การเอาแต่ใจตัวเองเป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นต่อเนื่องจากช่วงทารก ซึ่งในระยะแรกๆ ถ้าเขาสนใจอยากได้อะไร ผู้ใหญ่รอบๆ ข้างก็มักจะยอมและตามใจเขา โดยไม่มีการจำกัดขอบเขต เมื่อเขาเติบโตขึ้น บางสิ่งบางอย่างไม่ถูกต้องก็ควรจะห้ามเขาได้ แต่การเลี้ยงดูที่ไม่ถูกต้อง ทำให้ไม่เคยถูกจำกัดขอบเขตของพฤติกรรม อยากทำอะไรก็ไม่มีคนกล้าขัดใจ จนเป็นเด็กที่เอาแต่ใจตัวเอง ทำให้ติดเป็นนิสัย และมักจะแสดงอาการก้าวร้าวเมื่อมีคนมาขัดใจ เช่น ขว้างของ ตีคนรอบข้าง หรือ ทำร้ายตนเอง เช่น หัวโขกพื้น หรือร้องไห้แล้วกลั้นใจจนหน้าเขียวก็มี
ซึ่งก็มีพ่อแม่จำนวนมากเมื่อพบพฤติกรรมตอบโต้ของเขาเช่นนี้ก็เกิดความกลัว ในที่สุดก็ไม่กล้าขัดใจ ทำให้เขาได้ใจและใช้วิธีการนี้เป็นอาวุธประจำตัวเมื่อมีคนขัดใจ กลายเป็นเด็กที่เอาแต่ความคิดตนเองเป็นหลัก เมื่อเป็นมากขึ้นก็จะไม่เห็นความสำคัญของคนอื่น กลายเป็นคนเห็นแก่ตัวและเข้าสังคมไม่ได้ จึงควรดัดเขาตั้งแต่เล็กๆ ทุกครั้งที่พบพฤติกรรมเช่นนี้ เช่น การที่เขาร้องแล้วกลั้นหายใจจนเขียวนั้น ก็อย่ายอมเขา โดยปล่อยให้เขาร้อง อยู่ใกล้ๆ เขา เอามือหนึ่งของคุณไว้บนแผ่นหลังของเขา อีกมือหนึ่งของคุณไว้บนหน้าอกของเขา แล้วกดอกของเขาเข้าหากันเบาๆ เพื่อเป็นการผายปอด จะทำให้เขากลับมาหายใจได้เร็วขึ้น ลูกมักจะร้องกลั่นหายใจเฉพาะครั้งแรกที่ร้องเท่านั้น เมื่อเขากลับมาหายใจดังเดิมก็เดินจากมา ปล่อยให้เขาร้องต่อไป ในครั้งต่อๆ ไปเขาจะไม่ทำเช่นนี้อีก เพราะไมได้ประโยชน์อะไรจากการร้องไห้รุนแรงเช่นนี้
***ข่าวดี คือ พฤติกรรมแย่ๆ ทั้งหลายในเด็กวัยนี้มีด้านดีที่คุณอาจไม่รู้ และมีวิธีแก้ไข มามองมุมดีของพฤติกรรมเหล่านั้นกัน อย่างน้อยก็จะช่วยให้คุณเปลี่ยนอาการของขึ้น หงุดหงิด อารมณ์เสียตอนลูกออกลาย ไปเป็นผู้ช่วยปรับแต่งพฤติกรรมของลูกในทางที่ดีได้อย่างเข้าใจและยอมรับ
♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦
1. โกหกหน้าตาย
√ แง่ดีของพฤติกรรมนี้ ผลวิจัยชี้ว่าเด็กที่เริ่มพูดโกหกตอนอายุ 2-3 ขวบหรือเร็วกว่าเด็กส่วนใหญ่ 1-2 ปีมักมีระดับไอคิวที่สูงกว่าเล็กน้อย เพราะการโกหกต้องอาศัยความสามารถทางสติปัญญาในระดับที่สูงกว่าการสารภาพ คือนอกจากจะต้องพยายามไม่พูดความจริงแล้ว เด็กๆ ยังต้องแต่งเรื่องโกหกและพอจะต้อง “อ่านใจ” พ่อแม่ได้ด้วย จะได้ไม่โกหกให้จับได้แบบคาหนังคาเขา และการอ่านใจก็เป็นทักษะที่เกี่ยวโยงกับพัฒนาการด้านการมีอารมณ์ร่วม
♥ ปรับแก้ได้ : เวลาที่จับได้ว่าลูกโกหก (ส่วนใหญ่จับได้เสมอ) อารมณ์เสีย โมโห โกรธ และดุว่า ไม่ช่วยให้เด็กเล็กๆ เข้าใจ ควรเลี่ยงการลงโทษ ควรใช้โอกาสนั้นบอกให้ลูกรู้ว่า ถ้าเขาโกหก ต่อไปก็จะไม่มีใครเชื่อในสิ่งที่เขาพูด รวมถึงคุณด้วย ความซื่อสัตย์เป็นสิ่งสำคัญ และชี้ให้ลูกเห็นว่าครั้งต่อไปถ้าเกิดปัญหาขึ้น เขาสามารถแก้ไขได้ด้วยการพูดคุยกัน
หากลูกยอมสารภาพ คุณควรขอบคุณและชื่นชม (แต่พอดีๆ ไม่ชมจนออกนอกหน้า) และย้ำกับเขาได้ว่าถึงการสารภาพเป็นเรื่องดี แต่ถึงอย่างไร การพูดความจริงตั้งแต่แรกก็เป็นสิ่งที่ดีกว่า
2. ช่างฟ้องทุกเม็ด
√ แง่ดีของพฤติกรรมนี้ พฤติกรรมขี้ฟ้องจะเริ่มในวัย 3-4 ขวบ มองในด้านดีชี้ให้เห็นว่าเด็กๆ นึกถึงการทำตามกฎและเริ่มมีความรู้สึกผิดชอบชั่วดี (เด็กวัยนี้ยังไม่สามารถรู้ผิดชอบดีชั่วด้วยตัวเอง แต่จะรู้จากที่พ่อแม่และผู้ใหญ่บอก) จึงอยากให้คนอื่นทำสิ่งที่เหมาะสม และนั่นก็เป็นพื้นฐานที่จะทำให้เขาเติบโตเป็นพลเมืองดีในอนาคต
♥ ปรับแก้ได้ : ส่วนใหญ่พ่อแม่ไม่อยากให้ลูกเป็นเด็กช่างฟ้อง แต่ก็อาจจะมีบางสถานการณ์ เช่น กรณีที่เขาถูกรังแกหรือกลั่นแกล้ง จำเป็นต้องการคนช่วย คุณจึงควรจะชื่นชมที่เขารู้จักทำตามกฎ แต่ก็ต้องพยายามทำให้เขาเลิกหยุมหยิมกับการไม่ทำตามกฎเล็กๆ น้อยๆ (อย่างไม่ล้างมือก่อนกินข้าว โดยบอกเขาว่าเด็กๆ ต้องล้างมือก่อนกินข้าว ขอบคุณที่เตือน แต่เพื่อนอาจจะรอใช้อ่างล้างมืออยู่ก็ได้) หรือถ้าลูกฟ้องว่ามีเด็กคนไหนๆ ทำไม่ดีกับเขา คุณก็สอนให้เขารู้จักพูดเพื่อแก้ปัญหาด้วยตัวเองได้
อ่านต่อ >> “วิธีรับมือและแก้ไขเมื่อลูกดื้อมาก ให้มองเป็นเรื่องดี เปลี่ยนลูกได้ไปตลอดชีวิต” คลิกหน้า 3
อ่านต่อ “บทความดีๆน่าสนใจ” คลิก!
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่