ทักษะสมอง

ทักษะสมอง ช่วยสร้างภูมิต้านทานอุปสรรค

Alternative Textaccount_circle
event
ทักษะสมอง
ทักษะสมอง

ช่วงปฐมวัยเป็นเวลาสำคัญในการพัฒนาทักษะสมองของลูก หลายบ้านอาจจะเริ่มฝึกภาษาที่ 2 หรือ 3 ให้กับลูกรัก แต่ คุณพ่อคุณแม่ อาจยังไม่ทราบว่า ทักษะสมองยังช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานอุปสรรคให้กับลูกเช่นกัน

เราลองมาดูกันดีกว่าว่าทักษะสมองนั้นคืออะไรแล้วจะสามารถช่วยส่งเสริมให้ลูกมีภูมิต้านทานอุปสรรคได้อย่างไร

 

ทักษะสมอง คืออะไร?

ทักษะสมอง คือ ทักษะความสามารถของสมองในการจัดการกับชีวิต และความสามารถในการจัดการกับตัวเองไม่ว่าจะอารมณ์หรือการคิดแก้ไขปัญหา ซึ่งส่งผลโดยตรงกับการเรียนรู้ภาษาของเด็กๆ

คุณพ่อคุณแม่พอจะนึกกันออกไหมคะว่า ถ้าอยากให้ลูกๆ เก่งด้านภาษา ควรทำเช่นไร หลายคนอาจบอกว่าก็พูดกับลูกในภาษาที่อยากให้เขาพูดได้ตั้งแต่ตอนเป็นเด็กเล็กๆ นี่คือหนึ่งในวิธีที่เห็นกันอยู่บ่อยๆ ซึ่งมีพ่อแม่ไม่น้อยเลยค่ะที่เริ่มพูดกับลูกด้วยภาษาไทย ไปพร้อมๆ กับภาษาอังกฤษ จีน ฯลฯ  ดร.วรนาท รักสกุลไทย ได้อธิบายไว้ว่าการที่พ่อแม่อยากจะให้ลูกเก่งทุกภาษา ต้องเริ่มจากภาษาสมอง คือเข้าใจการพัฒนาทางภาษาของเด็กก่อน ซึ่งมีองค์ประกอบหลักอยู่ 3 เรื่องนั่นก็คือ แบบแผน เนื้อหา และการใช้ค่ะ

การฝึกสมองเด็กอย่างถูกต้องเหมาะสมตามช่วงวัย สามารถช่วยทำให้การพัฒนาของภูมิต้านทานอุปสรรคได้ประสิทธิภาพมากที่สุด สำหรับเด็กในช่วงวัย 1-5 ขวบปีแรกเขาจะมีพัฒนาการทางภาษาในแบบของเขา ที่พ่อแม่ต้องเข้าใจอย่างถูกต้องด้วย เพื่อจะได้พัฒนาส่งเสริมลูกได้ถูกทางค่ะ

ในเด็กขวบปีแรก พ่อแม่ต้องให้ลูกได้รับโภชนาการสารอาหารที่สมบูรณ์มากที่สุด แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องสื่อสารกับลูกไม่ว่าจะทำอะไรอยู่กับลูกก็ตามให้พูดบอกสิ่งที่กำลังทำให้ลูก เช่น แม่จะให้หนูกินนม พ่ออาบน้ำให้ลูกอยู่นะคนเก่ง มาค่ะเปลี่ยนผ้าอ้อมกัน เป็นต้น จากนั้นเมื่อลูกอายุได้ 2-5 ขวบ เขาจะมีพัฒนาการในการเข้าใจภาษาที่มากขึ้น พ่อแม่ก็ยังต้องสื่อสารด้วยการพูดคุยป้อนคำศัพท์ใหม่ๆ ให้ลูกอยู่ตลอดเวลา ซึ่งสามารถเพิ่มพูนคำศัพท์ในการสื่อสารให้ลูกได้จากการอ่านนิทานด้วยกันกับลูก เล่นบทบาทสมมติ หรือพาลูกออกไปท่องโลกกว้างให้เขาได้ไปเจอกับประสบการณ์จริงที่แปลกใหม่ ซึ่งเหล่านี้ล้วนเป็นการฝึกพัฒนาการทักษะทางภาษาให้กับลูกได้อย่างเป็นธรรมชาติ

ในเด็กที่มีต้นทุนภาษา หรือมีพื้นฐานทางภาษาที่มากกว่า 1 ภาษา “ถามว่าจะมีประโยชน์อะไรกับชีวิตของลูก สู้รู้แค่ภาษาเดียว ฝึกให้เก่งไม่ดีกว่าหรือ?” ขอตอบว่า “ไม่ดีค่ะ”

อยากให้คุณพ่อคุณแม่เห็นว่าในปัจจุบันนี้โลกเราพัฒนาไปไกลมาก และก็มีทั้งวิวัฒนาการ เทคโนโลยี ธุรกิจการค้า การเรียนวิชาใหม่ๆ พลัดเปลี่ยนหมุนเวียนเข้ามาอย่างรวดเร็ว

ซึ่งไม่ใช่แค่เด็กๆ เท่านั้นที่ต้องเรียนรู้ และตามให้ทันโลก แต่พ่อแม่อย่างเราก็ต้องปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ด้วยเช่นกัน พ่อแม่คือครูคนแรกของลูก จำเป็นอย่างมากที่จะต้องมีความรู้ในด้านต่างๆ ให้มากขึ้น เพื่อจะได้สอนให้ลูกไว้เป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิตต่อไป โดยเฉพาะเรื่องใกล้ตัวนั่นก็คือ “ภาษา” ที่เป็นดั่งภูมิต้านทานอุปสรรคที่ดีให้กับเด็กๆ เพราะต่อไปในอนาคตไม่ใช่แค่การพูดคุย ติดต่อสื่อสารกันเองกับคนในครอบครัวเท่านั้น แต่ลูกยังจะต้องไปพบเจอผู้คนใหม่ๆ หลากหลายเชื้อชาติ ทั้งที่โรงเรียน ที่ทำงาน หรือแม้แต่การไปศึกษาต่อต่างประเทศ การติดต่อทำงานกับต่างชาติ แน่นอนว่าภาษาจะเป็นใบเบิกทางให้ลูกได้เริ่มต้นการดำเนินชีวิตง่ายขึ้น แล้วเมื่อต้องเจอเข้ากับปัญหาไม่ว่าจะมาในรูปแบบใด พวกเขาก็จะสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างชาญฉลาด รู้ว่าจะต้องจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างไร รวมถึงยังสามารถจัดการกับชีวิต อารมณ์ของตัวเองเมื่อต้องเผชิญกับปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นได้ด้วยเช่นกัน

ดร.วรนาท รักสกุลไทย ได้ให้แนวทางที่พ่อแม่สามารถทำได้ ซึ่งจะช่วยพัฒนาสมองของเด็กในช่วงปฐมวัย เพื่อสร้างภูมิต้านทานอุปสรรคของลูกในอนาคต ไว้ดังนี้…

1. การเรียนรู้ภาษาเพื่อทำความเข้าใจ

หากพ่อแม่เล่านิทานให้ลูกฟัง ลองเปลี่ยนคำถามที่มักจะถามตอนอ่านนิทานจบ เช่น นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้อะไร มาเป็นการ ตั้งคำถามกับลูกเพื่อให้เขาให้ฝึกคิด ได้มีการจดจำเรื่องราวที่เกิดขึ้นในนิทาน เช่น ในเรื่องหรือในภาพมีตัวละครกี่ตัว มีใครบ้าง ฉาก สถานที่ในนิทานเกิดขึ้นที่ไหน เป็นต้น การถามลูกจะช่วยให้ลูกได้ทบทวนและได้รู้จักคำศัพท์มากขึ้น (คำศัพท์ทั้ง ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ)

2. เด็กเรียนรู้ผ่านประสบการณ์

เด็กในช่วง 5 ขวบปีแรก เป็นช่วงที่เขาสามารถเรียนรู้และจดจำเรื่องราวใหม่ๆ ได้มากขึ้น นั่นถือเป็นเรื่องที่ดีที่จะได้เพิ่มพูด คำศัพท์ใหม่ๆ ให้สมอง ซึ่งนอกจากจะให้ลูกเรียนรู้จากหนังสือภาพ นิทาน หรือการใช้ภาพบัตรคำแฟรชคาร์ด ให้ลองเปลี่ยนพาลูกออกมาสัมผัสเรียนด้วยประสบการณ์ตรง เช่น จะให้ลูกรู้จักกับคำว่าท้องฟ้า ทราย น้ำ ลม ฯลฯ ก็ให้เขาได้เรียน ได้เห็นจากของจริงไปเลย

3. ทักษะสมองและการเรียนรู้ภาษา

ความสัมพันธ์ของทักษะสมองกับการเรียนรู้ทางภาษา ผ่านกิจกรรมการทำแป้งโดว์ ที่เด็กๆ จะได้รู้จักกับคำศัพท์ใหม่ๆ เช่น  คำศัพท์เกี่ยวกับภาชนะ คำศัพท์เกี่ยวกับการเท เป็นต้น

4. หัวใจของภาษาคือการสื่อสารสองทาง

เพื่อให้ลูกมีทักษะการสื่อสารที่ดีขึ้น เมื่อมีการสนทนากันระหว่างพ่อแม่ หรือคนในครอบครัว พยายามให้ลูกมีส่วนร่วมในการสนทนาเรื่องนั้นๆ ด้วย พ่อแม่อย่าเป็นผู้พูดอยู่ฝ่ายเดียว กลับกันเมื่อลูกพูดเราพ่อแม่ต้องเป็นผู้ฟังที่ดีของลูกด้วย

5. เพิ่มพูนคำศัพท์สู่ภาษาสมอง

การเพิ่มวงคำศัพท์ใหม่ๆ ให้กับเด็กพ่อแม่สามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยการอ่านนิทานก่อนนอนให้ลูกฟัง เพราะจากงานวิจัยระบุถึงความแตกต่างระหว่าง พ่อแม่ที่อ่านหนังสือนิทานให้ลูกฟังก่อนนอน bed time story กับพ่อแม่ที่ไม่ได้อ่านหนังสือนิทานกับลูกเลยไม่ว่าจะเวลาไหนก็ตาม เด็กจะมีวงคำศัพท์ที่เพิ่มพูนแตกต่างกันถึง 5-6 เท่า

สามารถเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการสร้างภูมิต้านทานอุปสรรคให้กับลูกๆ จากผู้เชี่ยวชาญ ได้ที่ http://www.nutricia-shapingdestiny.com/online-experience.html

คุณพ่อคุณแม่พอจะเห็นแนวทางในการช่วยพัฒนาสมองของลูกเพื่อสร้างภูมิต้านทานอุปสรรคในการเรียนรู้ของลูกกันไปแล้ว และเพื่อเป็นการสร้างทักษะสมอง เสริมภูมิต้านทานอุปสรรค สู่ความสำเร็จในอนาคตให้กับลูกได้อย่างสมบูรณ์แบบ แนะนำว่าควรดูแลให้ลูกได้รับซินไบโอติกอย่างต่อเนื่อง เพราะซินไบโอติก ช่วยให้เด็ก 1 ใน 4  ไม่เจ็บป่วยตลอดปี สำหรับซินไบโอติกมีมากอยู่ในนมแม่ เด็กๆ ควรได้ทานนมแม่ตั้งแต่แรกเกิด หรืออีกหนึ่งตัวเลือกที่ดีคือการทานนมสูตรที่มีซินไบโอติกอย่างต่อเนื่องจากนมแม่นั่นเองค่ะ

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up