3.เช็กได้ตลอดลูกดูอะไรไปบ้าง
เวลาที่พ่อแม่ไม่อาจอยู่หน้าจอพร้อมลูกได้ แต่Youtube Kidsช่วยให้รู้ได้ว่า “ลูกดูคลิปอะไรไปบ้าง” ถ้าเปรียบเทียบกับยูทูปปกติจะเช็กได้จาก History ซึ่งเด็กเข้าไปลบข้อมูลเองได้ แต่ในแอปนี้พ่อแม่เข้าถึงข้อมูลได้ง่ายกว่า เพียงแค่กดไปยังลูกศรซ้ายมือ ก็จะเห็นคลิปเก่าที่ลูกได้ทันที ที่สำคัญคือ ลูกไม่สามารถเข้าไปลบข้อมูลประวัตินี้ได้
ฟังก์ชั่นนี้ยังใช้ควบคุมเนื้อหาอีกขั้น หากเช็กแล้วพ่อแม่พบว่าเนื้อหาของประวัติคลิปไม่เหมาะสม พ่อแม่สามารถลบจากประวัติได้ทุกเมื่อที่ต้องการ
4.ใช้ได้หลายเครื่อง ควบคุมได้ด้วยกฎเดียว
สำหรับบ้านไหนที่มีลูกหลายคน และมีอุปกรณ์ไอทีประจำตัว พ่อแม่ไม่ต้องกังวลว่าจะดูแลไม่ทั่วถึง หรือต้องสมัครด้วยหลายบัญชีYoutube Kidsอนุญาตให้ผู้ปกครองสร้างโปรไฟล์ของลูกๆแต่ละคน และออกกฎกติกาเดียวกันได้ แต่คลิปวิดีโอจะแตกต่างไปตามอายุของเด็ก
ส่วนเด็กโตอายุราว 10 ปีขึ้นไป ที่พ่อแม่สามารถปล่อยให้ลูกเลือกดูคลิปเองได้อย่างอิสระแล้ว เด็กๆสามารถตั้งรหัสส่วนตัวเพื่อเข้า-ออกหน้าโปรไฟล์ของตัวเองได้ เหมาะกับเด็กวัยนี้ที่มีความเป็นตัวเอง และไม่ชอบการควบคุมแบบเด็กๆ
5.ไร้ช่องคอมเม้นต์ ไม่มีโฆษณา ลดเสี่ยงชักชวนหรือการคุกคาม
ข้อดีอีกอย่างของ Youtube Kids คือการที่แอปไม่เชื่อมโยงกับโซเชียลมีเดียอื่นๆ จึงไม่มีช่องแสดงความคิดเห็นด้านล่างของคลิป หรือฟังก์ชั่นแชร์คลิปไปยังช่องทางโซเชียลอื่นๆ ช่วยปิดกั้นการเข้าถึงข้อมูลจากภายนอก ลดอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการชักชวน หรือ bully ของบุคคลภายนอก จึงมั่นใจได้ว่า ลูกปลอดภัยเมื่ออยู่หน้าจอแน่นอน
ถ้าคลิปไหนดูบ่อยๆ หรือเป็นคลิปการศึกษา ช่วยเสริมพัฒนาการคุณพ่อคุณแม่เลือกดูแบบ offline เพิ่มความสะดวกสบายในการใช้งานให้มากขึ้น
ทั้งนี้Youtube Kidsยังไม่สามารถคัดกรองเนื้อหาของคลิปทั้งหมดได้ 100 % เพราะบางคลิปอาจมีเนื้อหารุนแรงและใช้คำหยาบแอบแฝงอยู่ ทางดีที่สุด พ่อแม่ควรนั่งดูยูทูปพร้อมกับลูก หรือลองสุ่มดูคลิปที่ลูกชอบดูเป็นประจำก่อนที่จัดให้อยู่ใน playlistของลูก คุณพ่อคุณแม่สามารถตรวจสอบการ์ตูนที่เหมาะสมกับลูกแต่ละวัยได้จากเว็บไซต์ www.commonsensemedia.org เพียงใส่ชื่อการ์ตูนลงไป ก็จะทราบทันทีว่าการ์ตูนเรื่องนั้นเหมาะกับลูกในวัยนั้นหรือไม่
MUST READ: พ่อแม่ปล่อยลูกเล็กดู การ์ตูนฮีโร่-แฟนตาซี บั่นทอนทักษะชีวิต
MUST READ :ลูกติดจอ ติดมือถือ แก้ได้ด้วยกฎ 3 ต้อง 3 ไม่
อย่างไรก็ตาม การใช้แอปเป็นเพียงเครื่องมือในการป้องกันลูกจากภัยไซเบอร์ แต่สิ่งที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ ความฉลาด ความคิดปฏิภาณที่แท้จริงคือการได้เล่นกับพ่อแม่ ทำกิจกรรม พบเจอประสบการณ์จริง ฉะนั้นพ่อแม่ควรใช้เวลาอยู่กับลูกมากที่สุด แทนที่จะปล่อยให้ “ยูทูปเป็นพี่เลี้ยงลูก” เพราะแท้จริงแล้วเด็กๆเองไม่ได้ต้องการอะไรไปมากกว่าพ่อแม่ของเขา
อ่านวิธีติดตั้งแอป Youtube Kids แบบง่ายๆ ทำตามได้เลยหน้า3
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่