เด็ก 1-3 ปี
พัฒนาการเด็กเป็นสิ่งที่พ่อแม่ควรให้ความสำคัญอย่างยิ่งในวัย เด็ก 1-3 ปี เด็กจะ พูดจาโต้ตอบได้ดี เคลื่อนไหวของร่างกายได้มากขึ้น ทำตามคำสั่งง่าย ๆ ได้
ช่วยลูกหกล้มอย่างไรให้ผ่านฉลุย
ก่อนอื่นอย่ามองแค่ว่าเป็นอุบัติเหตุ แต่นี่คือโอกาสที่ดีที่ช่วยให้ลูกได้จัดการกับความรู้สึกที่ยากลำบาก และช่วยเสริมสร้างความมั่นใจ
ของเล่นเสริมทักษะที่ดีที่สุดไม่มีขาย แต่มีอยู่แล้วในบ้าน
ลูกน้อยวัยเตาะแตะเป็นวัยที่ต้องการเรียนรู้การใช้ชีวิตประจำวันมากกว่าความรู้ที่ซับซ้อน แล้วของเล่นที่จะช่วยให้ลูกเก่งคือแบบไหนกันนะ?
ขวดน้ำ ยอดของเล่นสารพัดประโยชน์
ขวดน้ำพลาสติกเป็นของภาชนะที่หาซื้อง่าย มีอยู่ทุกบ้าน แถมยังใช่เล่นสนุกกับลูกน้อยวัยเตาะแตะได้อีกด้วย ขวดน้ำเอามาเล่นอะไรได้บ้าง
เทคนิคเลือกหนังสือนิทานให้วัยเตาะแตะ
หนังสือนิทานเป็นสื่อการเรียนรู้สำคัญสำหรับเจ้าตัวน้อย เขาสามารถเรียนรู้โลกกว้าง การดำเนินชีวิต และทักษะทางภาษาได้อย่างรวดเร็ว มาดูเทคนิคเลือกนิทานให้ตัวน้อยกัน
หนังสือก็เล่นได้นะ
หนังสือนิทานไม่เพียงมีไว้เพื่ออ่านเท่านั้น แต่มีไว้เล่นได้ด้วย หนังสือนิทานที่เป็นทั้งหนังสือและของเล่นมีอะไรบ้างนะ
ออกกำลังกายช่วยลดอาการเหวี่ยงของลูกน้อยได้
ในช่วงวัย 2-3 ขวบ ลูกน้อยของคุณพ่อคุณแม่มักจะแสดงอารมณ์หงุดหงิดฉุนเฉียว อันนี้ก็ไม่ อันโน้นก็ไม่ ปฏิเสธและเอาแต่ใจจนพ่อแม่เดาใจไม่ถูก
ทำไงดีหนูอยากดูดนมแม่อีก
การที่เด็กวัยเตาะแตะยังสนใจในหัวนมแม่อย่างเราอยู่ แสดงว่า เขาแอบน้อยใจ และอิจฉาน้องวัยเบบี๋เล็กๆ ที่ได้ใกล้ชิดกับแม่มากกว่าตัวเขา ถ้าเป็นกรณีนี้ แปลว่านมแม่ไม่ใช่สิ่งที่เขาต้องการแล้ว หากแต่เป็นอกอุ่นๆ ของคุณที่เขาสนใจ ฉะนั้นเวลาที่คุณป้อนนมให้กับน้องคนเล็ก คุณควรเรียกเขามานั่งใกล้ๆ แล้วก็พูดกับเขาว่า “ แม่ให้นมน้องก่อนนะ หนูอยากกินน้ำผลไม้พร้อมกับน้องบ้างไหม” หรือไม่ก็ทำกิจกรรมกับเขาไปด้วย เช่น ระหว่างให้นม ก็อ่านนิทาน และไม่ลืมลูบหัว กอด และคลอเคลียเขาไปด้วย บทความโดย: กองบรรณาธิการนิตยสารเรียล พาเรนติ้ง
สอนเตาะแตะให้รู้สึกผิด และเอ่ยขอโทษ
การสอนลูกวัยนี้ให้ขอโทษแม้จะยาก แต่คุณเองก็ทำได้! เพียงอาศัยการควบคุมอารมณ์และความอดทน มุ่งมั่นให้ลูกเป็นเด็กดีเท่านั้นเองค่ะ
ลูกชายเล่นตุ๊กตา ลูกสาวเล่นรถ เบี่ยงเบนทางเพศรึเปล่าเนี่ย
ในช่วงวัยเตาะแตะนี้ หากลูกชายอยากเล่นตุ๊กตา หรือ ลูกสาวชอบเล่นรถ อย่าเพิ่งตกใจไป ควรปล่อยให้เขาเล่นก่อน เพราะจริงๆแล้วการดูแลตุ๊กตาเป็นการแสดงให้เห็นว่าลูกมีทักษะในการเข้าอกเข้าใจคนอื่นนะ ส่วนการที่ลูกสาวชอบเอารถมาเล่นชนกัน ก็แค่การทดลองเพื่อเรียนรู้เรื่องเหตุและผล เท่านั้นเอง เอาเป็นว่าถ้าคุณอยากให้ลูกรู้จักความเป็นเพศหญิงและชายให้มากขึ้น อาจหาโอกาสบอกเขาว่า ผู้หญิง หรือ ผู้ชายควรทำอะไรบ้าง บทความโดย: กองบรรณาธิการนิตยสารเรียล พาเรนติ้ง
แค่ 3 ขวบโกหกเป็นแล้วหรือ
หากเขาโกหกเพื่อปัดปัญหาให้พ้นตัวอีก คุณอาจจะลองพูดว่า “ แม่รู้ว่าลูกรู้สึกแย่ที่ทำแล้วแตก แต่เรามาช่วยกันเช็ดน้ำที่หกกันนะ"
วัยเตาะแตะมีสัตว์เลี้ยงได้ไหมนะ
การมีสัตว์เลี้ยงถือเป็นความรับผิดชอบอันยิ่งใหญ่ คุณพ่อ คุณแม่ จึงควรพิจารณาให้ดี และละเอียดถี่ถ้วน
สังเกตการพูดของลูก “ติดอ่าง” หรือแค่ “พูดซ้ำๆ”
เมื่อย่างเข้าวัย 4 ขวบ เริ่มประสบปัญหา ลูกติดอ่าง แม่เริ่มเป็นกังวลขึ้นมาทันที แต่เพียงไม่กี่สัปดาห์ต่อมาหลังจากนั้น อาการติดอ่างดังว่า ก็หายไปเสียเฉยๆ แล้วแบบนี้ลูกเป็นเด็กติดอ่าง หรือแค่พูดช้า
3 วิธีง่ายๆ ฝึกวินัยวัยเตาะแตะ
1. เมื่อลูกอยากได้ของเล่น ณ บัดนาว ให้ปฏิเสธทันทีแล้วปล่อยให้ร้องไห้ จากนั้นเสนอรางวัลอื่นที่ไม่ใช่สิ่งของให้แทน 2. ลูกไม่ยอมใส่เสื้อผ้าเองสักที เพื่อให้ลูกช่วยเหลือตัวเองได้ เราอาจแค่ติดกระดุมให้สักเม็ดสองเม็ด แล้วปล่อยที่เหลือให้ลูกได้จัดการเอง 3. เมื่อบอกให้ลูกเก็บของเล่น กลับปาลงพื้น แบบนี้อย่าบังคับหรือ ดุแรงๆ เด็ดขาด ลองเสนอทางเลือกอื่น หรือ บอกผลลัพธ์ที่จะได้รับหากไม่ให้ความร่วมมือ บทความโดย: กองบรรณาธิการนิตยสารเรียลพาเรนติ้ง
เปลี่ยน “ข้อห้าม” เป็น “คำแนะนำ”
เปลี่ยน “ข้อห้าม” เป็น “คำแนะนำ” เสริมความคิดสร้างสรรค์ให้ลูกได้ “อย่าเสียงดัง!” “อย่าร้องไห้นะ!” “ห้ามโยนของเล่นแบบนั้น!” “ห้ามวิ่งเล่นในห้องนี้!” มีอีกสารพัดข้อห้ามที่คุณแม่คงใช้จนเคยชิน แม้คุณแม่จะเตือนลูกน้อยด้วยความหวังดี อยากให้ลูกปลอดภัยและอยากให้บ้านเป็นระเบียบเรียบร้อย แต่คุณแม่รู้หรือไม่ว่าข้อห้ามต่างๆ ของคุณแม่กลายเป็นคำสั่งห้ามความคิดสร้างสรรค์ของลูกวัยนี้โดยไม่รู้ตัว แต่ไม่ต้องห่วงค่ะ คุณแม่สามารถเปลี่ยนข้อห้ามต่างๆ ให้เป็นคำแนะนำที่มีวัตถุประสงค์เดียวกันได้ เพียงแต่แนะนำสิ่งที่ลูกควรทำแทนการออกคำสั่ง และเสริมข้อดีของการทำตามคำแนะนำนั้นอีกเล็กน้อย ลองดูตัวอย่างข้างล่างนี้ได้เลยค่ะ “อย่าเสียงดัง!” “หนูลองพูดเบาลงอีกนิดได้มั้ยจ๊ะ แม่อยากได้ยินเสียงพี่เขาพูดชัดๆ จ้ะ” “อย่าร้องไห้นะ!” “แม่รู้ว่าตอนนี้หนูไม่พอใจ แต่เรามายิ้มให้กัน แล้วไปหาไอศกรีมกินกันดีไหมจ๊ะ” “ห้ามโยนของเล่นแบบนั้น!” “หนูลองค่อยๆ วาง แล้วต่อให้มันสูงขึ้นดีมั้ยจ๊ะ” “ห้ามวิ่งเล่นในห้องนี้!” “หนูไปวิ่งเล่นที่สนามหน้าบ้านกว้างๆ น่าจะสนุกกว่านะ” “อย่าตีน้อง!” “น้องชอบให้หนูกอดเบาๆ มากกว่านะจ๊ะ” “อย่าทำน้ำหกนะ!” “ค่อยๆ เทน้ำ แล้วถือแก้วดีๆ นะจ๊ะ หนูจะได้มีน้ำไว้ดื่มเยอะๆ” บทความโดย: กองบรรณาธิการนิตยสาร เรียล พาเรนติ้ง
สอนเรื่องเพศกับลูกเตาะแตะยังไงดีนะ?
สำหรับลูกเล็กวัยเตาะแตะนี้ วิธีเริ่มต้นสอนเรื่องเพศที่ง่ายที่สุดอยู่ในการสอนให้เขารู้จักส่วนต่างๆ ของร่างกายนั่นเอง ควรสอนเรื่องอะไร อย่างไรบ้าง มาดูกันค่ะ
สัญญาณพัฒนาการ 6 ข้อ หนูไม่ใช่ทารกแล้วนะ
ไม่ว่าคุณแม่จะถูกมัดมือไพล่หลังหรือมือไม่ว่างเจ้าแสบต้องพยายามยัดเศษอาหารเละๆน่าขยะแขยง เพราะอมเล่นสักพักแล้ว และตัดสินใจว่าไม่กินดีกว่า ใส่มือราวกับเป็นภารกิจสำคัญสุดชีวิต
ลูกอายเป็นแล้วนะ! ช่วยลูกเตาะแตะรับมือ “ความอาย” กันเถอะ
เมื่อลูกวัยเตาะแตะอายหรือเขิน ถือเป็นเรื่องปกติและถือได้ว่าลูกน้อยมาถึงอีกจุดหนึ่งของพัฒนาการทางอารมณ์แล้ว! เป็นเรื่องน่ายินดีสำหรับพ่อแม่ค่ะ งั้นมาดูวิธีช่วยลูกรับมือกับความอายกันดีกว่า
7 วิธีช่วยลดระดับ “ลูกกลัวความมืด”
ปิดไฟนอนทีไร ร้องโวยวายทุกที ลูกกลัวความมืด แบบนี้มีวิธีช่วยอย่างไรได้บ้าง…