ระวัง! ลูกเป็นไข้หวัดใหญ่ ระบาดช่วงปลายฝนต้นหนาว - amarinbabyandkids
ไข้หวัดใหญ่ อาการ

ระวัง! ลูกเป็นไข้หวัดใหญ่ ระบาดช่วงปลายฝนต้นหนาว

event
ไข้หวัดใหญ่ อาการ
ไข้หวัดใหญ่ อาการ

การรักษาโรคไข้หวัดใหญ่

โรคไข้หวัดใหญ่ส่วนใหญ่ทำได้โดยการรักษาแบบประคับประคองให้การดูแล รักษาตามอาการ ผู้ป่วยบางรายอาจจำเป็นต้องได้รับยาต้านไวรัส โดยเฉพาะ ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นโรครุนแรง แพทย์จะพิจารณาให้การรักษาเป็นรายๆ ไป ในรายที่มีอาการรุนแรงหรือมีปอดบวมจำเป็นต้องนอนรักษาตัวใน โรงพยาบาล

แต่ที่สำคัญสำหรับลูกน้อย คุณพ่อคุณแม่ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานยาแอสไพรินลดไข้ เนื่องจากอาจทำให้เกิดกลุ่มอาการไรย์ได้ สำหรับยากดการเพิ่มจำนวนของไวรัส ได้แก่ Amantadine, Rimantadine และ Neuraminidase inhibitors (oseltamivir และ zanamivir) นั้นมักไม่ต้องใช้และไม่ค่อยมีในโรงพยาบาลทั่วไป อาจทำให้เกิดผลข้างเคียง ได้และปัจจุบันไวรัสมีการดื้อยามากขึ้น ส่วนใหญ่ใช้ในรายที่มีอาการแทรกซ้อนรุนแรง

♦⇒ Must read : เตือน! ยาลดไข้ ใช้ผิดวิธีอันตรายถึงชีวิตลูก

ลูกเป็นไข้หวัดใหญ่

การป้องกันการติดเชื้อโรคไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่

เนื่องจากโรคไข้หวัดใหญ่อาจทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ และถึงแม้ส่วนใหญ่จะหายโดยไม่มีภาวะแทรกซ้อนก็ตาม แต่ก็อาจทำให้ผู้ป่วย มีไม่สบายหลายวัน จนอาจต้องหยุดเรียนหรือหยุดงาน ดังนั้นถ้าเป็นไปได้ควรลดโอกาสการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ลงโดย

  • รักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ โดยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์เพียงพอและครบหมู่ ดื่มน้ำมาก ๆ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอไม่ตรากตรำทำงานหนักจนเกินไป
  • อยู่ในที่อากาศถ่ายเทดี ไม่เข้าไปในที่แออัดโดยเฉพาะช่วงที่มีการระบาดของไข้หวัดใหญ่
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ , ดื่มสุรา และยาเสพติดต่าง ๆ เนื่องจากอาจทำให้สุขภาพร่างกายไม่ดี มีโอกาสติดเชื้อง่ายขึ้น
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับผู้ที่ป่วยเป็นโรคไข้หวัดอยู่ และพยายามไม่ใช้ของใช้ส่วนตัว เช่น ผ้าเช็ดหน้า แก้วน้ำจานชาม ช้อน ร่วมกัน
  • ล้างมือบ่อย ๆ เนื่องจากอาจไปสัมผัสเชื้อโรคที่อยู่ตามสิ่งของต่างๆ เช่น ราวบันได ลูกบิดประตู แก้วน้ำ เป็นต้น แล้วเผลอไปสัมผัสบริเวณหน้าได้ โดยล้างมือด้วยสบู่ธรรมดา 15-20 วินาทีหรือใช้น้ำยาล้างมืออื่น ๆ
  • รักษาร่างกายให้อบอุ่นในช่วงฤดูหนาวหรือช่วงที่มีอากาศเปลี่ยนแปลง ในที่ที่หนาวมากควรสวมหมวกเพื่อลดการถ่ายเทความร้อนออกจากร่างกายด้วยเนื่องจากการถ่ายเทความร้อนออกจากที่ศีรษะร้อยละ 60
  • ถ้าหากเป็นไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ ควรมีผ้าปิดปากและจมูกเวลาไอจาม ไม่คลุกคลีกับผู้อื่นและหมั่นล้างมือบ่อย ๆ

ลูกเป็นไข้หวัดใหญ่

4 มาตรการ ที่กรมควบคุมโรคแนะนำในการดูแลสุขภาพ
เพื่อไม่ให้คุณและลูกเป็นไข้หวัดใหญ่

กรมควบคุมโรค ได้แนะนำให้คุณพ่อคุณแม่ดูแลสุขภาพของตนเองและลูกน้อย โดยใช้มาตรการ “ปิด ล้าง เลี่ยง หยุด” ได้แก่

  • ปิด คือปิดปาก ปิดจมูก เมื่อไอ จาม ต้องใช้ผ้าหรือกระดาษทิชชูปิดปากและจมูกทุกครั้ง หากเจ็บป่วยด้วยไข้หวัดใหญ่ ควรใส่หน้ากากอนามัย
  • ล้าง คือล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่เมื่อสัมผัสสิ่งของ เช่น กลอนประตู ลูกบิด ราวบันใด ราวบนรถโดยสาร
  • เลี่ยง คือ เลี่ยงการอยู่ใกล้กับผู้ที่มีอาการป่วย มีไข้ ไอ จาม และการอยู่ในพื้นที่แออัด
  • หยุด คือ หยุดเรียน หยุดงาน หยุดทำกิจกรรมในสถานที่แออัดเมื่อมีอาการป่วย แม้ผู้ป่วยจะมีอาการไม่มากก็ควรหยุดพักรักษาตัวอยู่ที่บ้านจนกว่าจะหายเป็นปกติ เพื่อให้หายป่วยได้เร็วขึ้นและไม่ไปแพร่เชื้อให้กับบุคคลอื่น
ปิด ล้าง เลี่ยง หยุด
ปิด ล้าง เลี่ยง หยุด

ทั้งนี้สำหรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ แนะนำให้ฉีดในรายที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคได้แก่

  • เด็กที่ 6 เดือน – 18 ปี ที่รับประทานยาแอสไพรินเป็นประจำควรได้รับการฉีดวัคซีนนี้ด้วยเช่นกัน เนื่องจากถ้า มีป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่อาจเกิด กลุ่มอาการไรย์ ( Reye’s syndrome) ขึ้นได้โดยมีตับอักเสบและสมองอักเสบ
  • ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 2 และ 3
  • ผู้สูงอายุ
  • ผู้ที่มีโรคปอดเรื้อรัง โรคหอบหืด โรคหัวใจและระบบไหลเวียนเลือด
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรังอื่นๆ เช่น โรคไต โรคเบาหวาน
  • ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง รวมถึงผู้ที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกันด้วย
  • ผู้ที่ต้องทำงานใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคเรื้อรังหรือชุมชน เช่น แพทย์ พยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์ ผู้ที่ทำงานในสถานดูแลผู้ป่วยสูงอายุ เป็นต้น

ซึ่งการให้ลูกได้รับวัคซีนก็จะช่วยลดอาการและความรุนแรงของโรค ภาวะแทรกซ้อน หรือโอกาสที่ ลูกเป็นไข้หวัดใหญ่ ต้องนอนโรงพยาบาลและอัตราการเสียชีวิตลง ซึ่งวัคซีนได้ผลประมาณร้อยละ 70-90 แต่ในผู้สูงอายุมีการตอบสนองต่อยาน้อยกว่านี้ ประมาณร้อยละ 30-70 การฉีดวัคซีนนี้จะต้องฉีดทุกปีเข้ากล้าม 1 ครั้งก่อนช่วงที่จะมีการระบาด ( ฤดูฝน) เนื่องจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมตลอด วัคซีนจึงต้องผลิตใหม่ให้ตรงกับสายพันธุ์ที่กำลังแพร่ระบาดอยู่ ร่างกายใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์กว่าจะสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาได้ ผลข้างเคียงจากการฉีดยาที่พบในผู้ป่วยบางรายได้แก่ อาการไข้ ปวดเมื่อยตามตัวเล็กน้อยหรือปวด บวม คันบริเวณที่ฉีดซึ่งมักมีอาการไม่มากนักและมักจะหายไปใน 1-2 วัน

ลูกเป็นไข้หวัดใหญ่

อ่านต่อ “บทความดี ๆ น่าสนใจ” คลิก!


ขอบคุณข้อมูลจาก : www.thaihealth.or.th , www.si.mahidol.ac.th , www.tm.mahidol.ac.th

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up