ลูกกับบทบาทสมมติ - Amarin Baby & Kids

ลูกกับบทบาทสมมติ

Alternative Textaccount_circle
event

แต่เราเถียงว่า : จะทำแบบนั้นก็ได้นะ แต่คงต้องใช้เวลาเกือบทั้งวันในการซ่อนหนังสือ เครื่องสำอาง ปลาทอง…ฯลฯ เพราะเด็กวัยเตาะแตะสนใจของทุกอย่างเลยน่ะสิ ! ทางที่ดี มีของล่อใจเจ๋งๆ ติดตัวไว้แก้ปัญหาเฉพาะหน้าดีกว่า (จะฉวยรูปถ่ายลูกที่พกติดกระเป๋าสตางค์ไว้มาใช้แก้ปัญหาเฉพาะหน้าก็เร็วดี เด็กๆ ชอบดูรูปตัวเองจะตายไป !)

 
พอเจ้าตัวเล็กของคุณอายุประมาณ 2 ขวบคุณจะไม่ใช่ตัวตลกหนึ่งเดียวในบ้านอีกต่อไป เพราะเขาจะเริ่มทำตลกได้ด้วยตัวเอง

 
เมื่อเด็กวัยเตาะแตะรับรู้ความเป็นไปในโลกมากขึ้น เขาจะเริ่มค้นพบว่า แค่แกล้งพูดผิดๆบ้างก็ทำให้ขำได้แล้ว และการเล่าเรื่องขำขันก็ยังแสดงให้เห็นถึงความเฉลียวฉลาดของเขาด้วยเช่น ถ้าลูกชี้ที่ข้อศอกแต่กลับบอกคุณว่าเป็นจมูก แล้วลงไปนอนขำกลิ้งอยู่ที่พื้น คุณก็รู้ได้ว่าเขารู้จักอวัยวะต่างๆ เป็นอย่างดี

 
การเล่นสมมติของลูกก็อาจทำให้คุณหัวเราะได้เหมือนกัน เช่น หนูน้อยอาจเอามงกุฎปลอมๆ (ที่ช่วยกันประดิษฐ์กับคุณตอนกลางวัน) ไปแปะบนหน้าผากคุณพ่อ แล้วบอกว่านี่คือเจ้าชาย ไม่ใช่พ่อซะหน่อย…แต่ไม่ต้องแปลกใจถ้าลูกเล่า เรื่องขำขันŽ ซ้ำไปซ้ำมาหลายๆ รอบ เพราะเด็กวัยนี้ยังไม่เข้าใจว่า มุกเดิมๆŽ คืออะไร

 
ถ้าจะให้ลูกขำมากขึ้น (และทำให้เรื่องขำขันของลูกน่าสนใจสำหรับคุณมากขึ้นด้วย) คุณก็ควรเล่นหรือรับมุกไปกับเขา เช่น ถ้าลูกพูดว่า แม่เป็นเป็ดŽ คุณก็เออออด้วยการร้อง แควกๆŽ แบบเป็ดด้วยซะเลยไง !

 

 

บทความโดย: กองบรรณาธิการนิตยสารเรียลพาเรนติ้ง

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up