ลูก หัวกระแทกของแข็ง อาการแบบไหนต้องรีบไปหาหมอ - Amarin Baby & Kids
หัวกระแทกของแข็ง

ลูกหัวโน หัวกระแทกของแข็ง ควรทำอย่างไร อาการแบบไหนต้องรีบพาไปหาหมอ?

Alternative Textaccount_circle
event
หัวกระแทกของแข็ง
หัวกระแทกของแข็ง

พ่อแม่ควรทำอย่างไรเมื่อลูก หัวกระแทกของแข็ง

อาจเป็นเรื่องท้าทายที่จะรู้ว่าควรทำอย่างไรหลังจากที่ลูกของคุณได้รับบาดเจ็บที่ศรีษะจากการกระแทก คุณอาจสงสัยว่าคุณควรพาลูกไปโรงพยาบาลหรือใช้วิธีเฝ้าระวังและรอสังเกตอาการ การรักษาพยาบาลอย่างทันท่วงที เป็นสิ่งสำคัญเมื่อพูดถึงอาการบาดเจ็บที่ศีรษะของเด็กเล็ก หากลูกของหัวฟาดกับพื้นแข็งเพราะตกลงมาจากที่สูง เช่นเ ก้าอี้สูง หรือโต๊ะเปลี่ยนผ้าอ้อม (เกณฑ์คือ 3 ฟุตหรือสูงกว่าสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปีและ 5 ฟุตหรือสูงกว่าสำหรับเด็กอายุ 2 ปีขึ้นไป ) หากลูกถูกวัตถุที่เคลื่อนไหวเร็วเช่นลูกบอลกระแทกที่ศีรษะ หรือหากคุณพบอาการใดๆ ต่อไปนี้ เด็กควรได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

  • หมดสติ (แม้เพียงชั่วขณะ) หรือดูมึนงง
  • หยุดร้องไห้ไม่ได้
  • อาเจียน มากกว่าหนึ่งครั้งหลังจากการถูกกระแทก
  • ดูงุ่มง่ามกว่าปกติ ไม่พูดหรือเดินตามปกติ
  • ปลุกไม่ตื่นหลังจากที่หลับไปแล้ว
  • รูม่านตา มีขนาดต่างกัน
  • มีเลือดออกที่ศีรษะหรือใบหน้า รวมทั้งมีเลือดออกจากจมูกหรือหู
  • บริเวณที่ถูกกระแทกบวมแดงกดแล้วรู้สึกนิ่ม
  • ความจำเสื่อมหรือสับสน
  • มีอาการปวดหัวรุนแรงอย่างต่อเนื่อง
  • ก้าวร้าวหรือหงุดหงิดมากกว่าปกติ
  • มีรอยยุบที่มองเห็นได้บนศีรษะหรือมีรอยคล้ำ/ช้ำใต้ตาหรือหลังใบหู
  • มีอาการชัก

การเฝ้าระวังที่บ้านเมื่อ ลูกหัวโน หัวกระแทกของแข็ง

  • สังเกตอาการอย่างระมัดระวัง ประมาณสองสามวันหลังเกิดเหตุ เพราะอาการบาดเจ็บที่ศีรษะบางอย่างอาจค่อยๆรุนแรงขึ้น หากคุณสังเกตเห็นอาการใด ๆ ที่จำเป็นต้องไปพบแพทย์ ER แสดงว่าอาการของบุตรหลานของคุณแย่ลง
  • ใช้ Cool Gel ประคบ เพื่อช่วยลดอาการบวมและบรรเทาอาการบาดเจ็บที่ศีรษะ
  • ให้ยาอะเซตามิโนเฟน หากลูกของคุณเจ็บปวด (หลีกเลี่ยงไอบูโพรเฟน ซึ่งอาจทำให้เลือดออกมากขึ้น) เว้นแต่แพทย์จะแนะนำทางเลือกอื่น ให้ลูกของคุณนอนหลับ เป็นเรื่องปกติที่เด็กวัยหัดเดินจะหลับใหลหลังจากได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ ดังนั้นอย่าตื่นตระหนกหากลูกของคุณต้องการงีบหลับ
  • เช็คอาการ ตรวจดูอาการของลูกในขณะที่นอนหลับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากอาการบาดเจ็บเกิดขึ้นระหว่างเวลานอนหรืองีบหลับ ตราบใดคุณไม่รู้สึกถึงอาการผิดปกติใดๆ ควรจะปล่อยให้ลูกได้พักผ่อนอย่างเต็มที่

การวินิจฉัย อาการเมื่อลูก หัวกระแทกของแข็ง

แพทย์จะตรวจอาการของเด็กและถามคุณพ่อคุณแม่ว่าอาการบาดเจ็บที่ศีรษะเกิดขึ้นได้อย่างไร ตลอดจนสอบถามเกี่ยวกับปัญหาทางการแพทย์ที่ลูกของคุณมี หรือยาใดๆ ที่ลูกของคุณใช้อยู่ และอาจต้องทำการ CT Scan (เอ็กซ์เรย์สามมิติ) สมอง เพื่อค้นหาสัญญาณของอาการบวม เลือดออกหรือกระโหลกแตกร้าว  CT Scan อาจใช้เวลาประมาณ 10 นาที และอาจต้องรอผลตรวจนานสองถึงสามชั่วโมงเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง หากการทดสอบไม่พบความผิดปกติ และแพทย์เห็นว่าเด็กไม่มีอาการที่น่าเป็นห่วงแพทย์อาจพิจารณาให้กลับบ้านและให้พ่อแม่คอยสังเกตอาการได้ แต่หากพบความผิดปกติ ต่างๆ เช่น หลอดเลือดฉีกขาด หรือกะโหลกศีรษะแตกลูกของคุณอาจต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล หรือทำการผ่าตัด

อาการแทรกซ้อนกับอาการบาดเจ็บที่ศีรษะในเด็ก

แม้ว่าการกระแทกที่ศีรษะของเด็กวัยหัดเดินส่วนใหญ่จะไม่ใช่เรื่องใหญ่ แต่ในบางกรณี อาการบาดเจ็บที่ศีรษะอาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้ การกระแทกที่ศีรษะอย่างรุนแรงอาจทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่าเลือดออกในกะโหลกศีรษะ ซึ่งมีเลือดออกข้างในหรือรอบ ๆ เนื้อสมอง ซึ่งเป็นภาวะร้ายแรงที่สร้างแรงกดทับที่ต่อสมอง หากไม่รีบรักษาอาจส่งผลเสียต่อสมองและเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

การบาดเจ็บที่สมองอย่างรุนแรง (TBI) อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในระยะยาวได้ ความเสียหายของเส้นประสาทจากการบาดเจ็บอาจทำให้สูญเสียการมองเห็น การได้กลิ่น การได้ยิน และการรับรส และ/หรือการเปลี่ยนแปลงหรือสูญเสียความสามารถในการพูด การเคลื่อนไหว การบาดเจ็บที่สมอง เล็กน้อย หรือปานกลาง อาจส่งผลให้เด็กมีปัญหาเกี่ยวกับการเรียนรู้ ความจำ และสมาธิ และอาจประสบปัญหาในด้านอารมณ์ ประสาทสัมผัส การสื่อสาร และสังคม เด็กอาจมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือบุคลิกภาพในระยะสั้นหรือระยะยาวแล้วแต่ความรุนแรงขอ เด็กเล็กที่มีอาการบาดเจ็บที่สมองอย่างรุนแรงจำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูทางการแพทย์ เช่น การทำกายภาพบำบัด และอื่นๆ

ลูกล้มหัวฟาดพื้น
ลูกล้มหัวฟาดพื้น

จะป้องกันการบาดเจ็บที่ศีรษะในเด็กได้อย่างไร?

เด็กวัยหัดเดินทุกคนต้องพบกับการกระแทกที่ศีรษะเป็นครั้งคราว อย่างไรก็ตาม มีบางสิ่งที่คุณสามารถทำได้เพื่อป้องกันการบาดเจ็บที่ศีรษะของเด็กวัยหัดเดิน:

  • ยึดเฟอร์นิเจอร์ที่มีน้ำหนักและปีนได้ หรือทีวีไว้ที่ผนัง
  • กำกับดูแล อย่าปล่อยให้ลูกอยู่ตามลำพังบนพื้นที่สูง เช่น โต๊ะเปลี่ยนเสื้อผ้า เตียง โซฟา หรือเก้าอี้สูง ใช้สายรัดนิรภัยที่มาพร้อมอุปกรณ์ของลูก
  • ใช้สายรัดนิรภัยเสมอเมื่อเด็กอยู่ในรถเข็น บนเก้าอี้สูง หรือบนโต๊ะเปลี่ยนเสื้อผ้า
  • หลีกเลี่ยงรถหัดเดิน เนื่องจากเป็นอุปกรณ์ที่ไม่ปลอดภัยและทำให้มีผู้บาดเจ็บหลายพันคนในแต่ละปี ลูกของคุณอาจตกลงมาจากรถหัดเดินได้ทุกเมื่อ
  • จัดพื้นที่สำหรับการนอนที่ปลอดภัย ลดที่นอนไปที่ระดับต่ำสุด เพราะมีโอกาสที่เด็กสามารถปีนออกจากเปลได้ และอย่าวางเปลหรือเตียงไว้ใกล้หน้าต่างหรือใกล้เฟอร์นิเจอร์ชิ้นใหญ่
  • ให้ลูกสวมหมวกกันน็อคตลอดเวลาขณะเล่นรถสามล้อ สกู๊ตเตอร์ หรือจักรยานแม้จะสวมล้อสำหรับฝึกหัดก็ตาม
  • คาร์ซีทเป็นสิ่งจำเป็น ตรวจดูให้แน่ใจว่าลูกของคุณถูกรัดไว้อย่างถูกต้องในขณะที่กำลังเดินทางในรถ คาร์ซีทควรหันไปทางด้านหลังจนกว่าลูกน้อยของคุณจะมีน้ำหนักหรือส่วนสูงสูงตามเกณฑ์ที่ผู้ผลิตกำหนด
  • คอยดูแลเมื่อลูกอยู่ในสนามเด็กเล่น ดูแลลูกน้อยของคุณเมื่อคุณไปเที่ยวสนามเด็กเล่น ตรวจสอบให้แน่ใจว่าอุปกรณ์และเครื่องเล่นต่างๆ เหมาะสมกับวัยของเด็ก และตรวจสอบให้แน่ใจว่าอุปกรณ์นั้นไม่เสียหาย ให้ พื้นผิวใต้เครื่องเล่นควรนุ่มและทำจากวัสดุดูดซับแรงกระแทก สอนให้ลูกของคุณหลีกเลี่ยงการวิ่งตามหลังหรือตัดหน้าชิงช้าขณะที่เด็กคนอื่นๆ กำลังเล่นอยู่ หรือระวังการเล่นสไลด์เดอร์ของเด็ฏที่อาจเกิดการกระทบกระทั่งกับเด็กอื่นได้

อาการบาดเจ็บที่ศีรษะของเด็กวัยหัดเดินส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นเพียงเล็กน้อยและไม่ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างถาวร แต่หากเป็นอาการบาดเจ็บที่ศีรษะอย่างรุนแรง ให้พยายามสงบสติอารมณ์ การที่มีสติรู้ตัวว่าคุณต้องปฐมพยาบาลลูกอย่างไรจะสามารถช่วยให้ลูกน้อยฟื้นตัวได้ เพราะการมีความรู้ในการดูแลสุขภาพลูกน้อยถือเป็นส่วนสำคัญที่จะสร้าง ความฉลาดสุขภาพดี (HQ) ซึ่งเป็นหนึ่งใน Power BQ 10 ความฉลาดที่เด็กยุคใหม่ควรมี การมี Health Quotient เริ่มต้นได้ที่พ่อแม่ให้ความสำคัญในการดูแลสุขภาพตัวเองและลูกน้อย เพื่อที่จะเป็นต้นแบบให้เขาสามารถดูแลสุขภาพตัวเองให้ดีได้ต่อไป เพราะสุขภาพที่ดีย่อมเป็นพื้นฐานสำคัญของชีวิตค่ะ

ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.whattoexpect.com/https://www.hopkinsmedicine.orghttps://www.healthychildren.org

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

5 วิธีการ ปฐมพยาบาล ลูกกระดูกหัก

อุทาหรณ์ อุบัติเหตุในเด็กเล็ก พร้อม 6 วิธี ลดเสี่ยงเกิดเหตุ

พ่อแม่ฝึกการทำ CPR ยิ่งช่วยลูกได้เร็ว โอกาสรอดยิ่งสูง

3 วิธีเอาตัวรอด จากภัยร้ายที่พบบ่อยสำหรับ “เด็กเล็ก”

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up