เริ่มสอนภาษาไทย ฝึก ลูกหัดพูด ด้วยวิธีการเพิ่มคำศัพท์ใหม่ - amarinbabyandkid
ลูกหัดพูด

เริ่มสอนภาษาไทย…ให้ลูกหัดพูด ด้วย 3 วิธีการเพิ่มคลังศัพท์ใหม่แบบง่ายๆ

Alternative Textaccount_circle
event
ลูกหัดพูด
ลูกหัดพูด
ลูกพูดไม่ชัด
เทคนิคสอนลูกหัดพูด

ลูกพูดไม่ชัดสักที ทำอย่างไรดี?

และใครที่กำลังมีปัญหาลูกวัยอนุบาลพูดไม่ค่อยชัด ขณะที่เพื่อนๆ ที่โรงเรียนพูดชัดแล้วหลายคน เชิญทางนี้ค่ะ Amarin Baby & Kids มีคำตอบสำหรับเรื่องนี้มาฝาก พร้อมคำแนะนำดีๆ จากคุณหมอ

เด็กบางคนพูดชัดตั้งแต่อายุยังไม่ถึง 3 ขวบ บางคนก็ยังพูดไม่ชัดตอนเข้าโรงเรียนอนุบาล การพูดชัดหรือไม่ชัดไม่ได้เป็นตัววัดระดับสติปัญญา แต่เป็นเรื่องของการควบคุมกล้ามเนื้อปากและลิ้น ซึ่งแต่ละคนเร็วช้าไม่เท่ากันเหมือนพัฒนาการด้านอื่นๆ เช่น การเดิน การขับถ่าย ฯลฯ

คุณพ่อคุณแม่ควรแสดงให้ลูกรู้ว่าการออกเสียงที่ถูกต้องเป็นอย่างไร เด็กๆ มักออกเสียงคำง่ายๆ ได้ก่อน เช่น อ้ำ หม่ำ ป๊า สำหรับคำยากๆ คงต้องขอเวลาอีกสักนิด ส่วนของปากที่ใช้ในการออกเสียงของหนูน้อยยังเติบโตและพัฒนาไม่เต็มที่ ตัวอักษรบางตัวและเสียงบางเสียง เช่น ตัวควบกล้ำ จึงออกเสียงยากเกินไปสำหรับวัยนี้

หากอยากฝึกให้เขาพูดคำบางคำได้ ก็ลองบอกให้ลูกมองปากและพูดตามคุณ ถ้าลูกยังออกเสียงไม่ได้จริงๆ หรือไม่รู้วิธีใช้คำที่ถูกต้อง ก็ให้เวลาเขาได้ฝึกหรือลองผิดลองถูกต่อไปอีกสักนิด แล้วค่อยปรึกษาคุณหมอให้มั่นใจมากยิ่งขึ้น

ถ้าลูกอายุ 3 ขวบแล้ว และยังพูดชัดน้อยกว่าร้อยละ 50 คุณแม่ไม่ควรรีรอที่จะปรึกษาแพทย์เพื่อถามถึงความเป็นไปได้ในความผิดปกติ เช่น หูได้ยินไม่ชัด ลูกติดนิสัยการดูดบางสิ่งบางอย่างหรือไม่ เช่นจุกหลอก ดูดนิ้ว ลูกเลียนแบบการพูดไม่ชัดจากทีวีหรือพี่เลี้ยงต่างด้าวหรือไม่ จะได้รีบทำการแก้ไข เพราะการพูดไม่ชัดอาจส่งผลถึงความสามารถด้านการเรียนและการพัฒนาความมั่นใจในตัวเองของลูกอีกด้วย

หากคุณหมอประเมินว่าลูกไม่ได้มีความผิดปกติแต่อย่างใด นักฝึกพูดอาจช่วยลูกได้ โดยแนะนำทักษะการฝึกฝนให้แก่คุณ การฝึกเบื้องต้นเช่น การฝึกเคี้ยวอาจช่วยลูกได้เช่นกัน เช่น ให้เคี้ยวหมากฝรั่งไร้น้ำตาล แต่ต้องแน่ใจว่าไม่ติดคอลูกหรือกลืนลงไป หรือฝึกเคี้ยวผักผลไม้ เช่น แครอทหรือเซเลอรี่หั่นบางๆ

มีข้อควรระวังและควรทำในการดูแลลูกระหว่างนี้ คือ

  • ไม่ควรล้อเลียน เพราะลูกจะยิ่งอายและไม่กล้าพูด
  • ไม่ควรแกล้งพูดไม่ชัดเหมือนลูก เพราะลูกจะไม่ได้เลียนแบบการพูดที่ถูกต้อง
  • ไม่ตำหนิหรือแสดงอาการหงุดหงิดเวลาลูกพูดไม่ชัด เพราะทำให้ลูกไม่มีความสุข
  • อย่าเอาแต่บังคับให้ลูกพูดซ้ำจนกว่าจะชัด เพราะลูกจะหงุดหงิด เช่น ถ้าลูกพูดว่า หนูยักแม่Ž ให้คุณพูดตอบลูกว่า แม่ก็รักหนูจ้ะลูกŽ
  • ควรตั้งใจฟังทุกครั้งที่ลูกพูด สนับสนุนให้ลูกได้พูดอย่างเต็มที่ และแสดงความชื่นชมเวลาที่ลูกพูดได้ถูกต้อง

อย่างไรก็ดีหากลูกมีปัญหาเรื่องพัฒนาการพูดได้ช้า ปัญหานี้ก็จะค่อย ๆ หายไปเองในที่สุด แต่ถ้าคุณกังวลหรือไม่สบายใจ จะขอให้คุณหมอเด็กช่วยแนะนำผู้เชี่ยวชาญให้ก็ได้

อ่านต่อ “บทความดี ๆ น่าสนใจ” คลิก!


บทความโดย: แพทย์หญิงสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านทารกแรกเกิด

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up