5 พฤติกรรมผิดๆ ของเด็ก ที่ทำให้ "ฟันสบกัน" ผิดปกติ - Amarin Baby & Kids
ฟันสบกัน

5 พฤติกรรมผิดๆ ของเด็ก ที่ทำให้ “ฟันสบกัน” ผิดปกติ

Alternative Textaccount_circle
event
ฟันสบกัน
ฟันสบกัน

ฟันสบกัน เป็นปัญหาในช่องปากที่ไม่ร้ายแรงในเด็ก แต่หากคุณพ่อคุณแม่ปล่อยไว้ไม่รักษา อาจทำให้มีผลต่อรูปหน้า และการเคี้ยวบดอาหารของลูกในอนาคตได้

5 พฤติกรรมผิดๆ ของเด็ก ที่ทำให้ “ฟันสบกัน” ผิดปกติ

การสบฟันคืออะไร?

การสบฟันแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่

  • การสบฟันที่เป็นปกติ ฟันที่สบกันปกติ ฟันสวยที่ไม่จำเป็นต้องจัด ลักษณะคือ ฟันจะเรียงตัวกันชิดเป็นระเบียบ เมื่อกัดฟัน ฟันบนจะคร่อมฟันล่างโดยรอบ ฟันหน้าบนจะยื่นออกจากฟันหน้าล่างประมาณ 1 มิลลิเมตร และปลายฟันหน้าบน จะครอบปลายฟันหน้าล่างลึกประมาณ 1-2 มิลลิเมตร
  • การสบฟันผิดปกติ หมายถึง ลักษณะของฟันแท้ที่มีการจัดเรียงผิดปกติอาจเกิดการซ้อนทับกัน ฟันยื่นไปข้างหน้า ฟันยื่นเข้าลึก ฟันห่างกัน เป็นต้น ทำให้เกิดลักษณะการจัดเรียงตัวของฟันไม่สวยงาม ซึ่งจะเกิดขึ้นในระยะฟันน้ำนม และระยะฟันผสมระยะแรก (ระยะที่เกิดฟันกรามแท้ซี่ที่ 1 จนถึงฟันระยะที่ฟันหน้าแท้ล่าง และบนขึ้นครบ ซึ่งจะอยู่ประมาณอายุ 7-9 ปี) ซึ่งหากลูก ฟันสบกัน ในลักษณะที่ผิดปกตินี้ ควรเข้ารับการรักษาโดยทันตแพทย์ เพราะหากปล่อยไว้ไม่รักษา อาจส่งผลต่อรูปหน้า หรือ ก่อให้เกิดปัญหาการบดเคี้ยวอาหารในอนาคตได้
ฟันสบกันในเด็ก
ฟันสบกันในเด็ก

สาเหตุที่ทำให้ ฟันสบกัน

  1. ดูแลฟันน้ำนมไม่ถูกต้อง

เพราะฟันน้ำนมนอกจากจะมีไว้บดเคี้ยวตามธรรมชาติ ยังช่วยในการออกเสียงแล้วยังเป็นผู้ดูแลช่องว่างเตรียมไว้ให้ฟันแท้ที่จะขึ้นมาทดแทนด้วย การสูญเสียฟันน้ำนมก่อนกำหนดจะมีผลต่อการพูด และการทำงานของของกล้ามเนื้อโครงฟัน ซึ่งจะมีผลโดยตรงต่อแนวการขึ้นของฟันแท้จนเกิดลักษณะของฟันที่ผิดรูปไป

2. กรรมพันธุ์

กรรมพันธุ์ ไม่เพียงแต่มีผลเฉพาะกับฟัน เช่น ลักษณะรูปร่างของฟัน ขนาดฟัน จำนวนฟัน เท่านั้น ยังส่งผลต่อลักษณะของโครงหน้าอีกด้วย เช่น หน้ากลม หน้ารูปไข่ หน้าเหลี่ยม คางสั้น คางยื่น เป็นต้น

3. พฤติกรรมของเด็ก

พฤติกรรมของเด็กในระยะฟันน้ำนม และฟันผสมระยะแรก รวมถึงการเกิดอุบัติเหตุกับฟัน ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้มีผลต่อความผิดปกติของกระดูกขากรรไกรล่าง และบน การสูญเสียฟันน้ำนมก่อนกำหนด และการจัดรูปของฟันแท้ที่ขึ้นใหม่ โดยหากคุณพ่อคุณแม่พบว่าลูกทำพฤติกรรมเหล่านี้บ่อย ๆ ควรหาวิธีให้ลูกเลิกทำนะคะ

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

อ่านต่อ 5 พฤติกรรมผิดๆ ของเด็ก ที่ทำให้ “ฟันสบกัน” และฟันสบกันมีกี่ประเภท?

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up