โรคลมแดด ยินดีต้อนรับเข้าสู่ช่วงฤดูร้อนที่ต้องเผชิญกับอากาศร้อนอบอ้าวของเดือนมีนาคมเรื่อยไปจนถึงกลางเดือนพฤษภาคม ที่บางช่วงของเดือนก็ร้อนปรอทแตก เพราะอุณหภูมิสูงถึง 40-45 องศา และอากาศร้อนๆ แบบนี้ไม่ควรพาเด็กๆไปทำกิจกรรมกลางแจ้งมาก เพราะเดี๋ยวจะเป็นลมแดดกัน ทีมงาน Amarin Baby & Kids มีข้อแนะนำเกี่ยวกับ โรคลมแดด ในเด็กเล็กมาฝากค่ะ
โรคลมแดด สาเหตุเกิดจากอะไร?
เคยสงสัยกันไหมว่าเป็นลมธรรมดานี่ใช่เป็นลมแดดหรือเปล่า จริงๆ แล้วภาวะอาการเป็นลมที่เกิดขึ้นบ่อยๆ และสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนมักมาจากการที่ร่างกายของเรานั้น เหนื่อย เพลีย นอนน้อย หรือหิวมากไม่ได้ทานข้าวมาทั้งวันจนทำให้ร่างกายน้ำตาลตกก็เป็นลมได้ หรืออยู่บนรถโดยสารที่มีคนหนาแน่นจนทำให้มีอากาศหายใจไม่เพียงพอก็เป็นลมได้นะ ฯลฯ และอีกสารพัดสาเหตุที่นำไปสู่การเป็นลม
แต่สำหรับ “โรคลมแดด” หรือที่เรียกว่า “ฮีทสโตรก”(Heat Stroke) เป็นภาวะที่ร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนที่เกิดจากการใช้พลังงานของร่างกายได้ตามปกติ คือร่างกายไม่สามารถปรับตัวกับความร้อนที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งโดยปกตินั้นร่างกายของคนเราจะสามารถจัดการ และรับมือกับความร้อนที่เกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี แต่หากปัจจัยแวดล้อมที่รายล้อมอยู่รอบตัวเรานั้น ทำให้อุณหภูมิสูงเกินกว่าที่ร่างกายจะรับไหว และไม่สามารถปรับสมดุลได้ทัน ก็จะทำให้เกิดภาวะลมแดดขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าการเป็นลมแดด มักจะมาจากการที่ออกไปเล่น ไปทำกิจกรรมกลางแจ้งที่มีแดดจัดๆ ยิ่งถ้าเป็นช่วงตั้งแต่ 9 โมงเรื่อยไปจนถึงช่วงเวลา 3 โมงเย็น แสงแดดระหว่างช่วงเวลานี้ของวันจะจัดจ้ามากกว่าปกติในช่วงฤดูร้อน
โรคลมแดด เป็นภาวะที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะกับเด็ก หรือผู้ใหญ่ ไม่ว่าจะมีอาการรุนแรง หรือไม่รุนแรง ก็ควรต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที เพราะอาจทำให้เสียชีวิตจากภาวะลมแดดได้
อ่านต่อ >> “ลมแดด ที่ต้องระวังในเด็ก ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์” หน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่