แต่อีก 2 – 3 เดือนถัดมา เมื่อลูกคนเดิมยื่นถ้วยนมมาชนน่องของคุณเข้าเต็มแรง พร้อมตะโกนว่า นม ! ขอนมหน่อยเร็วๆ ! คุณก็คงไม่รู้สึกเหมือนเดิมอีกต่อไป เพราะตอนนี้หนูน้อยผู้แสนจะน่ารักและช่างจำนรรจา ได้กลายเป็นเด็ก ช่างสั่ง ไปเสียแล้ว
ถ้าอยากให้ลูกที่เอาแต่ใจตัวเองเป็นใหญ่กลายเป็นลูกที่รู้จักมารยาทในการขอ คุณต้องแนะแนวทางที่ถูกต้องให้เขาบ้าง โดยเริ่มจาก
– เลือกจังหวะให้ดี พอลูกดูสงบ ไม่งอแงคุณก็ฉวยโอกาสสอนคำและวลีที่เหมาะสมสำหรับการร้องขออย่างสุภาพ และให้เขาฝึกพูดกับคุณด้วย
– ส่งสัญญาณเตือนเมื่อลูกพลาด พอลูกรู้แล้วว่าจะร้องขออย่างสุภาพ (ไม่ใช่เอาแต่สั่ง) ได้อย่างไร เมื่อใดที่ลูกพลาด คุณก็เตือนเขาได้ว่า หนูต้องขอดีๆ ยังไงคะ ทำเป็นไม่สนใจจนกว่าเขาจะใช้คำที่เหมาะสม หรือส่งสัญญาณเตือน (เช่น แตะนิ้วชี้ที่ปากของคุณเอง) ที่แปลความหมายได้ว่าเขากำลังใช้ คำพูดไม่สุภาพ ซึ่งเขาจะเข้าใจ (และยอมเปลี่ยนคำพูด) โดยไม่มองเหตุการณ์นี้ในแง่ลบหรือต่อต้าน
– แอบชม (ให้ได้ยิน) การกล่าวชมกับบุคคลที่สามเหมือนไม่ได้ตั้งใจจะให้ลูกได้ยินอาจได้ผลดียิ่งกว่าการชมลูกตรงๆ เสียอีกนะเช่น บอกตุ๊กตาของลูกว่าในมื้อกลางวันที่ผ่านมา เขารู้จักขอได้สุภาพมากๆ เลยหรือบอกคุณยายว่าเขาพูดขอคุกกี้ได้น่ารักและสุภาพขนาดไหน ด.ญ.สาริกา การขยัน
บทความโดย: กองบรรณาธิการนิตยสารเรียลพาเรนติ้ง