สิ่งที่พ่อแม่ควรทำ
1.ต้องเริ่มจากการตั้งกฎกติกาภายในบ้านว่า “การเถียงพ่อแม่แบบนั้นเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้”
ถ้าไม่เห็นด้วย ต้องพูดกันดี ๆ ในสภาพอารมณ์ปกติ และต้องให้ลูกรู้ว่าการพูดจาลักษณะนี้จะทำให้ลูกไม่ได้รับในสิ่งที่เขาต้องการ เพราะจะไม่มีใครตอบสนองในสิ่งที่ลูกพูด เช่น “ถ้าลูกเถียงแบบนี้แม่จะไม่ฟัง รอให้สงบก่อน แล้วค่อยมาคุยกันดี ๆ”
2.สอนให้สื่อสารกันดี ๆ
และย้ำว่า ถ้าลูกเถียง ซึ่งอาจเลยเถิดถึงขั้นแสดงอาการต่อต้านหรือร้องไห้ ควรรอให้สงบอารมณ์ตัวเองลงก่อน แล้วจึงค่อยสอนให้ลูกเข้าใจจึงวิธีการสื่อสารที่ถูกต้อง ลูกอาจต้องการเวลาอยู่เงียบ ๆ คนเดียวสักพัก จากนั้นเมื่อลูกพร้อมพ่อแม่ก็ควรเข้าไปโอบกอดแสดงความรัก หรือทำให้ลูกอารมณ์ดีขึ้น แล้วจึงพูดในเรื่องที่ต้องการสื่อสารกัน
3.แนะให้คิดถึงใจคนอื่น
อาจแนะนำวิธีที่ดีในการพูด และชี้ให้เห็นภาพว่าถ้ามีคนมาเถียงลูกแบบนี้ลูกจะคิดอย่างไร ถ้าเราไม่ชอบ ก็อย่าทำกับคนอื่น บางคนฟังแล้วรู้สึกโกรธ หรือเสียใจกับคำพูดของลูกก็ได้ เขาจะไม่อยากฟังลูกพูดอีก พยายามพูดให้เห็นภาพ แต่ทั้งนี้ก็ต้องดูวัยของลูกด้วย เพราะบางทีลูกอาจยังไม่เข้าใจว่าคำพูดจายอกย้อนของเขาจะส่งผลอะไรให้กับใครได้ ดังนั้น คุณอาจต้องแสดงให้ลูกเห็นว่าวิธีการพูดที่แตกต่างกันจะให้ผลลัพธ์ที่ต่างกันอย่างไร
4.กำหนดบทลงโทษ ถ้าลูกมีพฤติกรรมเถียงซ้ำ ๆ บ่อย ๆ จำเป็นที่พ่อแม่ต้องตั้งกฎในการลงโทษด้วย โดยให้เขามีส่วนร่วมในการกำหนดด้วย เช่น งดกิจกรรมสุดโปรด ตัดค่าขนม ฯลฯ แต่ก็ต้องให้โอกาสลูกได้ขอโทษ และแก้ตัวใหม่ด้วยเช่นกัน