EF ทักษะสมอง คือหนึ่งในกระบวนการพัฒนาเลี้ยงลูกให้เท่าทันโลกในศตวรรษที่ 21 นี้ ซึ่งการจะส่งเสริมให้ลูกก้าวไปสู่ประตูแห่งการประสบความสำเร็จในชีวิตได้นั้น พ่อแม่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนวิธีการเลี้ยงลูกแบบเดิมๆ ออกไป จะไม่มีการตีกรอบ จะไม่มีการบังคับ แต่จะให้อิสระกับลูกในการคิด แก้ปัญหา ตัดสินใจ ลงมือทำด้วยตัวเอง ซึ่งทั้งหมดนี้คือการเลี้ยงลูกแบบ EF
EF ทักษะสมอง คืออะไร?
คุณสุภาวดี หาญเมธี นักจัดการความรู้หนึ่งในผู้ก่อตั้งเครือข่าย EF Partnership ได้บอกถึงกระบวนการพัฒนาเลี้ยงลูกแบบ EF ที่พ่อแม่ควรทำความใจเพื่อช่วยสร้างให้ลูกประสบความสำเร็จ
Executive Functions (EF) คือ ทักษะสมอง ที่ใช้ในการกำกับความคิด จะคิดอะไร ทำไมต้องคิดอย่างนี้ คิดอย่างนี้แล้วจะได้ประโยชน์อะไร กำกับความรู้สึก จะแสดงออกแค่ไหน เรากำลังรู้สึกอย่างไร เหมาะไหมในสถานการณ์ ในกาลเทศะแบบนี้ จะแสดงพฤติกรรมออกไปอย่างไร และในที่สุดก็จะพาเราไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ
หากจะทำความเข้าใจให้ง่ายขึ้นก็คือ การที่เด็กๆ สามารถใช้ทักษะสมองที่มีเพื่อการจัดการกับชีวิตให้นำไปสู่ความสำเร็จ เด็กคิดเป็น ทำเป็น เรียนรู้เป็น แก้ปัญหาเป็น อยู่ร่วมกับผู้อื่นเป็น และมีความสุขเป็นนั่นเองค่ะ ซึ่งทั้งหมดนี้คือการสร้างให้ลูกมีภูมิต้านทานอุปสรรคในการดำเนินชีวิตไปในแต่ละช่วงวัยได้อย่างราบรื่น และถึงจะมีปัญหาเข้ามาในบางช่วงจังหวะชีวิต พวกเขาก็จะสามารถแก้ไข และผ่านไปได้ด้วยดี
พ่อแม่จะช่วยสร้าง EF และภูมิต้านทานอุปสรรคให้ลูกได้อย่างไร ?
การเลี้ยงลูกให้รู้จักใช้ทักษะสมอง ในการกำกับความคิดก่อนที่จะลงมือทำอะไร หรือตัดสินใจในเรื่องต่างๆ จำเป็นอย่างมากที่จะต้องมีพื้นฐานการเลี้ยงลูกที่ดีจากพ่อแม่ ซึ่งการเลี้ยงลูกในศตวรรษที่ 21 เพื่อนำลูกไปสู่ความสำเร็จ ควรต้องส่งเสริมให้ลูกมี 3 ทักษะจาก EF ดังนี้
- ทักษะที่ 1 : Working Memory
คือ ความจำ ที่ไม่ใช่การท่องจำ เด็กที่มีทักษะ Working Memory คือ จะมีความจำที่ได้ผ่านประสบการณ์ ได้พบ ได้เห็น ได้รู้สึก ได้รู้จัก ได้รู้ลึก ได้เข้าถึง แล้วเก็บไปไว้ในสมอง เมื่อไปเจอสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่งที่จำเป็น ความจำเหล่านี้จะปรากฏขึ้นมา จะพลุ่งพล่านขึ้นมาทันที เพราะมีประสบการณ์ที่ผ่านมาเป็นฐาน ดังนั้นพ่อแม่ควรสะสมความรู้ ความจำ สะสมข้อมูลที่ดีเป็นประโยชน์เข้าไปในสมองลูกอยู่อย่างสม่ำเสมอ
- ทักษะที่ 2 : Inhibitory Control
คือ ความยับยั้งช่างใจ หยุดแล้วคิดก่อนที่จะทำหรือพูด การใช้ชีวิตอยู่ในสังคมของเด็กๆ เพื่อให้อยู่รอดได้อย่างปลอดภัย มีมิตรภาพที่ดีจากคนรอบข้าง ไม่ว่าจะจากคนในครอบครัว เพื่อนที่โรงเรียน เพื่อนที่ทำงาน หรือแม้แต่ในชีวิตคู่ครอง หากปราศจากทักษะในเรื่องนี้แล้ว อาจนำมาซึ่งความล้มแล้วในชีวิตได้ ดังนั้นพ่อแม่ควรฝึก ควรสอนมีตัวอย่างให้ลูกเห็นว่าการไม่มีความยับยั้งช่างใจในการดำเนินชีวิต จะนำมาซึ่งผลเสียหรือได้รับอันตรายใดได้บ้าง แต่ถ้าลูกรู้จักยับยั้งช่างใจเมื่อต้องเผชิญอยู่กับเหตุการณ์ยั่วยุให้โกรธ โมโห ผลลัพธ์ที่ดีที่จะเกิดขึ้นตามมานั้นเป็นอย่างไร
- ทักษะที่ 3 : Cognitive Flexibility
คือ การยืดหยุ่นทางความคิด พ่อแม่ควรฝึกลูกตั้งแต่เล็กๆ ให้เขาสามารถอยู่ได้กับทุกสถานการณ์ เป็นคนที่กินง่าย อยู่ง่าย ถ้าไม่มีของในแบบที่อยากได้ สามารถเปลี่ยนมาเป็นแบบอื่นได้ไหม การมีตัวเลือกให้ลูกที่มีทั้งข้อดีและข้อเสียให้ลูกได้ พิจารณาคิดวิเคราะห์ว่าอย่างไหน แบบไหนที่เหมาะกับตัวเองก็จะช่วยให้การใช้ชีวิตในแต่ละวันของลูกง่ายขึ้น
การเลี้ยงลูกการสร้างภูมิต้านทานอุปสรรคให้กับพวกเขา อาจไม่ใช่แค่ส่งเสริมให้ลูกมี IQ หรือ EQ ที่ดีเท่านั้นอีกต่อไปแล้ว แต่การที่ลูกจะสามารถเดินทางไปสู่ความสำเร็จในชีวิตอย่างที่มุ่งหวังไว้ในอนาคต จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีทักษะสมองด้วย เราไปดูอีก 5 ข้อองค์ประกอบของ EF ที่ใช้ในกระบวนการพัฒนาเลี้ยงลูกกันค่ะ
- ต้องมีความผูกพันที่ไว้ใจได้ ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่กับลูก ต้องทำให้ลูกมั่นใจว่าพ่อแม่ที่เขาอยู่ด้วยในทุกวันเป็นคนที่ปลอดภัยสำหรับเขา ให้ความรู้ให้ประสบการณ์ที่ดีที่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน ไม่ใช่พ่อสอนอย่าง แม่สอนอีกอย่าง ซึ่งนั่นไม่เป็นผลดีต่อตัวของเด็กๆ
- ต้องสร้างประสบการณ์ที่หลากหลายแบบ Active Learning พ่อแม่ไม่ควรให้ลูกทำอะไรซ้ำๆ เป็นกิจวัตรแบบแผนที่ตายตัวเกินไป เพราะวิธีการเลี้ยงลูกลักษณะนี้ไม่ได้เป็นผลดีต่อทักษะสมองของลูก จึงแนะนำว่าควรหากิจกรรมใหม่ๆ ที่ฉีกไปจากกิจกรรมที่ลูกทำอยู่เดิมๆ บ้าง ให้เขาได้ออกไปเจอ ไปเรียนรู้โลกกว้างนอกบ้าน นอกห้องเรียนบ้าง
- ต้องมีโอกาสที่จะได้เรียนรู้เรื่องของสังคม อารมณ์ พ่อแม่ต้องสอนให้ลูกสามารถอยู่ร่วมกับคนอื่นๆ ในสังคมได้ มีความเห็นอกเห็นใจ รู้จักการหยิบยื่นน้ำใจช่วยเหลือผู้อื่นได้
- บ้านต้องมีสภาพแวดล้อมที่ดี ที่เอื้อให้ลูกกล้าคิด กล้าทำ เวลาที่ลูกอยู่บ้านไม่ว่าจะเป็นพ่อ หรือแม่ จะต้องไม่ทำให้ลูกรู้สึกกังวล หรือกลัวที่จะพูดคุยด้วย พ่อแม่ต้องสร้างความมั่นใจให้ลูก ให้เขากล้าที่จะเป็นคนเปิดเผย กล้าถาม กล้าพูดคุย กล้าที่จะลงมือทำกิจกรรมต่างๆ ให้เขาได้ลองคิดลองทำ
- กายภาพสมอง โดยเฉพาะเรื่องการนอน เด็กที่ได้นอนมากๆ จะเป็นเด็กที่มี EF ดี เพราะเนื้อสมองจะมีการเจริญเติบโตที่ดี ทุกครั้งที่ลูกได้นอนอย่างเพียงพอสมองจะ Re-Organize ข้อมูลของตัวมันเอง ทำให้เกิดการจัดระเบียบข้อมูลที่เข้ามามากมายในแต่ละช่วง ผลลัพธ์ที่ตามมคือลูกก็จะมี EF ทักษะสมองดีขึ้น มีสมรรถนะในการคิดดีขึ้น และที่ควรต้องให้ลูกทำควบคู่ด้วยกันคือ การออกกำลังกายให้เหงื่อออก จะยิ่งส่งให้สมองทำงานได้ดีขึ้นด้วยเช่นกัน
การส่งให้ลูกไปสู่ประตูของความสำเร็จในชีวิต ต้องเริ่มที่พ่อแม่ในการเปลี่ยนรูปแบบการเลี้ยงดูในวิธีการเดิมๆ ซึ่งการเลี้ยงลูกแบบ Executive Functions ก็น่าจะเหมาะกับโลกในยุคศตวรรษที่ 21 นี้นะคะ
สามารถเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการสร้างภูมิต้านทานอุปสรรคให้กับลูกๆ จากผู้เชี่ยวชาญ ได้ที่ http://www.nutricia-shapingdestiny.com/online-experience.html
นอกจากการเสริมภูมิต้านทานอุปสรรคและสนับสนุนลูกให้ไปสู่ความสำเร็จในอนาคตได้อย่าสมบูรณ์แบบ การดูแลเรื่องโภชนาการก็เป็นสิ่งที่สำคัญเพื่อให้ลูกมีพัฒนาการที่ดี และมีภูมิต้านทานที่แข็งแรง คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลลูกให้ได้รับโภชนาการที่ดีและเหมาะสมตามช่วงวัยโดยเฉพาะในช่วงแรกของชีวิต และเสริมด้วยโภชนาการที่มีซินไบโอติกอย่างต่อเนื่อง จากงานวิจัยในเด็กอายุระหว่าง 1 – 3 ปี พิสูจน์แล้วว่าพรีไบโอติก ได้แก่ กอสและแอลซีฟอส เมื่อเด็กๆ ได้รับร่วมกับดีเอชเอ ช่วยให้เด็ก 1 ใน 4 ไม่เจ็บป่วยจากการติดเชื้อตลอดปี* ดังนั้นหนึ่งในตัวเลือกเพื่อช่วยเสริมภูมิต้านทานคือการทานนมสูตรที่มีซินไบโอติก ซึ่งประกอบด้วยพรีไบโอติกและโพรไบโอติก
*Chatchatee P, et al. J Pediatr Gastroenterol Nutr. 2014;58:428-437 จากนมที่เสริม GOS/lcFOS (สัดส่วน 9:1) 6 กรัม และ DHA 100 มิลลิกรัมต่อวัน