เริ่มสอนภาษาไทย ฝึก ลูกหัดพูด ด้วยวิธีการเพิ่มคำศัพท์ใหม่ - amarinbabyandkid
ลูกหัดพูด

เริ่มสอนภาษาไทย…ให้ลูกหัดพูด ด้วย 3 วิธีการเพิ่มคลังศัพท์ใหม่แบบง่ายๆ

Alternative Textaccount_circle
event
ลูกหัดพูด
ลูกหัดพูด

การจะฝึกสอน ลูกหัดพูด วิธีสอนคำศัพท์ใหม่ โดยเฉพาะคำภาษาไทยให้ลูกน้อยวัย 1 ขวบเศษ มีเทคนิคอย่างไร และโดยปกติแล้วพัฒนาการด้านภาษาของลูกในแต่ละช่วงอายุเป็นอย่างไรนะ?

สอน ลูกหัดพูด ด้วย 3 วิธีการเพิ่มคลังศัพท์ใหม่
เข้าไปในสมองลูก!

สอนลูกหัดพูด
เทคนิคสอนลูกหัดพูด

ทักษะด้านการสื่อภาษาของเด็กวัยหัดพูด

เด็กส่วนใหญ่ยังรู้จักคำไม่มากนัก และคำแรกที่พูดได้ (นอกจากแม่กับพ่อ) ก็มักจะเป็นสิ่งที่เขาสนใจ อย่างรถ เป็ด นก แมว หมา ฯลฯ การพูดทวนคำที่เขาสนใจเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะจะช่วยฝึกให้เขาพูดเก่งขึ้นและทำให้เขารู้สึกภูมิใจที่พูดได้

การอ่านหนังสือให้ลูกฟังคือวิธีที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาได้ดีที่สุด และการเลือกหนังสือโดยดูจากสิ่งที่ลูกสนใจอย่างพาหนะที่ใช้ในงานก่อสร้างหรือสัตว์ต่างถิ่นในสวนสัตว์จะยิ่งส่งเสริมความอยากรู้ อยากฟัง ลูกจะซึมซับคำใหม่ๆ และสนุกกับการฝึกพูดคำใหม่ๆ เขายังอาจจะขอให้คุณอ่านหนังสือเล่มเดิมซ้ำแล้วซ้ำอีกจนกว่าจะจำขึ้นใจกันทั้งคู่ด้วย

ทักษะด้านการรับรู้และเข้าใจภาษา

สำหรับลูกวัยขวบไม่ว่าจะรู้จักคำมากน้อยแค่ไหน ก็มีทักษะด้านการรับรู้และเข้าใจภาษาที่น่าทึ่งมาก เรื่องสนุกอย่างหนึ่งของเด็กวัยนี้คือการช่วยงานเล็กๆ น้อยๆ ที่เขาทำได้ไม่ยาก เช่น ถ้าเขาอยากให้อ่านหนังสือให้ฟัง คุณควรขอให้เขาช่วยไปเลือกและหยิบมาให้ หรือให้เขาช่วยเก็บของหล่นที่หยิบได้ง่าย เพราะพอได้เห็นรอยยิ้มของคุณและได้ยินคุณพูดว่า “ขอบใจจ้ะ” เขาจะภูมิใจมากที่สามารถช่วยงานได้ การมีประสบการณ์ในทำนองนี้ร่วมกับคนสำคัญในชีวิต (อย่างพ่อแม่) ตั้งแต่ยังเล็กๆ จะช่วยหล่อหลอมให้เขามีความรู้สึกดีๆ กับตัวเอง

ชอบพูดคำว่า “ไม่”

พ่อแม่บางคนอาจจะแปลกใจที่ได้ยินคำว่า “ไม่” จากปากลูกที่เพิ่งอายุ 1 ขวบเศษๆ และอาจคิดไปว่าน่าจะเป็นคำที่เด็กอายุ 2 ขวบซึ่งถือว่าอยู่ในวัยต่อต้านชอบใช้มากกว่า แต่เหตุผลคือ เมื่ออายุเพียง 7 เดือน ลูกก็รู้แล้วว่าคำต่างๆ มีความหมายไม่เหมือนกันและยังรู้ด้วยว่าคำว่า “ไม่” มักจะทำให้เขาต้องหยุดทำสิ่งที่ต้องการ เขาจึงอยากแสดงความเป็นตัวของตัวเองโดยใช้การพูดคำว่า “ไม่” เป็นเครื่องมือ ฉะนั้นเวลาที่พ่อแม่ตั้งคำถาม เขาอาจจะตอบว่า “ไม่” เกือบทุกครั้ง

เพื่อให้การสื่อสารราบรื่นขึ้นและให้ลูกได้พัฒนาทักษะภาษา การคำถามโดยมีตัวเลือกให้เขาจะช่วยได้มาก เช่น “อยากดื่มน้ำผลไม้หรือน้ำเปล่า” และเมื่อเขาจะทำอะไร คุณควรทำให้เขารู้สึกว่าได้ตัดสินใจเอง อย่างให้เลือกถุงเท้าเอง ถึงแม้ถุงเท้าที่เขาเลือกจะไม่เข้ากับเสื้อผ้า แต่อย่างน้อยเขาก็ยอมสวมถุงเท้า และในกรณีที่เลือกไม่ได้จริงๆ คุณก็ไม่ควรจะให้เขาเลือกตั้งแต่แรก

แม้การหักห้ามใจไม่ให้พูดคำว่า “ไม่” กับลูกวัยนี้จะเป็นสิ่งที่ทำได้ยากมาก แต่ก็มีวิธีอื่นๆ ที่ช่วยคุณปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของลูกได้ เช่น ให้ทางเลือก ถ้าจะพูดว่าโยนบอลในบ้านไม่ได้ ให้บอกลูกแทนว่า “ถ้าจะโยนบอล ก็ต้องเล่นข้างนอกบ้าน”หรือ “แต่ถ้าจะกลิ้งบอล ก็เล่นในบ้านได้” แต่ถ้าลูกเกิดทำอะไรที่ไม่ปลอดภัย คุณก็ต้องรีบหยุดพฤติกรรมดังกล่าว คำว่า “ไม่” คือคำสำคัญในกรณีนี้ เช่น “ไม่จับปลั๊กไฟ” “ออกห่างจากเตาแก๊ส” ฯลฯ

ทั้งนี้เมื่อลูกวัยเตาะแตะเริ่มหัดพูด เขาจะเรียนรู้เรื่องจังหวะการโต้ตอบ และได้รับกำลังใจจากท่าทีที่คุณฟังและตอบสนองต่อสิ่งที่เขาพูด ซึ่งท่าทีดังกล่าวจะมีความสำคัญเป็นพิเศษถ้าเขามีปัญหาเรื่องการพูด เช่น พูดไม่ชัดหรือพูดติดอ่าง ซึ่งมักถือเป็นเรื่องปกติสำหรับเด็กที่เพิ่งหัดพูด Amarin Baby & Kids จึงมีเทคนิคช่วยลูกฝึกพูดมาฝากค่ะ

วิธีการฝึกให้ลูกหัดพูด

  • พูดช้าๆ เพื่อให้ลูกเลียนแบบคำพูดของคุณได้ง่ายขึ้น และลูกจะพูดได้ดีที่สุดถ้าไม่ถูกกดดันให้คอยจับคำพูดที่เร็วเกินไปของคุณ อย่าขัดจังหวะลูก คุณอาจหงุดหงิดที่ต้องรอให้ลูกพูดในสิ่งที่คิดทั้งหมดด้วยตัวเอง แต่ถ้าคุณใจร้อนแล้วรีบพูดต่อให้เองจนจบ เขาก็จะไม่ได้เรียนรู้หรือฝึกพูดอย่างเต็มที่
  • เป็นผู้ฟังที่ดี ด้วยการสบตาลูก (ถ้านั่งยองๆ ให้อยู่ในระดับเดียวกับลูกด้วยก็ยิ่งดี) การพูดกับลูกด้วยน้ำเสียงที่แสดงความสนใจ เขาจะได้มีกำลังใจและพยายามพูดมากยิ่งขึ้น อย่าวิจารณ์ลูก เพราะอาจทำให้เขารู้สึกไม่มั่นใจยิ่งกว่าเดิม

อ่านต่อ >> “พัฒนาการด้านภาษาของลูกน้อยในวัยหัดพูด” คลิกหน้า 2

 

อ่านต่อ “บทความดี ๆ น่าสนใจ” คลิก!

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up