ลูกวัยเตาะแตะ น้ำหนักเกิน แก้ไขอย่างไรดี? - amarinbabyandkids
ลูกวัยเตาะแตะ น้ำหนักเกิน

ลูกวัยเตาะแตะ น้ำหนักเกิน แก้ไขอย่างไรดี?

Alternative Textaccount_circle
event
ลูกวัยเตาะแตะ น้ำหนักเกิน
ลูกวัยเตาะแตะ น้ำหนักเกิน

ลูกวัยเตาะแตะ น้ำหนักเกิน เสี่ยงมีปัญหาสุขภาพอะไรบ้าง?

เด็กตั้งแต่แรกเกิดพ่อแม่จะทราบว่าลูกของตัวหนักเท่าไหร่ น้ำหนักได้มาตรฐาน หรือน้ำหนักเกิน จากนั้นเมื่อกลับบบ้านก็จะ รับสมุดคู่มือพัฒนาการเด็ก ที่จะตารางการฉีดวัคซีน รวมทั้งข้อมูลบอกน้ำหนักและส่วนสูงของเด็กในแต่ละช่วงวัยให้พ่อแม่ได้ทราบในเบื้องต้น

แต่ในช่วงที่เด็กกำลังเติบโต อาจมีเด็กบางคนที่น้ำหนักและส่วนสูงไม่สมดุลกัน ที่บางคนอาจผอมไป หรือ้วนมากไป ซึ่งก็  ต้องมาดูว่าเกิดจากพันธุกรรม, เด็กมีการเจ็บป่วย หรือเด็กได้กินอาหารไม่เหมาะสมตามวัย เป็นต้น

เด็กอ้วน (Obesity) คือภาวะที่ร่างกายของเด็กมีไขมันสะสมมากเกินกว่าปกติ ที่จะเห็นได้จากเด็กเล็กบางคนที่อายุน้อยๆ แต่ ตัวอ้วนมาก แขน ขามีเนื้อแน่นเป็นปล้องๆ ช่วงลำตัวก็อ้วนตันมาก ซึ่งหากพ่อแม่ปล่อยให้ลูกมีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน ไปจากช่วงอายุของลูก สามารถส่งให้เกิดปัญหาทางสุขภาพทั้งในระยะสั้น และในระยะยาวได้ในอนาคต

ในเด็กวัยเตาะแตะที่มีปัญหาน้ำหนักตัวมาก อาจกระทบต่อพัฒนาการของเด็กได้ ไม่ว่าเป็น การเดิน การยืน การใช้ร่างกายอวัยวะแขน ขาในการเคลื่อนไหว อาจทำได้ช้ากว่าเด็กวัยเดียวกันที่มีน้ำหนักและส่วนสูงที่สัมพันธ์กัน ทีนี้มาดูกันค่ะว่าลูกในวัยเตาะแตะ หากน้ำหนักเกิน จะสามารถมีปัญหาทางสุขภาพอะไรได้บ้าง

 

Must Read >> รู้หรือไม่? เด็กทารกก็เป็นโรคเบาหวานได้!

 

  1. ลูกจะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2
  2. ลูกจะมีพัฒนาการทางร่างกายที่ช้า ไม่ว่าจะเดิน จะวิ่ง หรือทำกิจกรรมกับเพื่อนๆ ก็ไม่สามารถทำได้ทันคนอื่น
  3. ลูกมีปัญหาในการหายใจ เพราะมีไขมันสะสมตามผนังช่องอกมากจนไม่สามารถหายใจได้สะดวก เวลานอนจะมีปัญหาการนอนกรน
  4. ลูกจะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ โรคความดันสูง และโรคหอดเลือดหัวใจตีบ เนื่องจากมีไขมันสะสมอยู่มาก

 

ปัญหาสุขภาพในเด็กวัยเตาะแตะเป็นเรื่องสำคัญที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม  ยิ่งโดยเฉพาะกับเรื่องน้ำหนักตัวของลูก หากลูกมีน้ำหนักที่เกินเกณฑ์มาตรฐาน และสาเหตุเกิดจากการกินอาหารที่ไม่เหมาะสม พ่อแม่ต้องปรับพฤติกรรมในเรื่องการกินให้ลูก พ่อแม่ต้องไม่ตามใจลูก เพราะการตามใจเท่ากับเป็นการหยิบยื่นสุขภาพที่ไม่ดีให้กับลูกได้ค่ะ  …ด้วยความใส่ใจและห่วงใย

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

อ่านต่อบทความเรื่องอื่นที่น่าสนใจคลิก

โรคปอดบวมในเด็ก รู้ทันอาการ ป้องกันลูกเสียชีวิตได้ !!
โรคเด็กขนแปลง ใช้หมากแล้วจะหายจริงหรือ?
เตือนพ่อแม่ระวัง 4 โรคติดต่อ 2 ภัยสุขภาพ ปี 60

 

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up