ฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุ …ฟันของเหล่าลูกน้อย จะแข็งแรงได้นั้น “ฟลูออไรด์” ต้องเพียงพอ เพราะ ฟลูออไรด์ เป็นสารช่วยป้องกัน และลดการผุของฟันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลต่อฟัน คือ เมื่อฟันขึ้นแล้ว สารฟลูออไรด์จะช่วยลดการสร้างกรดจากจุลินทร์ทรีย์ และยังสามารถช่วยทำให้การผุชะลอตัว ไม่ผุเพิ่มขึ้นในฟันที่ผุเริ่มแรกได้
ฟลูออไรด์คืออะไร
ฟลูออไรด์เป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่งที่ใช้ป้องกันโรคฟันผุ สามารถใช้ได้ 2 วิธี คือ
- ฟลูออไรด์ที่ใช้ในระบบทั่วร่างกาย คือ การเติมฟลูออไรด์ลงในน้ำหรืออาหารเพื่อให้เด็กรับประทาน เพื่อมุ่งหวังผลให้ฟลูออไรด์เข้าไปอยู่ในฟันในขณะที่ฟันกำลังมีการเจริญเติบโต ซึ่งสามารถทำได้โดยการเติมฟลูออไรด์ลงในน้ำดื่ม ในนม เสริมในรูปของยาฟลูออไรด์ ในอาหาร เช่น ใบชา อาหารทะเล (ปลาแห้ง กุ้งแห้ง) เนื้อสัตว์ ผัก ในน้ำบาดาล ในอากาศ เป็นต้น
- ฟลูออไรด์เฉพาะที่ คือ การใช้ฟลูออไรด์สัมผัสกับฟันโดยตรง ซึ่งสามารถทำได้โดยการแปรงฟันด้วยยาสีฟันฟลูออไรด์ การใช้ยาบ้วนปากฟลูออไรด์ การเคลือบฟลูออไรด์โดยทันตแพทย์ การขัดฟันด้วยสารฟลูออไรด์ การที่ยาฟลูออไรด์สัมผัสกับฟันก่อน
แนวทางการใช้ ฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุ สำหรับเด็ก 2560
การใช้ ฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุ เป็นวิธีที่ยอมรับกันทั่วไปว่าสามารถป้องกันฟันผุได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในการป้องกันฟันผุของฟลูออไรด์ เป็นผลเฉพาะที่บนผิวฟันและบริเวณรอบ ๆ ตัวฟัน มากกว่าผลจากทางระบบกลไกหลักที่สำคัญของฟลูออไรด์ในการป้องกันฟันผุคือ การส่งเสริมการสะสมของแร่ธาตุผิวฟัน และทาให้เกิดการยับยั้งการละลายตัวของแร่ธาตุที่ผิวฟัน เมื่อมีฟลูออไรด์ความเข้มข้นสูงกว่า 100 ส่วนในล้านส่วน จะสร้างแคลเซียมฟลูออไรด์ สะสมอยู่ในคราบจุลินทรีย์ และรูพรุนของผิวเคลือบฟัน ซึ่งเป็นแหล่งสะสมของฟลูออไรด์ แคลเซียมฟลูออไรด์สามารถแตกตัวเกิดเป็นฟลูออไรด์อิสระ กระตุ้นให้เกิดการสะสมของแร่ธาตุและยับยั้งการละลายตัวของแร่ธาตุที่ผิวฟัน
การใช้ฟลูออไรด์มีหลายรูปแบบแบ่งเป็น 3 กลุ่มดังนี้
- ฟลูออไรด์สาหรับใช้ที่บ้าน (Home-use fluoride) แบ่งเป็น
– ฟลูออไรด์ชนิดที่ซื้อใช้ได้เอง ได้แก่ ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ (Fluoride toothpaste) ยาอมบ้วนปากผสมฟลูออไรด์ (Fluoride mouthrinse)
– ฟลูออไรด์ชนิดที่ทันตแพทย์สั่งจ่ายให้ ได้แก่ ฟลูออไรด์เจลสาหรับใช้ที่บ้าน (Home fluoride gel) ฟลูออไรด์เสริมชนิดรับประทาน (Fluoride supplement)
- ฟลูออไรด์ที่ใช้โดยทันตแพทย์หรือทันตบุคลากร (Professional applied fluoride) ได้แก่ ฟลูออไรด์เจล (Professional fluoride gel) ฟลูออไรด์วาร์นิช (Fluoride varnish) ซิลเวอร์ไดอะมีนฟลูออไรด์ (Silver diamine fluoride)
- ฟลูออไรด์สาหรับใช้ในชุมชน (Community-use fluoride) ได้แก่ น้าดื่มผสมฟลูออไรด์ (Fluoridated water) นมผสมฟลูออไรด์ (Fluoridated milk)
ข้อควรระวัง หรืออันตรายจากการใช้ฟลูออไรด์
ฟลูออไรด์ มีคุณสมบัติคล้ายสารอาหารอื่นๆ ถ้าได้รับในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการ ของร่างกายก็จะเป็นประโยชน์ แต่ถ้าได้รับมากเกินไป ก็จะเกิดโทษต่อร่างกาย โทษของฟลูออไรด์ต่อร่างกาย พบได้ 2 ลักษณะคือ
- การเป็นพิษแบบเฉียบพลันเกิดจากการได้รับฟลูออไรด์ในปริมาณสูงมาก ในครั้งเดียว มีอาการตั้งแต่คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสียหากได้รับปริมาณสูงมากๆ จะมีผลต่อระบบหัวใจ หรือเสียชีวิตได้
- การเป็นพิษแบบเรื้อรังเกิดจากการได้รับฟลูออไรด์ในขนาดที่สูงกว่า ระดับที่เหมาะสม คือ 2-10 มิลลิกรัมต่อวัน อย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปี จะเกิดผลข้างเคียงต่อฟัน คือ ฟันมีสีขาวขุ่น จนถึงขั้นฟันตกกระ และมีผลต่อกระดูกด้วย แต่สำหรับนมฟลูออไรด์ จะมีขนาดฟลูออไรด์ที่เหมาะสม มีการควบคุมคุณภาพ และปริมาณฟลูออไรด์ จึงมีความปลอดภัยเพียงพอ ที่จะใช้ดื่มเป็นประจำ เพื่อป้องกันฟันผุ อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยในที่นี้ Amarin Baby & Kids จะขอหยิบยก นำเรื่อง ฟลูออไรด์สาหรับใช้ที่บ้าน ซึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัว เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่ดูแลเรื่องฟันของลูกน้อยได้อย่างใกล้ชิด >> อ่าน แนวทางการใช้ ฟลูออไรด์สำหรับเด็ก 2560 แบบเต็มๆ ไฟล์ PDF คลิกที่นี่!!
อ่านต่อ >> “ฟลูออไรด์สำหรับใช้ที่บ้านเพื่อลูกน้อยโดยเฉพาะ” คลิกหน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่