาติ ขาควรจะโก่งทั้ง 2 ข้าง หากเด็กมีภาวะขาโก่งข้างเดียวหรือความโก่งของขาทั้ง 2 ข้างต่างกันมากอย่างชัดเจนน่าจะเป็นขาโก่งแบบที่เป็นโรคมากกว่า
- ความอ้วน ความอ้วนของเด็กนั้นเป็นความเสี่ยงที่สำคัญที่ทำให้เป็นโรคขาโก่ง ดังนั้นหากพบว่าเด็กมีภาวะขาโก่งร่วมกับมีน้ำหนักตัวมากกว่าเกณฑ์จะมีความเสี่ยงสูงขึ้นที่จะเป็นโรคขาโก่งได้
- เด็กที่เริ่มเดินได้เร็ว (ก่อน 12 เดือน) จากรายงานทางการแพทย์พบว่าการที่เด็กเริ่มเดินได้เร็วกว่าปกติเป็นความเสี่ยงอย่างหนึ่งของการเกิดภาวะขาโก่ง
แม้ว่า ขาโก่ง ส่วนมากจะเป็นขาโก่งแบบธรรมชาติ เป็นแบบที่หายได้เอง แต่หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตอาการข้างต้นแล้ว เช่น เด็กอายุเกิน 2 ปีแล้วยังมีภาวะดังกล่าวอยู่ หรือไม่ก็เป็นหนักกว่าเดิม ให้พ่อแม่ตั้งข้อสันนิษฐานได้เลยถึง โรคขาโก่ง ในความเป็นจริงแล้ว หากพบว่าเป็นโรคขาโก่งนั้นอันตรายกว่าที่คิด เพราะถ้าหากปล่อยทิ้งไว้นาน และไม่ทำการรักษา อาจส่งผลเสียต่อร่างกาย และบุคลิกภาพของเจ้าตัวเล็กได้
อย่าเพิ่งดัดขา เมื่อพบว่าลูกขาโก่ง!!
การวินิจฉัยโรคขาโก่งทำอย่างไร?
โรคขาโก่งส่งผลต่อลูกอย่างไร?
- งอขาที่ดูเหมือนส่วนโค้งในตัวอักษร C
- ขาโก่งอาจเป็นต่อขาข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง
- นิ้วเท้า และเท้าชี้เข้าด้านในแทนการตั้งตรง
ขาโก่ง ไม่ทำให้เกิดอาการปวดในเด็กวัยหัดเดิน แต่วัยรุ่นอาจรู้สึกปวดเข่า และมีอาการมากขึ้น เมื่อออกกำลังกาย
อาการรุนแรงของโรคขาโก่ง ที่อาจเกิดขึ้นได้ ได้แก่
- โรคข้อเข่าเสื่อม
- เดินลำบาก
- ความเสียหายของข้อต่อ และเส้นประสาท
โรคขาโก่งสามารถรักษาได้หรือไม่
โรคขาโก่ง สามารถเกิดขึ้นได้ในภายหลังในช่วงวัยรุ่น และในผู้ใหญ่ (เริ่มมีอาการช้า) อาการนี้พบได้บ่อยในผู้ที่มีน้ำหนักเกิน คนที่น้ำหนักขึ้นเร็ว หรือเด็กที่เริ่มเดินเร็ว (ก่อน 12 เดือน) สำหรับคุณพ่อหรือคุณแม่ที่สงสัยว่าขาโก่งรักษาได้ไหม หรือมีวิธีการป้องกันอย่างไรได้บ้างนั้น เนื่องจากโรคขาโก่งจะทำให้แผ่นกระดูกด้านในถูกกดทับ ผลที่ตามมานอกจากขาโก่ง คือ การเสียบุคลิกภาพได้ อย่างไรก็ตาม ด้วยเทคโนโลยีการแพทย์ในปัจจุบันที่มีความก้าวหน้ามากขึ้น ช่วยให้เกิดวิธีการรักษาที่หลากหลายและให้ประสิทธิภาพในการฟื้นฟูได้เป็นอย่างดี ดังนี้
- การบริหารกล้ามเนื้อส่วนขา
สำหรับใครที่เป็นโรคขาโก่ง หรือ Bowed Leg แล้วมีอาการไม่มากนัก การบริหารกล้ามเนื้อส่วนขานับเป็นหนึ่งในทางเลือกในการรักษาที่ง่าย และสามารถทำได้ด้วยตนเอง ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง และจัดกระดูกให้กลับมาเข้ารูปดังเดิม โดยเริ่มจากการแยกปลายเท้าออกจากกันประมาณ 45 องศา ในขณะที่ส้นเท้ายังยืนชิดติดกันอยู่ จากนั้นพยายามดันตัวให้ตรงที่สุดเป็นเวลา 5 นาที ซึ่งจะต้องทำอย่างต่อเนื่องเฉลี่ยวันละ 3 ครั้ง เพื่อให้การบริหารกล้ามเนื้อนี้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
- ปรับท่าทางการเดิน
การปรับท่าทางการเดินมีส่วนช่วยในการรักษาลูกขาโก่งได้เช่นกัน โดยให้ลูกน้อยนั้นเดินให้ปลายเท้าชี้ไปด้านหน้า รวมถึง ในขณะที่ยืนนั้น ให้พยายามหลีกเลี่ยงการยืนขาโก่ง ซึ่งวิธีดังกล่าว อาจจะต้องอาศัยระยะเวลาในการทำทีละขั้นตอน เพื่อให้กระดูกสามารถปรับรูปใหม่ให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายมากที่สุด
- ใส่อุปกรณ์ดัดขาโดยแพทย์
จะใช้ในรายที่เป็นน้อย หรืออายุน้อยกว่า 3 ขวบ โดยแพทย์จะแนะนำให้สวมเหล็กดัดที่ยื่นจากต้นขาถึงเท้า มักจะใส่ตอนกลางคืนเป็นเวลาหนึ่งปี
- การผ่าตัด
ในกรณีที่อาการ ขาโก่ง ในเด็กค่อนข้างจะเห็นได้อย่างชัดเจน การผ่าตัดถือเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่สามารถแก้ไขปัญหาโรคขาโก่งได้ เพื่อให้กระดูกบริเวณใต้เข่ากลับมาตรง ซึ่งการผ่าตัดมักต้องทำก่อนอายุ 4 ขวบ เพราะถ้าทำช้ากว่านั้นผลสำเร็จของการรักษาจะแย่ลงจะมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้สูง และอาจต้องผ่าตัดหลายครั้ง ดังนั้น จึงนิยมใช้วิธีการผ่าตัดโดยการตัดแต่งกระดูกให้เข้ารูปแล้วจึงปล่อยให้กระดูกค่อย ๆ กลับมาอยู่ในตำแหน่งเดิม ซึ่งการผ่าตัดนั้น ทางแพทย์จะให้ผู้ป่วยได้พักฟื้น และใช้ไม้เท้าช่วยพยุงตัวภายในครึ่งเดือนแรก ก่อนที่จะเริ่มทำกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูร่างกายให้กลับมาสมบูรณ์ที่สุด
ดูแลลูกหลังผ่าตัดอย่างไร?
หลังการผ่าตัดเพื่อรักษาโรคขาโก่ง สิ่งสำคัญคือต้องหมั่นรักษาความสะอาดแผลผ่าตัดของลูก เพื่อไม่ให้เกิดการติดเชื้อ และพยายามไม่ให้ลูกของคุณลงน้ำหนักที่ขาที่ได้รับการผ่าตัดเป็นเวลาหกถึงแปดสัปดาห์ การกดทับบริเวณที่ผ่าตัดมากเกินไปอาจทำให้กระดูกเคลื่อนตัว และไม่หายเป็นปกติ
เคล็ดลับการดูแลร่างกาย ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคขาโก่ง
ในปัจจุบันยังไม่สามารถรู้วิธีป้องกันโรคขาโก่งได้ แต่คุณสามารถทำตามขั้นตอนเพื่อช่วยให้กระดูกของลูกแข็งแรง และแข็งแรงพอที่จะทำให้แน่ใจว่า จะป้องกันไม่ให้ลูกน้อยขาโก่ง การดูแลรักษาสุขภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งทุกคนสามารถทำได้ด้วยการปฎิบัติตน ดังต่อไปนี้
- เสริมสุขภาพด้วยโภชนาการ
การเสริมสุขภาพด้วยโภชนาการที่ดีอย่างการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ นอกจากจะทำให้สุขภาพแข็งแรงแล้ว ยังช่วยในเรื่องต่าง ๆ เช่น การให้พลังงาน หรือเสริมสร้างระบบร่างกายได้เป็นอย่างดี ดังนั้นจึงควรใส่ใจในเรื่องอาหารการกินของลูกให้มีสารอาหารครบ 5 หมู่
- ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่แข็งแรง
พยายามระวังอย่าให้เด็กอ้วนเพราะความอ้วนเป็นความเสี่ยงสำคัญทีสุดของโรคขาโก่ง สำหรับเคล็ดลับการดูแลร่างกายนั้น การออกกำลังกายก็เป็นสิ่งควรให้ความสำคัญเช่นกัน เพราะเมื่อร่างกายได้มีการเคลื่อนไหว จะทำให้อวัยวะต่าง ๆ เช่น กระดูก กล้ามเนื้อ และส่วนอื่น ๆ ได้มีการขยับเขยื้อน ทำให้สุขภาพแข็งแรง ไม่ทำให้เกิดโรคอ้วน และช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคขาโก่งได้ด้วย
- บำรุงร่างกายด้วยแคลเซียม และวิตามิน
สาเหตุหลักที่ทำให้เด็กขาโก่ง คือ การมีกระดูกที่เปราะบางและแตกหักง่าย จึงทำให้ไม่สามารถรองรับน้ำหนักได้ ดังนั้น การบำรุงร่างกายด้วยแคลเซียมและวิตามินจะช่วยให้กระดูกกลับมาแข็งแรงและป้องกันไม่ให้ลูกขาโก่งหรือมีภาวะเจ็บป่วยอื่น ๆ ตามมา
- ไม่บังคับให้เด็กฝึกหัดเดินเร็วเกินไป
ไม่กระตุ้นให้เด็กเดินเร็วเกินไป เช่น การใช้รถเข็นหัดเดินในเด็กเล็กเพราะนอกจากจะเสี่ยงเกิดขาโก่งแล้วเด็กอาจจะติดเดินเขย่งปลายเท้า และยังง่ายต่อการพลัดตกหกล้มอีกด้วย
ขาโก่งเกิดขึ้นตามธรรมชาติในทารก และจะหายไปเมื่อลูกของคุณเริ่มเดินหรือเมื่ออายุครบ 2 ขวบ หากคุณสังเกตเห็นว่าขาของลูกไม่ยืดออกหรือขายังคงโก่ง แบบมีความชัดเจนมากขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น ให้ไปพบแพทย์เพื่อรับการประเมิน การวินิจฉัยและการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ มีประสิทธิภาพสูงสุดในการหยุดไม่ให้แย่ลง และป้องกันภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคข้ออักเสบและความเสียหายของเส้นประสาทที่เกิดขึ้น
ข้อมูลอ้างอิงจาก นพ.ปวริศร สุขวนิช เพจ กระดูกเด็ก ๆ /my.clevelandclinic.org/รพ.สินแพทย์
อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่